ตอบ
channarong.sirinararat


ชื่อเล่น: หยก

เข้าร่วม: 28 เมษา 2014
ตอบ: 241

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 338
ให้คำขอบคุณ: 593

ที่อยู่: แม่สอด - อุ้มผาง - ตาก - กทม
ปี: 2002
สี: เงิน ซาติน (เมทัลลิก) (NH-623M)
ศุกร์, 28 พฤศจิกา 2014 14:26 - ******** ว่า กันด้วย กฏหมาย การแต่งรถ ซิ่งครับ ..******* (พิจารณากันครับ)
กฏหมาย เกี่ยว กับ การ แต่งรถ

.ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน

 ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท ส่วนการติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด แต่ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท) และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ 

 

โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด 

ในพระราชบัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้ ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน 

 

ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว 

ในพระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที 

 

ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่ 

ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน 

 

ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม 

โชคดีครับที่การตีโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร แต่ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม 

 

ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์

ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้ เช่นในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล) แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน 

 

เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด

 จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล (การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

 

ไฟหน้าหลายสี ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน

 ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

 

ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง

ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ 

 

ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่

ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด โคมไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา 

 

ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่

เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

 

ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร 

ตามสมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3)ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่ ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม มีตั้งแต่หลักหลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

 

เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ 

การเปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน 

 

ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว

 กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยกได้)ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน 

 

ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ 

 

ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม 

ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน 

 

เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว 

เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด ส่วนเซพตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนด มาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ อีกแ้ล้วครับ 

 

ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่

 การขยายซีซีเพิ่มความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์) แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย 

 

แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์ โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง 1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM 

 

ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย 

 

ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้ ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43( , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ แบบนี้อาจเรียกว่า จบ

 

ชุดจับจักรยานบนหลังคา ชุดตะแกรงบนหลังคารถยนต์ ติดตั้งอย่างถูกกฎหมาย ได้หรือไม่ ?            ชุดจับจักรยาน หรือตะแกรงที่ติดตั้งบนหลังรถ ที่คนทั่วไปเรียกว่า “แร็คหลังคา” นั้นอยู่ภายใต้บังคับของ พรบ. รถยนต์ ในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม รถด้วยอุปกรณ์หรือส่วนควบอื่นๆ ต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของผู้อื่น เช่นเดียวกับเรื่องฟิล์มติดรถยนต์สะท้อนแสง. . . .     พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒ ได้กล่าวถึง วิธีการเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" ในทะเบียนรถยนต์ มีเนื้อหาว่า…. . . .     ตอนจดทะเบียนรถใหม่ ถ้าไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นว่ามี “แร็คหลังคา” ด้วย ก็ถือว่าเป็นการ "เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป" แม้จะแลดูมั่นคง แต่การที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน ถือว่ายังไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายว่า "ไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น" จึงอยู่ในข่ายที่อาจถูก "ห้ามใช้รถนั้น จนกว่าจะเอาออกแล้ว". . . .     พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔ ได้กำหนดหลักการ การตรวจสภาพรถที่ติด "แร็คหลังคา" เอาไว้ว่า…. . . .     การติด แร็คหลังคา จำต้องนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อน ถ้าตรวจแล้วเห็นว่าปลอดภัย ก็ให้นายทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

 

สรุป : . . . .     เราสามารถติดตั้งแร็คแบบถาวร บนหลังคารถยนต์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๑๒, ๑๔ แห่ง พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือเพื่อความมั่นใจในกรณีที่โดนตำรวจเรียกว่าจะได้ไม่ต้องไปเถียงกับตำรวจในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งโดยส่วนมากเรามักจะไม่เคยเถียงตำรวจชนะเลย            โดยให้นายทะเบียนเป็นผู้รับรองให้ ซึ่งก็มีความยุ่งยากในการตีความก่อนรับรองระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ใช้ว่าปัญหาจะหมดไปหลังจากได้รับการรับรองแล้ว เพราะถ้าเราถอด แร็คหลังคาออก ก็จะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนอีกเช่นกัน ก็จะมีปัญหาในกรณีที่ถูกเรียกดูคู่มือทะเบียนรถ            นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงเรื่องของความสูงของรถรวมส่วนควบอีก ดังนี้

 

รถนั่ง บรรทุกได้สูง เมตรครึ่ง จาก หลังคา หรือว่า พื้นทาง ?. . . .     กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๑๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ) บัญญัติไว้ดังนี้. . . .     ข้อ ๑ รถโรงเรียน รถบรรทุก หรือรถบรรทุกคนโดยสาร บรรทุกของได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้. . . . . . . .         (๓) สำหรับส่วนสูง. . . . . . . . . . . .                         (ก) ในกรณีที่เป็นรถบรรทุก รถม้าสี่ล้อบรรทุกของ หรือเกวียน ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มีความกว้างของรถเกิน ๒.๓๐ เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๘๐ เมตร จากพื้นทาง. . . . . . . . . . . .                         (ข) ในกรณีที่เป็นรถอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (ก) ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร

 

คำอธิบาย :. . . .     ข้อ ๑ (๓) (ก) มีใจความเกี่ยวข้องกับ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) ว่า "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง". . . .     ข้อ ๑ (๓) (ข) มีใจความเกี่ยวข้องกับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) และ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) ว่า "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร". . . .     พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้นิยามคำว่า "รถบรรทุก" ไว้ว่า หมายถึง รถยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์ จึงครอบคลุมคำว่า "รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล" ใน กฎกระทรวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๔ ที่ออกตามความใน พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒. . . .     ส่วนรถยนต์(ตาม พรบ.รถยนต์ฯ) อีก ๒ ประเภท คือ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน" กับ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน" ต่างก็อยู่ในความหมายของคำว่า "รถอื่น" ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๑๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒) ข้อ ๑ (๓) (ข). . . .     ความหมายของ "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร" ใน ข้อ ๑ (๓) (ข) นั้น จากการสอบถามไปยังแผนกกฎหมาย(โทร. ๐-๒๒๒๓-๖๑๐๒) ของกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพรบ.จราจรทางบกฯ ก็ได้รับการยืนยันว่า ในทางปฏิบัติหมายถึง "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง". . . .     กรณีตัวแร็คชนิดติดตั้งบนหลังคา จึงมีปัญหาเรื่องความสูง ตั้งแต่ยังไม่ได้บรรทุกจักรยาน เพราะหลังคารถเก๋ง รถกระบะสองตอน ก็สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร อยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อนำแร็คไปติดตั้งบนหลังคา ส่วนบนของตัวแร็คจึงอาจสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง แต่หากผ่านการตรวจสภาพ และนายทะเบียนเห็นว่า รถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ จนได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" ลงในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วยแล้ว ก็ต้องถือว่า "แร็คหลังคา" เป็นส่วนควบของรถ ส่วนบนของแร็คจึงอาจสูงเกิน ๑.๕๐ เมตรจากพื้นทางได้ เพราะกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (ออกตามความใน พรบ.รถยนต์ฯ) นั้น กำหนดไว้ใน ข้อ ๑ (๓) (ก) (ข) แต่เพียงว่า "รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน เจ็ดคน และ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน เจ็ดคน ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร ยาวไม่เกิน ๑๒ เมตร" เท่านั้น แต่มิได้จำกัดความสูงของตัวรถไว้ว่าห้ามเกินเท่าใดเมตร. . . .     อย่างไรก็ตาม เมื่อนำจักรยานมาบรรทุกบนแร็ค ก็ย่อมสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง ซึ่งเกินจากระดับความสูงที่ได้กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒) ข้อ ๑. (๓) (ข) ฉะนั้น เมื่อตำรวจเรียกตรวจ ควรรีบแสดงสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" จะเป็นการดีกว่า หลงไปถกเถียงในประเด็น ความสูงของจักรยานที่บรรทุก ว่าต้องวัดระยะความสูง ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง ? หรือ จากหลังคารถเก๋ง ?

 

สรุป : . . . .     กฎหมายอนุญาตให้ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) บรรทุกจักรยานได้สูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง ส่วน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) กับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) นั้น บรรทุกจักรยานได้สูงจากพื้นทางเพียง ๑.๕๐ เมตร เท่านั้น. . . .     แม้ทางทฤษฎีอาจจะมีข้อไม่ชัดเจนอยู่บ้าง แต่ไม่น่าวิตกเกินไปนัก เพราะจากการสอบถามไปยังผู้ปฏิบัติในหลายหน่วยงาน เช่น กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจทางหลวง กองบังคับการตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ด่านเก็บเงินทางด่วนบางนา ต่างก็ให้ความเห็นคล้ายๆ กันว่า ถ้าบรรทุกจักรยาน (ซึ่งเป็นสัมภาระของผู้เดินทาง) ไว้บนแร็คหลังคา แล้วแลดูว่า มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ในเวลาใช้ ก็จะไม่เรียกตรวจ แต่หากเป็นกรณีใช้ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคล" บรรทุกจักรยานในลักษณะทางธุรกิจรับจ้างขนส่งหรือนำไปเพื่อการค้าขาย ก็ถือเป็นการบรรทุก "สิ่งของ" อันเป็นความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

 

 

สภาพบังคับของกฎหมาย :. . . .     ข้อหากระทำผิดเกี่ยวกับการบรรทุกสูงเกินกำหนด มีเฉพาะโทษปรับ ๕๐๐ บาท ทั้ง ๒ กรณี คือ. . . . . . . .         (๑) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) บรรทุกจักรยานสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง. . . . . . . .         (๒) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) บรรทุกจักรยานสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง. . . .                 ทั้ง ๒ กรณีนี้เป็นความผิดตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๘ ประกอบมาตรา ๑๕๐ (๓) มีโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท (ห้าร้อยบาท). . . .     ส่วนข้อหากระทำผิดเกี่ยวกับการใช้ชุดจับจักรยานยื่นล้ำออกนอกตัวรถ(ด้านท้ายรถ)แล้ว ที่ปลายสุดของส่วนที่ยื่นออกไป ไม่ติดธงสีแดงในเวลากลางวัน หรือไม่ใช้โคมไฟแสงแดงในเวลากลางคืน ก็เป็นความผิดตามพรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๑๕๒ มีโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท)Pc@ThaiMTB.comBy : Pc (พงษ์ไชย) [ 31 ต.ค. 44 - 14:23:53 น. ] สรุปโดยรวม             การติดตั้งชุดจับจักรยานท้ายรถจะมีปัญหาน้อยกว่า การติดตั้งชุดจับจักรยานบนหลังคา แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะผิดกฎหมายเลยซะทั้งหมด โดยต้องเพิ่มความยุ่งยากในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มนั้นเอง แต่ก็ใช้ว่าตำรวจจะเรียกตรวจในทุกกรณีไป ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการเขียนกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนโดยภาพรวม ซึ่งกฎหมายเองก็ได้มีการใช้มาตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งถือว่านานมาก และในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ และพฤติกรรม และสภาพแวดล้อม ของการใช้รถได้เปลี่ยนไป แต่ตัวกฎหมายเองไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างยังเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือส่วนน้อย ทำให้ฝ่ายกฎหมายยังไม่ให้ความสำคัญ และไม่สามารถหามาตรฐานมารองรับได้             ฉะนั้นโดยหน้าที่ของบริษัทจึงไม่สามารถรับร้องเรื่องนี้กับทางร้านค้าหรือลูกค้าได้ว่าจะโดนจับหรือถูกใบสั่งหรือไม่ แต่เราสามารถรับรองได้ในเรื่องความปลอดภัยมั่นคงในการใช้งาน ไม่มีปัญหากับสิ่งของหรือตัวรถ  เช่น ติดตั้งชุดจับจักรยานของ Thule ถูกต้องตามวิธีการแล้ว รับรองว่าจักรยานจะไม่หลุดกระเด็นขณะขับ ถ้ามีการถามถึงความเร็วในการขับควรจะเป็นเท่าไรถึงปลอดภัย โดยหลักแล้วเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้คำแนะนำคือให้ขับรถอย่างระวังมากขึ้น และขับให้ช้าลง (คำแนะนำของ Thule) ซึ่งก็ไม่น่าที่จะขับเกินกว่าที่ทางกฎหมายกำหนดไว้นั้นเอง            และบทความทั้งหมดนี้เป็นเพียงบทสรุปของผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานและอยู่ในวงการ ขี่จักรยานเท่านั้น โดยได้ศึกษาในข้อกฎหมายและสอบถามผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้  ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไปครับ
ได้รับคำขอบคุณจาก: pejung  Jasada  ES_Spirit  jeang  qq  napoon 
aeed19


เข้าร่วม: 03 เมษา 2013
ตอบ: 497

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 106
ให้คำขอบคุณ: 84

ที่อยู่: รามอินทรา กม.8
ปี: 2004
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
ศุกร์, 28 พฤศจิกา 2014 14:50 - ******** ว่า กันด้วย กฏหมาย การแต่งรถ ซิ่งครับ ..******* (พิจารณากันครับ)
....
 
ได้รับคำขอบคุณจาก: channarong.sirinararat 
ES_Spirit


ชื่อเล่น: ต๊ะ

เข้าร่วม: 09 ตุลา 2014
ตอบ: 76

สมาชิกสับสน
สมาชิกสับสน

ได้รับคำขอบคุณ: 82
ให้คำขอบคุณ: 77

ที่อยู่: หาดใหญ่ , สงขลา
ปี: 2005
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
ศุกร์, 28 พฤศจิกา 2014 17:38 - ******** ว่า กันด้วย กฏหมาย การแต่งรถ ซิ่งครับ ..******* (พิจารณากันครับ)
 .....T_T
ได้รับคำขอบคุณจาก: channarong.sirinararat 
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2025 Civic ES Group. All rights reserved.
Loading...