ตอบ
fuii


เข้าร่วม: 13 มิถุนา 2009
ตอบ: 381

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 180
ให้คำขอบคุณ: 108

ที่อยู่: ฝั่งธน (ท่าพระ)
ปี: 2004
สี: ดำ ไนท์ฮอว์ก (B-92P)
อาทิตย์, 19 กรกฎา 2009 11:14 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม มีบางคนบอกว่าเปลี่ยนเฉพาะท่อไม่ต้องเปลี่ยน HEAD รถก็แรงได้ เพราะของมากับรถดีอยู่แล้ว ทำท่ออย่างเดียวพอครับ
stevie_b8


ชื่อเล่น: บาส

เข้าร่วม: 26 เมษา 2009
ตอบ: 1715

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 2079
ให้คำขอบคุณ: 1556

ที่อยู่: บางนา-ตราด
ปี: 2004
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
อาทิตย์, 19 กรกฎา 2009 12:49 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
อยากรู้ด้วยครับ...
Basketman


ชื่อเล่น: ต้าร์

เข้าร่วม: 14 ธันวา 2008
ตอบ: 98

สมาชิกสับสน
สมาชิกสับสน

ได้รับคำขอบคุณ: 118
ให้คำขอบคุณ: 30

ที่อยู่: บางพลี
ปี: 2001
อาทิตย์, 19 กรกฎา 2009 22:18 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
ถ้าจะให้ครบสูตรก็ต้องเปลียน HEAD ด้วยครับ
เพราะของที่มาจากโรงงานมันสั้นไปครับ
ทำให้การไหลของไอเสียที่ออกจากห้องเผาไหม้เกิดการปั่นป่วนไม่สมูธครับและเกิด Back pressure กลับเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในจังหวะของการดูดไอดีทำให้ไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้ไม่เต็มที่ครับ ผลก็คือกำลังที่ได้จากการจุดระเบิดจะไม่เต็มร้อย
เราเลยต้องดีไซน์ HEAD ใหม่เพื่อจัดระเบียบการไหลของไอเสียให้สมูธขึ้นไงครับ

เดี๋ยวผมจะหาขอ้มูลแบบละเอียดๆมาให้อีกทีครับ
ได้รับคำขอบคุณจาก: stevie_b8  YINDEE  black_boy 
stevie_b8


ชื่อเล่น: บาส

เข้าร่วม: 26 เมษา 2009
ตอบ: 1715

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 2079
ให้คำขอบคุณ: 1556

ที่อยู่: บางนา-ตราด
ปี: 2004
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
อาทิตย์, 19 กรกฎา 2009 22:24 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
ขอบคุณครับ...รอนะครับ
tike


เข้าร่วม: 28 มิถุนา 2009
ตอบ: 346

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 375
ให้คำขอบคุณ: 456

ที่อยู่: นนทบุรี ...
ปี: 2004
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
อาทิตย์, 19 กรกฎา 2009 23:51 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
รอด้วยคนครับบ
จ่าฝูง


เข้าร่วม: 06 ตุลา 2008
ตอบ: 473

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 555
ให้คำขอบคุณ: 297

ที่อยู่: ถิ่นนักปราชญ์ เมืองดอกบัว
ปี: 2005
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
จันทร์, 20 กรกฎา 2009 05:13 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
รอมั่ง
fuii


เข้าร่วม: 13 มิถุนา 2009
ตอบ: 381

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 180
ให้คำขอบคุณ: 108

ที่อยู่: ฝั่งธน (ท่าพระ)
ปี: 2004
สี: ดำ ไนท์ฮอว์ก (B-92P)
จันทร์, 20 กรกฎา 2009 07:41 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
ขอบคุนครับ
Basketman


ชื่อเล่น: ต้าร์

เข้าร่วม: 14 ธันวา 2008
ตอบ: 98

สมาชิกสับสน
สมาชิกสับสน

ได้รับคำขอบคุณ: 118
ให้คำขอบคุณ: 30

ที่อยู่: บางพลี
ปี: 2001
จันทร์, 20 กรกฎา 2009 10:09 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
ขอโทษที่ให้รอนานครับ

เฮดเดอร์

เป็นอุปกรณ์หนึ่งในระบบระบายไอเสียที่ได้รับความสนใจในการ
เพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ แต่จะยุ่งยาก แพง
หรือได้กำลังเพิ่มขึ้นมาคุ้มค่าแค่ไหน ? เครื่องยนต์ 4
จังหวะที่ใช้กันในรถยนต์ทั่วไปมีการทำงานต่อเนื่อง ดูด-อัด-ระเบิด-คาย
ในการหมุนเพลาข้อเหวี่ยงรอบต่อ 1 วัฏจักรการทำงาน คือ ดูด-ลูกสูบเลื่อนลง
วาล์วไอดีเปิดเพื่อรับไอดีเข้ามา, อัด-ลูกสูบเลื่อนขึ้น
วาล์วไอดี-ไอเสียปิดสนิท เพื่ออัดเตรียมให้มีการจุดระเบิดในจังหวะต่อไป,
ระเบิด-จุดระเบิดด้วยหัวเทียน (สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน)
หรือจุดระเบิดด้วยการฉีดละอองน้ำมันเข้าผสมกับอากาศที่ถูกอัดแน่นจนร้อนจัด
(สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล) แล้วต่อเนื่องถึงจังหวะสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับ
-เฮดเดอร์- คือ คาย-ลูกสูบเลื่อนขึ้น
วาล์วไอเสียเปิดเพื่อระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์
เและเตรียมรับไอดีในจังหวะดูดต่อไป
การปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ได้ผลเต็มที่ ต้องเพิ่มการประจุอากาศและน้ำมันในด้านไอดี
ควบคู่กับการระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ให้เร็วและหมดจดที่สุด
ถ้าเพิ่มเฉพาะไอดีแต่ไอเสียระบายออกไม่ทันหรือไม่หมด
กำลังของเครื่องยนต์ก็เพิ่มขึ้นไม่เต็มที่
แม้เครื่องยนต์ที่ไม่ได้ปรับแต่งด้านการประจุไอดี
แต่ถ้าสามารถเพิ่มการระบายไอเสียให้ดีขึ้นได้ก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เสมือนเครื่องยนต์เป็นบ้านถ้าเพิ่มเฉพาะประสิทธิภาพการนำน้ำสะอาดเข้าบ้าน
โดยไม่เพิ่มประสิทธิภาพการนำน้ำเสียออก น้ำเสียอาจค้างอยู่และผสมกับน้ำดี
หรือมีแรงต้านการดูดน้ำดีเข้าบ้าน
และแม้ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพการนำน้ำดีเข้าบ้าน
แต่ถ้าเร่งให้น้ำเสียออกจากบ้านได้เร็วและหมดจดก็ยังดี

พื้ น ฐ า น ร ะ บ บ ร ะ บ า ย ไ อ เ สี ย

การระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ใช้การขยายตัวของก๊าซแรงดันสูงและร้อน
ที่จะเคลื่อนตัวหาอากาศภายนอกที่เย็นและมีแรงดันต่ำกว่า
ร่วมกับการเลื่อนตัวขึ้นของลูกสูบ
ผ่านวาล์วไอเสียและพอร์ทไอเสียบนฝาสูบออกนอกเครื่องยนต์
ระบบระบายไอเสียภายนอกเครื่องยนต์ที่ต่ออยู่กับฝาสูบยาวต่อเนื่องไปถึงปลายท่อด้าน
ท้ายนี้เองที่เกี่ยวข้องกับเฮดเดอร์
และได้รับความสนใจในการเพิ่มกำลังเครื่องยนต์เพราะสะดวก
ไม่ต้องยุ่งกับชิ้นส่วนอื่นของเครื่องยนต์

ระบบระบายไอเสียนี้แยกเป็น 4 ส่วน คือ

1.ท่อร่วมไอเสีย - EXHAUST MANIFOLD (หรือภาษาสแลงเรียกว่า เขาควาย)
ส่วนที่ติดกับฝาสูบของเครื่องยนต์ก่อนรวบเป็นท่อเดี่ยว (หรือคู่ในบางรุ่น)
เฉพาะส่วนนี้เองที่ -เฮดเดอร์- เข้ามาแทนที่
2. ต่อจากนั้นเป็นท่อไอเสียเดี่ยว (หรือคู่ในบางรุ่น)
3. เข้าหม้อพักเก็บเสียง โดยอาจมีหม้อพักหลายใบ (ในหลายแบบ)
4.ต่อเนื่องไปยังปลายท่อระบายไอเสียออกสู่ภายนอก
โดยเครื่องยนต์หัวฉีดรุ่นใหม่มีอุปกรณ์บำบัดไอเสีย-แคตตาไลติก
คอนเวอร์เตอร์ ติดหลังท่อร่วมไอเสียก่อนเข้าหม้อพักใบแรก
หรืออาจรวมอยู่กับท่อร่วมไอเสียเลย
รถยนต์ทั่วไปมักเลือกใช้ท่อร่วมไอเสียเป็นเหล็กหล่อและสั้น เพราะผลิตจำนวนมากได้สะดวก ขนาดกะทัดรัด
และไม่ยุ่งยากเหมือนเฮดเดอร์ที่ต้องนำท่อเหล็กมาดัดและเชื่อมด้วยกำลังคน
โดยยอมให้ไอเสียระบายปั่นป่วนและไม่คล่องนัก ก่อนรวบเข้าสู่ท่อไอเสีย
(หรือแคตตาไลติก คอนเวอร์เตอร์)
และใช่ท่อไอเสียช่วงต่อเนื่องไปขนาดไม่ใหญ่นัก
พร้อมหม้อพักแบบไส้ย้อนที่ชะลอและหมุนไอเสียเพื่อลดเสียงดัง
แล้วระบายออกปลายท่อแบบธรรมดา

ก า ร เ พิ่ ม ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ ร ะ บ บ ร ะ บ า ย ไ อ เ สี ย

ไม่ว่าจะปรับแต่งเครื่องยนต์ด้านการประจุไอดีด้วยหรือไม่
เครื่องยนต์ทั่วไปสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายไอเสียได้
โดยได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับระบบไอเสียเดิมว่าอั้นหรือโล่งแค่ไหน
และชุดใหม่ดีแค่ไหน
การทำให้การระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์เร็ว
และหมดจดที่สุดย่อมมีผลดี เพราะถ้าอั้นการไหลออกจะมีแรงดันย้อนกลับ-BACK
PRESSURE คอยต้านการเลื่อนขึ้นของลูกสูบ และถ้าระบายไอเสียออกไม่หมด
ไอดีที่เข้ามาในจังหวะต่อไปจะผสมกับไอเสีย เมื่อมีการจุดระเบิด
การเผาไหม้จะลดความรุนแรงลง
กำลังของเครื่องยนต์ก็จะลดลงเพราะไอดีมีออกซิเจนน้อยผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่
ไม่สามารถออกแบบและเลือกใช้ระบบท่อไอเสียทั้งชุดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้
เพราะติดปัญหาเรื่องต้นทุน ความยุ่งยากในการผลิต
และเรื่องเสียงที่อาจดังขึ้นบ้าง

เ ฮ ด เ ด อ ร์ ไ ม่ ใ ช่ ม า แ ท น ทั้ ง ร ะ บ บ
เป็นเพียงท่อร่วมไอเสียแบบพิเศษที่ถูกนำมาทดแทนท่อร่วมไอเสียเดิม
ที่สั้นจนเกิดความปั่นป่วนและระบายไอเสียไม่โล่งมาก
ไม่ใช่มาแทนระบบระบายไอเสียทั้งหมด เพราะยังต้องต่อออกไปยังท่อไอเสีย
หม้อพัก และปลายท่อ (หรือแคตตาไลติก คอนเวอร์เตอร์ด้วย)
เฮดเดอร์ผลิตจากท่อเหล็กหรือสเตนเลสดัดขึ้นรูปหลายท่อแล้วเชื่อมรวบเป็นท่อเดี่ยว
(หรือคู่) สำหรับต่อเข้าสู่ท่อไอเสีย (หรือแคตตาไลติก คอนเวอร์เตอร์)
โดยมีการจัดระเบียบและปล่อยให้ไอเสียในแต่ละกระบอกสูบไหลออกมาเข้าสู่ท่อ
อิสระไม่เกี่ยวกับกระบอกสูบ เป็นระยะทางยาวกว่าท่อร่วมไอเสียเดิม เช่น
เครื่องยนต์ 4 สูบ เดิมออกจากฝาสูบ 4 ท่อ ยาวแค่ 6 นิ้ว
ก็ต้องรวบกันเพื่อเตรียมเข้าสู่ท่อไอเสีย แต่เฮดเดอร์มี 4
ท่ออิสระต่อออกจากฝาสูบ ยาวกว่า 12 นิ้วก่อนรวบ
และยังมีการจัดลำดับเพื่อไม่ให้มีความปั่นป่วนของการไหลของไอเสีย
การระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ในช่วงต้นจึงคล่อง เร็ว และไม่ปั่นป่วน
จากเฮดเดอร์ที่เปลี่ยนแทนท่อร่วมไอเสียเดิม
โดยสรุปจุดเด่นของเฮดเดอร์ คือ มีท่อเดี่ยวของแต่ละกระบอกสูบยาวขึ้น
และจัดระเบียบการไหลของไอเสียก่อนรวบตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์
เพื่อเข้าสู่ท่อไอเสียเดี่ยว ดีกว่าท่อร่วมไอเสียเดิมแบบสั้นๆ
ที่ระบายไม่คล่อง และการไหลของไอเสียมีความปั่นป่วนพอสมควร

สู ต ร เ ฮ ด เ ด อ ร์ แ ท้ จ ริ ง

เกี่ยวข้องกับแคมชาฟท์ เพื่อช่วยดูดไอดีด้วย จุดประสงค์ที่แท้จริงของเฮดเดอร์
ไม่ได้มีหน้าที่เพียงช่วยระบายไอเสียเท่านั้น
แต่ยังช่วยสร้างแรงดูดไอดีเข้าสู่กระบอกสูบในจังหวะดูดของเครื่องยนต์
ในจังหวะโอเวอร์แล็ป-OVER LAP คือ จังหวะต่อเนื่องระหว่างคาย-ดูด
ลูกสูบเลื่อนขึ้นเกือบสุด วาล์วไอเสียเกือบปิด
แต่วาล์วไอดีเริ่มเปิดล่วงหน้าเล็กน้อย
ตามหลักการของคลื่นเสียงACOUSTIC ที่มีการย้อนกลับเมื่อก๊าซแรงดันสูงหรือเสียงวิ่งไปถึงระยะหนึ่ง
สลับไป-มาจนกว่าแรงดันจะหมดลง (ไม่สามารถมองเห็นได้)
เฮดเดอร์ที่มีความยาวแต่ละท่อเหมาะสม
จะช่วยให้ไอเสียไหลออกจากเครื่องยนต์ได้เร็วที่สุด
เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะย้อนกลับมายังเครื่องยนต์และย้อนกลับออกไป
การย้อนกลับไป-มาของไอเสียตามหลัก ACOUSTIC ถ้าเฮดเดอร์มีความยาวเหมาะสม
การย้อนกลับมาต้องพอดีกับจังหวะโอเวอร์แลป วาล์วไอดีเริ่มเปิด
วาล์วไอเสียเกือบปิด เข้ามาช่วยดึงไอดีเข้าสู่กระบอกสูบได้เร็วขึ้น
และเมื่อย้อนกลับออกไป วาล์วไอเสียก็ปิดสนิทพอดีและมีแรงดันลดลงแล้ว
ไม่สามารถย้อนกลับเข้ามาได้อีก
การควบคุมให้ไอเสียมีการย้อนกลับไป
-มาช่วยดูดไอดี
ความยาวของท่อเฮดเดอร์ก่อนรวบเข้าท่อเดี่ยวขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาการเปิด
-ปิดวาล์วไอดี-ไอเสีย
ซึ่งควบคุมด้วยลูกเบี้ยวบนเพลาลูกเบี้ยวหรือแคมชาฟท์ดังนั้นถ้าต้องการให้เฮ
ดเดอร์ช่วยดูดไอดี ต้องออกแบบเฮดเดอร์ให้มีความยาวของท่อต่างๆ
เหมาะสมกับองศาหรือจังหวะการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วของแคมชาฟท์
เครื่องยนต์บล็อกเดียวกัน มีรายละเอียดเหมือนกันทุกอย่าง
หากใช้แคมชาฟท์ต่างกันด้วย ก็ต้องใช้เฮดเดอร์ที่มีความยาวของท่อต่างกัน
แต่เนื่องจากมีการคำนวณที่ยุ่งยากมาก
รวมทั้งไม่สามารถทราบองศาหรือจังหวะการเปิด-ปิดวาล์วไอดี-ไอเสียโดยละเอียด
สำหรับเครื่องยนต์แบบมาตรฐานส่วนใหญ่จึงไม่นำมาตีพิมพ์
เมื่อคำนวณหาความยาวของเฮดเดอร์แล้ว
มักมีความยาวมากจนไม่สามารถใส่ลงไปในห้องเครื่องยนต์ทั่วไปได้
นอกจากรถแข่งบางแบบที่มีพื้นที่เหลือเฟือ
แคมชาฟท์พันธุ์แรงหรือแคมชาฟท์สำหรับรถแข่งที่มีองศาการเปิด-ปิดวาล์วนานๆ
มักคำนวณออกมาเป็นท่อเฮดเดอร์ที่สั้นกว่า
ส่วนแคมชาฟท์สำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปซึ่งมีการเปิด-ปิดวาล์วช่วงสั้นกว่า
เมื่อคำนวณความยาวของเฮดเดอร์ออกมาแล้ว มักยาวเหยียดจนไม่สามารถใส่ลงไปได้
เฮดเดอร์ทั่วไปจึงตัดประโยชน์ด้านการช่วยดูดไอดีออกไป
เน้นเพียงประสิทธิภาพการช่วยระบายไอเสียออกไปให้เร็ว โล่ง และหมดจดที่สุด
โดยไม่เน้นความยาวของท่อต่างๆ
ของเฮดเดอร์เพื่อให้เกิดการย้อนกลับไป-มาตามหลัก ACOUSTIC
หากแต่เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่ในห้องเครื่องยนต์
เพราะทำเฮดเดอร์ยาวเกินไปก็ใส่ลงไปไม่ได้

สู ต ร ไ ห น ดี

แยกเป็น 2 กรณี คือ ความยาวของเฮดเดอร์ และรูปแบบของเฮดเดอร์ก่อนรวบเป็นท่อเดี่ยว
ความยาวของเฮดเดอร์ ในเมื่อไม่สามารถทำตามความยาวที่แท้จริงและเหมาะสมได้
ขอเพียงมีท่ออิสระของแต่ละกระบอกสูบ
ไม่มีการกวนของไอเสียแต่ละกระบอกสูบก่อนรวบเป็นท่อเดี่ยว
ยิ่งยาวได้เท่าไรยิ่งดี
แต่อย่างไรก็ยังสั้นเกินไปสำหรับการช่วยดูดไอดีอยู่ดี
เลือกยาวที่สุดย่อมดีกว่า
รูปแบบ หมายถึง รูปแบบของท่อต่างๆ
ของเฮดเดอร์ก่อนรวบเป็นท่อเดี่ยว มีผลต่อการไหลลื่นของไอเสีย เช่น
เครื่องยนต์แบบ 4 สูบ เฮดเดอร์มี 2 แบบหลัก คือ 4-1 เป็นท่อเดี่ยว 4 ท่อ
ออกจากฝาสูบ ฝาสูบละ 1 ท่อ
ยาวตลอดจนรวบเป็นท่อเดี่ยวก่อนเข้าสู่ท่อไอเสียหรือแคตตาไลติก
คอนเวอร์เตอร์ และ 4-2-1 เป็นท่อเดี่ยว 4 ท่อ ออกจากฝาสูบ ฝาสูบละ 1 ท่อ
แล้วรวบเป็น 2 ท่อคล้ายตัววี
ก่อนรวบเข้าเป็นท่อเดี่ยวเข้าสู่ท่อไอเสียในตำแหน่งจุดที่รวบเป็นท่อเดี่ยว
ยาวใกล้เคียงกัน โดย 2 ท่อของ 2
สูบที่จะรวบเข้าหากันต้องสลับกันจากจังหวะการจุดระเบิด เช่น
เครื่องยนต์มีจังหวะการจุดระเบิดเรียงตามสูบ 1-3-4-2 ก็ต้องรวบสูบ 1 กับ 4
เข้าด้วยกัน และ 3 กับ 2 เข้าด้วยกัน แล้วค่อยเป็นตัววี
ต่อเนื่องก่อนรวบเข้าท่อเดี่ยว เช่น เฮดเดอร์แบบ 4-2-1 เป็น 4
ท่อออกจากฝาสูบ ยาว 15 นิ้ว ช่วง 2 ท่อยาว 15 นิ้ว รวมเฮดเดอร์ยาว 30 นิ้ว
แบบ 4-1 เป็น 4 ท่อออกจากฝาสูบ ยาว 30 นิ้ว รวมเฮดเดอร์ยาว 30 นิ้วเท่ากัน
สำหรับเครื่องยนต์แบบ 4 สูบ เฮดเดอร์แบบ 4-2-1
ให้อัตราเร่งตีนต้น-ปานกลาง ให้ผลดีและยืดหยุ่นกว่าแบบ 4-1
ที่ดีในช่วงตีนปลายหรือรอบสูงเป็นหลัก เครื่องยนต์แบบ 6 สูบเรียง
มีรูปแบบเฮดเดอร์ 2 รูปแบบหลัก คือ 6-2-1 และ 6-1 โดยรูปแบบ 6-2-1
ทำได้สะดวกกว่าในเรื่องของความยาวและพื้นที่ ในขณะที่รูปแบบ 6-1 เกะกะกว่า
ส่วนผลที่ได้รับ เฮดเดอร์แบบ 6-2-1 ให้อัตราเร่งตีนต้น-ปานกลาง
ให้ผลดีและยืดหยุ่นกว่าแบบ 6-1 ที่ดีในช่วงตีนปลายหรือรอบสูงเป็นหลัก
สำหรับเครื่องยนต์แบบ วี 6 สูบ ซึ่งฝาสูบและพอร์ทไอเสียแยกกันอยู่แล้ว
ต้องทำเฮดเดอร์แบบ 3-1 ในฝาสูบแต่ละข้าง รวมเป็น 3-1 + 3-1
แล้วรวบเข้าท่อเดี่ยว 1+1 เป็นหลัก

สำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบ และ
6 สูบเรียง เลือกเฮดเดอร์แบบ 4-2-1 และ 6-2-1 เป็นหลัก
จะให้อัตราเร่งและความยืดหยุ่นในการใช้งานทั่วไปดีลักษณะของเฮดเดอร์ข้างต้น
ที่ให้ผลแตกต่างกัน เป็นเพียงพื้นฐานส่วนใหญ่ เพราะแบบใดจะให้ผลต้นจัด
ปลายแรง ต้องขึ้นอยู่กับส่วนประกอบอื่นด้วย เช่น
เครื่องยนต์ที่ใช้แคมชาฟท์องศาสูง ถึงใส่เฮดเดอร์แบบ 4-2-1
ก็อาจจัดจ้านในรอบสูงเหมือนเดิม หรือเฮดเดอร์แบบ 4-2-1 กับแบบ 4-1
ที่ออกแบบสำหรับเครื่องยนต์เดียวกัน แบบแรกอาจให้ผลดีในรอบสูงกว่าแบบ 4-1
ซึ่งแย้งกับหลักการข้างต้นก็ได้
เพราะยังต้องขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดของท่อต่างๆ ของเฮดเดอร์อีกด้วย

ร า ย ล ะ เ อี ย ด อ ย่ า ม อ ง ข้ า ม

ในเมื่อเฮดเดอร์ต้องเน้นเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายไอเสียเป็นหลัก
ความสำคัญจึงไม่ใช่แค่ความยาวหรือขนาดของท่อต่างๆ เท่านั้น
แต่ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกด้วย

ค ว า ม ย า ว

ในเมื่อไม่สามารถทำเฮดเดอร์ให้มีความยาวตามการคำนวณเพื่อให้สามารถช่วยดูดไอดี
ได้การทำให้ท่อไอเสียแต่ละท่อที่ออกมาจากฝาสูบแต่ละกระบอกสูบมีการไหลอย่าง
อิสระที่สุดก่อนรวมกันย่อมมีผลดี

ข น า ด ข อ ง แ ต่ ล ะ ท่ อ

ท่อที่ต่อออกมาจากฝาสูบต้องมีขนาดเท่าพอร์ทไอเสียหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย
ห้ามเล็กกว่า เพราะไอเสียจะสะดุดหรืออั้นการไหล และหากเป็นเฮดเดอร์แบบ
4-2-1 หรือ 6-2-1 ช่วง 2 ท่อก่อนรวบเข้าท่อเดี่ยว
ต้องมีขนาดใหญ่กว่าท่อที่ต่อออกมาจากฝาสูบประมาณ 1-3 หุน (3-9 มิลลิเมตร)
เพราะต้องรองรับไอเสีย 2-3 สูบต่อ 1 ท่อ
ก่อนรวบเข้าท่อเดี่ยวตามขนาดที่เหมาะสมตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
ของเครื่องยนต์

ก า ร ดั ด ท่ อ

เฮดเดอร์ทุกแบบต้องมีการดัดท่อโลหะเข้ารูปก่อนนำมาเชื่อมกัน การดัดต้องไม่มีรอยคอดหรือย่น
ซึ่งเครื่องมือสำหรับดัดท่อโลหะในไทยแบบไม่มีรอยคอดหรือย่นมีไม่มากนัก
เพราะมีราคาแพง ถ้าท่อมีรอยคอดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อจะมีพื้นที่ลดลง
ทำให้การไหลของไอเสียไม่สะดวก และเกิดความปั่นป่วน
ช่างเฮดเดอร์ในไทยบางรายให้ความสนใจกับรอยคอดหรือย่นนี้ แต่ยังขาดเครื่องมือดัดคุณภาพสูง
จึงดัดแปลงใช้วิธีปิดท่อด้านหนึ่งแล้วอัดทรายเข้าไป
ปิดท่ออีกด้านแล้วนำไปดัด
หลังจากนั้นจึงตัดหัว-ท้ายเอาทรายออกก่อนนำท่อไปใช้ ซึ่งให้ผลดีพอสมควร
ท่อไม่คอด ไม่ย่น โดยเรียกวิธีดัดแบบนี้เป็นภาษาสแลงว่า -ดัดทราย-

ร อ ย เ ชื่ อ ม

การทำเฮดเดอร์ต้องมีการเชื่อมหลายจุด
ต้องหลีกเลี่ยงรอยเชื่อมที่ทำให้มีการสะดุดของการไหลของไอเสียตั้งแต่หน้า
แปลนที่เฮดเดอร์ประกบกับฝาสูบของเครื่องยนต์ และท่อต่างๆ ที่มีการเชื่อม
ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นมาก แต่มักถูกมองข้าม

ท่ อ ช่ ว ง เ ดี่ ย ว

ต่อเนื่องจากท่อร่วมไอเสียหรือเฮดเดอร์ ก่อนระบายออกทางด้านท้ายรถยนต์
ต้องคั่นด้วยหม้อพักอีก 1-3 ใบที่ติดอยู่กับท่อไอเสียช่วงเดี่ยวหรือคู่
สำหรับเครื่องยนต์ความจุสูงๆ บางรุ่นด้วย
ผู้ผลิตรถยนต์มักเลือกใช้ท่อไอเสียช่วงเดี่ยวขนาดไม่ใหญ่นัก
เพราะต้นทุนต่ำและอยากรักษาอัตราการไหลของไอเสีย
ท่อเดี่ยวที่ใหญ่มากจะโล่งเกินไปทำให้ไอเสียไหลออกช้า
เช่นเดียวกับการเป่าลมออกไปด้วยหลอดกาแฟหรือท่อประปาขนาด 1 นิ้ว
อย่างหลังย่อมโล่งเกินไปจึงระบายได้แย่กว่า
แต่ถ้าเป่าลมออกทางหลอดยาคูลท์ขนาดจิ๋วย่อมแย่หนักกว่า เพราะระบายไม่ทัน
โดยทั่วไปสามารถเพิ่มขนาดท่อช่วงนี้ได้ประมาณ 1-3 หุน (3-9 มิลลิเมตร)
โดยไม่ทำให้โล่งเกินไป ให้ผลดีขึ้นในรอบเครื่องยนต์ปานกลางขึ้นไป
แต่ยังคงอัตราการไหลของไอเสียช่วงรอบต่ำได้เป็นปกติ
ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตกแต่งส่วนอื่นของเครื่องยนต์ด้วย
ถ้ามีการเพิ่มประสิทธิภาพการประจุไอดีด้วยเทอร์โบ ขยายพอร์ท-วาล์ว
ก็ต้องเพิ่มขนาดท่อมากกว่าเครื่องยนต์เดิมๆ เสมือนมีน้ำดีเข้าบ้านมากขึ้น
ก็ต้องขยายท่อน้ำทิ้งตามไปด้วย

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนครับ
ได้รับคำขอบคุณจาก: tokykung  YINDEE  black_boy  kaisuh  mod_x  cisco  ae 
tokykung


ชื่อเล่น: ต๊อก

เข้าร่วม: 27 ตุลา 2008
ตอบ: 2490

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 2660
ให้คำขอบคุณ: 5788

ที่อยู่: เชียงราย
ปี: 2002
จันทร์, 20 กรกฎา 2009 11:58 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
ขอบคุณมากเลยคับ กำลังอยากจะเปลี่ยนพอดี ช่วงนี้หาข้อมูลอยู่
oat_28


เข้าร่วม: 01 ตุลา 2008
ตอบ: 2690

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 772
ให้คำขอบคุณ: 30

ปี: 2002
จันทร์, 20 กรกฎา 2009 14:50 - อยากถามเป็นความรู้ครับจะเปลี่ยนท่อใหม่ อยากรู้ว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน HEADไหม
ผม เปลื่ยน เฮดเดอร์ มา ผม ว่า เห้น ผล สุด เท่า ที่ ผม ทำ ท่อ มา เลย

เปลื่ยน พัก ปลาย ก็ ไม่ ค่อย รู้ สึก เท่า เปลื่ยน เฮดเดอร์ คับ
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2025 Civic ES Group. All rights reserved.