iMan พิมพ์ว่า: |
![]() ![]() เกิดอะไรขึ้น..ขณะรถเลี้ยว เป็นคำถามที่ตอบได้อย่างง่ายๆ เมื่อรถเลี้ยวตัวถังก็ต้องเอียง จะเอียงไปทางไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับทิศทางการเลี้ยว ถ้ารถเข้า "โค้งขวา" ตัวถังข้างซ้ายจะยุบ ขณะที่ตัวถังข้างขวาจะยก ขณะเดียวกันถ้ารถเข้า "โค้งซ้าย" ตัวถังข้างขวาจะยุบและตัวถังด้านซ้ายจะยก อาการที่เกิดขึ้นทั้ง "ยก" และ "ยุบ" จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับรัศมีความโค้งของถนน มุมเอียงขึ้นรับกับโค้งของถนน องศาการหักเลี้ยวของพวงมาลัย และความเร็วในการเข้าโค้ง ซึ่งการ "เอียง" ของตัวถังจะส่งผลต่อเสถียรภาพในการทรงตัวของรถโดยตรง ถ้ารถเอียงมากเกินความพอดีอาจเลยเถิดไปถึงขั้นพลิกคว่ำได้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน เพราะวิศวกรฝรั่งรุ่นคุณปู่ คุณทวด เค้าคิดเรื่องนี้ "จบ" ไปเป็นร้อยปีแล้ว ยุคนี้คิดเพียงแต่ว่าจะนำทฤษฎีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้งานต่ออย่างไรให้สมบูรณ์แบบมากที่สุด เมื่อเรามองถึงอาการ "เอียง" ของรถในโค้งก็เริ่มสงสัยว่าเพื่อนร่วมสถาบันช่วงล่างอย่าง "สปริง" และ"โช้คอัพ" ไม่ได้มีส่วนช่วยในเรื่องนี้เลยหรือ? ถ้าจะบอกว่ามีส่วนก็พอมีอยู่บ้าง แต่ไม่ได้มากอะไร เพราะไม่ใช่หน้าที่หลักของมัน สปริงมีหน้าที่ดูดซับอาการสั่นสะเทือน ส่วนโช้คอัพรับหน้าที่หน่วง หรือหยุดอาการเต้นของสปริง ในรถยนต์โช้คอัพต้องทำงานควบคู่กับสปริงเสมอ เพราะฉะนั้นลำพังภาระที่สปริงและโช้คอัพแบกรับไว้ก็มากโขอยู่แล้ว วิศวกรจึงได้เพิ่ม "เหล็กกันโคลง" หรือ Stabilizer Bar เข้ามาเป็นส่วนประกอบหลักชิ้นสำคัญในระบบกันสะเทือน รับหน้าที่ต่อต้านการเอียงของรถโดยเฉพาะ ![]() ความเป็น "สปริง" ในเหล็ก คุณสมบัติความเป็นสปริงในเหล็ก (บางประเภท) จะแสดงออกมาให้เราเห็น ก็ขึ้นอยู่กับว่านำเหล็กชนิดนั้นมาขึ้นรูปเป็นอะไร ถ้านำมาขึ้นรูปเป็นเหล็กเส้น แล้วขดเป็นทรงกระบอก ก็จะเป็นคอยล์สปริง หรือสปริงขดที่เรารู้จักมักคุ้นกันเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมี "เหล็กสปริง" รูปแบบอื่นๆ อีก อย่างเช่น ช่วงล่างด้านหน้าของรถกระบะหลายเจ้าในบ้านเรา จะเป็นแบบ "ทอร์ชั่นบาร์" หรือ "เหล็กบิด" ทำงานร่วมกับปีกนกและโช้คอัพ โดยไม่มีสปริงขดให้เห็น สำหรับรถเก๋งขนาดเล็กของหลายค่าย ช่วงล่างด้านหลังก็นิยมใช้แบบ "ทอร์ชั่นบีม" (หรือ คานบิด) มีเรียกขานให้เราได้ยินกันบ่อยครั้งจนเริ่มคุ้นหู เพราะพื้นฐานการออกแบบช่วงล่างประเภทนี้ไม่ซับซ้อน ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งและทำงานน้อย ลงตัวที่สุดแล้วสำหรับรถขนาดเล็ก สปริงรูปแบบเช่นนี้จึงเรียกได้ทั้งเหล็กบิด หรือคานบิด แล้วแต่รูปร่าง แล้วแต่ขนาด หรือบางทีก็แล้วแต่บริษัทรถยนต์จะตั้งชื่อให้ด้วยล่ะ ![]() การทำงานของเหล็กกันโคลง เหล็กกันโคลง ทำหน้าที่ลดการโอนเอียงของตัวถังในขณะเลี้ยว ทำด้วย "เหล็กกล้าสปริง" รูปทรงคล้ายๆ ตัว "U" ติดตั้งตามขวางกับตัวรถ ส่วนกลางยึดติดกับโครงรถ 2 จุด โดยผ่านบู๊ชยาง สำหรับช่วงล่างแบบปีกนก ปลายทั้งสองของเหล็กกันโคลงจะยึดติดกับปีกนกล่างของล้อหน้า (หรือหลัง) แต่ละข้าง ส่วนช่วงล่างแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท ปลายของเหล็กกันโคลงแต่ละข้างก็จะมี "ก้านต่อ" เพื่อไปยึดกับกระบอกโช้คอัพของชุดสตรัทด้วยเช่นกัน ขณะรถเคลื่อนที่ ถ้าตัวถังต่ำลงหรือยกขึ้นในลักษณะที่อยู่ในระดับเดียวกัน อย่างเช่น ล้อหน้า(หรือล้อหลัง) ยกพร้อมๆ กัน หรือยุบตัวพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่าง การขับรถข้ามตัวหนอนตามตรอกซอกซอยต่างๆ เหล็กกันโคลงจะไม่ทำงาน เพราะไม่มีการบิดตัวเกิดขึ้น แต่ในขณะรถเลี้ยว ระดับของตัวถังจะไม่เท่ากัน ข้างหนึ่งสูง อีกข้างหนึ่งต่ำ ปีกนกซ้าย-ขวา ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ปลายของเหล็กกันโคลงของตัวถังข้างที่ยุบจะ "บิดขึ้น" ขณะที่ปลายเหล็กกันโคลงของตัวถังข้างที่ยกจะ "บิดลง" ความเป็นสปริงของเหล็กกันโคลงจะ "รั้ง" ดึงรถให้คืนสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็วหลังจากรถเคลื่อนที่ออกจากโค้ง เพื่อรักษาระดับปกติของตัวถัง และมีส่วนทำให้ช่วงล่างสามารถรับมือกับสภาพถนนที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง ลองคิดดูแล้วกันครับ ขณะรถเข้าโค้งตัวถังฝั่งนอกโค้งยุบตัวลง สปริงจะถูกกด ไม่สามารถทำงานได้เต็ม 100% อีกต่อไป แล้วถ้าช่วงเวลาสั้นๆ นั้นเอง ล้อข้างนั้นดันต้องตกหลุมหรือขึ้นเนินอีก จะอันตรายเพียงใด..!?! ดังนั้นการเอียงของตัวถังที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการทรงตัวของรถ ในการออกแบบระบบกันสะเทือนของรถแต่ละรุ่น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน ส่วนประกอบต่างๆ อาทิ แขนยึด (Links) สปริงรูปแบบต่างๆ โช้คอัพ รวมถึงเหล็กกันโคลง ต้องเลือกชุดจับคู่ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัวตามวัตถุประสงค์ของรถ ขนาดของเหล็กกันโคลงถูกให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ขนาดที่ว่าหมายถึง "ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง" ของท่อนเหล็กกันโคลง ยิ่งใหญ่ ค่า K ยิ่งมาก แข็งมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าเหล็กกันโคลงต้องทำงานร่วมกับส่วนประกอบอื่นๆ ของช่วงล่างด้วย ความแข็งของเหล็กกันโคลงที่ล้อหน้าและหลังไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ขนาดก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ส่วนนี้ต้องอยู่กับการเซ็ตของวิศวกรเพื่อให้ฟิลลิ่งของรถที่ถ่ายทอดออกมาสมดุลมากที่สุด รถยนต์คันหนึ่งๆ ในขั้นตอนการทดสอบก่อนเข้าสู่ไลน์การผลิตจริง จึงมีช่วงล่างออกมาลองวิ่งกันอยู่หลายชุดมาก (บนพื้นฐานเดิม เช่น เป็นแบบปีกนกเหมือนกัน ต่างกันที่ค่าความแข็งของสปริง ขนาดเหล็กกันโคลง ความหนืดของโช้คอัพ เป็นต้น) ช่วงล่างชุดที่ใช้งานได้ดีในเยอรมัน อาจไม่ดีพอกับสภาพถนนในบ้านเราก็เป็นได้ (ก็ถนนมันพังเป็นหลุมเป็นบ่อนี่จ๊ะ) คงรู้จักกับเหล็กกันโคลงกันมากขึ้นแล้วนะครับ ฉบับหน้าเราคงต่อเรื่อง Dynamic Drive ได้ง่ายขึ้น ระบบนี้ทำงานด้วยหลักการพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนมากนัก ความซับซ้อนอยู่ที่ส่วนควบคุมซึ่งแน่นเอี้ยดไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมดก็เพื่อให้ Dynamic Drive สามารถทำงานได้อย่างละเอียด แม่นยำ ฉลาด ลงตัวกับทุกสภาวะการขับขี่มากที่สุด แล้วพบกันเดือนหน้าครับ คัดลอกมาจาก : www.grandprixgroup.com [/url] |
MrKhanoon พิมพ์ว่า: |
เหล็กกันโคลง...ติดตั้งเพื่ออะไร...
เหล็กกันโครงส่วนใหญ่ติดตั้งกับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ทำจากวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำแหนบ นั่นคือ เหล็กสปริง เนื่องจากต้องรับแรงสั่นสะเทือนของช่วงล่าง และดูดซับแรงสั่นสะเทือนเหล่านี้ไวบางส่วน เหล็กกันโคลงจะมีปลายทั้ง 2 ด้านเป็นเดือยเกลียว ต่อเข้ากับแขนปีกนกตัวล่างทั้งซ้ายและขวา เหล็กกันโคลง มีหน้าที่หลักคือ ด้านการยกของล้อในขณะขับรถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงจะสังเกตได้ว่า รถที่ไม่ได้ติดเหล็กกันโคลงเมื่อขับเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง ล้อด้านที่อยู่ด้านในของวงเลี้ยว จะมีอาการโยนตัวอย่างุรนแรง อาจทำให้ล้อยกลอยตัวสูงจากพื้น ทำให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนเสียไป นั่นหมายความว่า เมื่อรถเข้าโค้ง แทนที่หน้าสัมผัสของยางทั้ง 4 เส้นจะสัมผัสพื้นถนนเหมือนกันหมด ก็สัมผัสพื้นถนนเพียง 3 เส้นเท่านั้น แต่ถ้าได้รับการติดตั้งเหล็กกันโคลงแล้ว ล้อด้านในโค้งจะถูกแรงต้านจากเหล็กกันโคลงไม่ให้ล้อเกิดการลอยตัว โดยเหล็กกันโคลงจะได้รับแรงกดจากล้ออีกข้าง จึงทำให้เมื่อต้องขับรถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง หน้าสัมผัสของยางทั้ง 4 เส้นก็ยังคงสัมผัสพื้นผิวถนนได้อย่างเต็มที่ นั่นเป็นข้อดีของเหล็กกันโคลงสำหรับรถวิ่งทางเรียบหรือออนโรด แต่สำหรับทางทุรกันดารของรถโฟร์วีลดไดร์ฟแล้ว เหล็กกันโคลงกลับเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ เนื่องจากรถขับเคลื่อน 4 ล้อต้องการให้ล้อทั้ง 4 มีความอิสระต่อการเคลื่อนที่ให้มากที่สุด อย่างเช่น เมือต้องขับให้ล้อหน้าด้านใดด้านหนึ่งปีนโขดหินแล้ว ล้อด้านที่ไม่ได้ปีนโขดหินก็ต้องสัมผัสพื้นผิวถนน เพื่อต้องการการขับเคลื่อนอยู่ แต่ถ้าคุณติดตั้งเหล็กกันโคลงเข้ากับรถ แทนที่ล้อด้านที่ไม่ได้ปีนโขดหินจะสัมผัสพื้นผิวถนน กลับต้องลอยเคว้งอยุ่กลางอากาศ เนื่องจากแรงต้านของเหล็กกันโคลงที่คอยรั้งให้ล้ออีกด้านลอยขึ้นจากพื้นดิน ตาม ในกรณีนี้ถือว่าทำให้ประสิทธิภาพในการขับเคลื่นอในทางทุรกันดารเสียไป จึงพอสรุปได้ว่า เหล็กกันโคลงนั้น เหมาะสำหรับรถวิ่งทางเรียบ แต่สำหรับเส้นทางทุรกันดารของรถโฟร์วีลไดร์ฟแล้ว เหล็กกันโคลงไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลย สำหรับรถโฟร์วีลหรูหราบางรุ่น ได้ทำกลไกให้มีการปลดล็อคเหล็กกันโคลงออกได้เมื่อเข้าเส้นทางทุรกันดาร และสามารถต่อกลไกเหล็กกันโคลงได้เมื่อกลับมาวิ่งบนทางเรียบครับ.... อ้างอิงจานิตยสาร4Wheels |
ES21_fatboy พิมพ์ว่า: |
ขออนุญาตฝากพี่ๆเพื่อนๆชาว ES ไว้นิสนุง นะคับ สำหรับเรื่องเหล็กกันโคลง ว่า...
สำหรับรถขับเคลื่อนล้อหน้า แบบ ES ของชาวเรานี้ มีหลักการพิจารณาง่ายๆแบบนี้คับ การใช้งานเหล็กกันโคลงที่เหมาะสม - ไม่ใส่เหล็กกันโคลงเลย ทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง - ใส่เหล็กกันโคลงเฉพาะด้านหน้า - ใส่เหล็กกันโคลง ทั้ง ด้านหน้า และ ด้านหลัง โดยมีขนาดเหล็กกันโคลงด้านหน้า ใหญ่กว่า เหล็กกันโคลงด้านหลัง การใช้งานเหล็กกันโคลงที่ไม่เหมาะสม - ใส่เหล็กกันโคลงเฉพาะด้านหลัง แต่ด้านหน้าไม่ใส่เหล็กกันโคลง - ใส่เหล็กกันโคลง ทั้ง ด้านหน้า และ ด้านหลัง โดยมีขนาดเหล็กกันโคลงด้านหลัง ใหญ่กว่า เหล็กกันโคลงด้านหน้า |
ob_2019 พิมพ์ว่า: |
ปี01 ตัวtop มันมีกันโคลงหน้าหรือไม่ครับ แล้วขนาดเท่าไหร่เมื่อเทียบกับข้างหลัง
ขอบคุณครับ *ผมเกือบจัดไปแล้ว ด้านหลังอันใหญ่ๆจากฝั่ง USA |
K.panu พิมพ์ว่า: |
สุดยอดครับ
ว่าแต่ไอ่เหล็กกันโคลงนี่มันมีอยู่ใน ES ทุกรุ่นเลยป่ะครับ หรือว่ามีแต่ตัว Top หรือ 2.0 อ่ะครับ |
chet พิมพ์ว่า: |
![]() ![]() เป็นข้อมูลที่ดีมากครับคุณจ๊อบ ขอถามอีกนิดนึงนะครับว่า ขนาดที่เหมาะสมสำหรับ ES หน้า-หลังควรมีขนาดเท่าไหร่ครับ |
ohm พิมพ์ว่า: |
เอาที่ทำเป็นสีแจ่มๆ มาลงให้ดูกันหน่อยดีกว่า ตาจ๊อบ ![]() |
Hamster@Yamabuchi พิมพ์ว่า: |
มีเหล็กกันเมา ไหมครับ ผมจะได้ซื้อมาใส่...................หุหุหุ |
ob_2019 พิมพ์ว่า: |
ok ครับ หน้า 25 mm หลัง 12 mm
* เข้าสูตรเป๊ะ คงไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม ขอบคุณครับ |
hacker พิมพ์ว่า: | ||
อู้วววว อันนี้ตอบยากครับ แต่ตามที่ศูนย์ติดมาให้ตัว Vtec 04-05 จะมีด้านหน้ามา 15.3 หลัง 12.5 อะไรประมาณนี้แหละครับ ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ราวๆนี้แหละครับ + - 2mm ตัว 01 ด้านหน้าจะใหญ่กว่า 04 นะครับ |
hacker พิมพ์ว่า: |
หลังการใส่
เนื่องด้วยว่าส่วนตัวชอบลองของ เลยไม่อยากเชื่อพี่ปะทานเท่าไหร่ เลยจัดข้างหลังมาใส่ก่อน ปล่อยให้เป็นแบบคาๆไว้ โดยข้างหน้าใช้ของเดิม ข้างหลังเปลี่ยนมาเป็นของ DC5 จากที่เคยลองเปลี่ยนโช้คมาแล้ว ไล่ลำดับมาเลย ตั้งแต่ โช้คเดิม โช้คเดิมเปลี่ยนสปริง โช้คอัดน้ำมัน ไล่สเตปมาเรื่อยๆ จนมาถึง Tain SS แล้วตอนที่ข้ามไปหา Flex รู้สึกว่ามันเกินความต้องการของตัวเองไปหน่อย จากที่เคยขับ SS มาแล้วรู้สึกว่ามันกระด้าง แข็ง เลยต้องกลับมา SS เหมือนเดิม และหลังจากการติดตั้งเหล็กกันโคลงไปแล้ว ไม่รู้สึกว่าแข็งหรือกระด้าง แต่ความรู้สึกที่ได้คือ "แน่น" มันแน่นขึ้นกว่าเดิมอย่างรู้สึกได้ครับ รู้สึกได้จริงๆ แต่อาการตามมาก็คือ ท้ายออกครับตอนเข้าโค้งหรือเบรคหนักๆ คงอย่างที่ท่านปะทานแนะนำ ว่า "รถขับหน้า เหล็กกันโคลงหน้าควรจะใหญ่กว่าด้านหลัง" แต่ตอนนี้ผมขอขับแบบท้ายออก ก่อนนะครับ เพราะว่างบประมาณไม่เหลือแล้ว สำหรับเพื่อนๆที่พอหาของมาติดตั้งได้ หรือ ยังหาแนวทางของช่วงล่างที่ตัวเองประทับใจไม่ได้ ลองดูครับ งบประมาณไม่มากไม่มาย สำหรับเหล็กกันโคลงเดิมๆ สำหรับข้างหน้า สามารถเบิกศูนย์ได้เลยครับ ใส่ได้ แล้วก็ด้านหลัง สามารถนำของ DC5 มาใส่ได้ครับ หรือจะเบิกศูนย์เอาของ ES Vtec มาแล้วติดตั้งก็ได้ครับ อาจจะเป็นที่พึงพอใจก็ได้ครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
hacker พิมพ์ว่า: | ||
ตัว EXi จะไม่มีด้านหลังครับ นอกนั้นมีหมด |
SSiTT พิมพ์ว่า: |
ES ใส่ 25.4 มิล ของปี 01 ก็พอแล้วครับ สำหรับด้านหน้า เหตุผลเพราะถูกมาก ถูกกว่ามือสองของ stream
ราคา กันโครง 800 กว่า เบิก 0 บุ๊ชรองประกับ อีกอันละ 80 บาท ใช้ 2 อัน เบิก 0 นอกนั้นใช้ของเดิมได้หมด ใส่มาแล้วครับ แน่นดีมาก match กับ mono flex |
ไปที่: |