srithanon พิมพ์ว่า: |
ตามรูปวงจรที่เห็นในสภาวะนี้ สัญญาณเสียงที่มาเข้าลำโพง R และ L แยกกันอิสระ คือสองแชลแนลในระบบสเตอริโอ แต่เมื่อใดที่รีเลย์ทั้งสองตัวทำงานพร้อมกัน(จ่ายไฟบวกพร้อมกัน) ขั่วลบและบวกของลำโพงด้าน L จะต่อขนานกับลำโพงด้าน R เท่ากับว่าเป็นการต่อลำโพงสองตัวขนานกัน ทำให้อิมพิแดนซ์ของลำโพงลดลง เช่น ลำโพงมีอิมพีแนซ์ 8 Ohm สองตัวพอเอามาต่อขนานกันจะเหลือ อิมพีแดนซ์ เท่ากับ 4 Ohm ที่ทำอย่างนี้เพื่อ ต้องการให้โหลดอิมพิแดนซของเพาเวอร์แอมป์ มีค่าโหลดที่พอดีกับการทำงานในการขยายสัญญาณเสียงได้กำลังเพาเวอร์สูงสุด เช่นสเป็คของเครื่องเพาเวอร๋แอมป์กำหนดไว้ว่า ให้กำลังขยายเสียงหรือเพาเวอร์สูงสุด ที่ 100 Watt ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohm การที่วงจรรีเลย์ในรูปภาพทำงาน จะได้ลำโพงขนานกันเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเฟสของสัญญาณเสียง
แต่ที่น่าแปลกใจ ก็เพราะในสภาวะนั้นจะมีเสียงหรือสัญญาณ Audio จากสายลำโลงที่มาจากแชลแนลซ้ายเท่านนั้น( L ) ส่วนแชลแนล R ( R+) ถูกปล่อยไว้ไม่ได้ต่อกับลำโพง ก็ไม่ทราบว่าผู้ใช้ออกแบบมาเพื่อประสงค์อะไร นอกจากจะใช้เพาเวอร์แอมป์ขยายเพียงแชลแนลเดียว(พวก single Amp) เพื่อใช้กับแอมป์ที่มีกำลังขยายเพาเวอร์สูงๆเท่านั้น และลำโพงที่ใช้จะมีค่า Impedance ต่ำ....srithanon |
srithanon พิมพ์ว่า: |
ตามรูปวงจรที่เห็นในสภาวะนี้ สัญญาณเสียงที่มาเข้าลำโพง R และ L แยกกันอิสระ คือสองแชลแนลในระบบสเตอริโอ แต่เมื่อใดที่รีเลย์ทั้งสองตัวทำงานพร้อมกัน(จ่ายไฟบวกพร้อมกัน) ขั่วลบและบวกของลำโพงด้าน L จะต่อขนานกับลำโพงด้าน R เท่ากับว่าเป็นการต่อลำโพงสองตัวขนานกัน ทำให้อิมพิแดนซ์ของลำโพงลดลง เช่น ลำโพงมีอิมพีแนซ์ 8 Ohm สองตัวพอเอามาต่อขนานกันจะเหลือ อิมพีแดนซ์ เท่ากับ 4 Ohm ที่ทำอย่างนี้เพื่อ ต้องการให้โหลดอิมพิแดนซของเพาเวอร์แอมป์ มีค่าโหลดที่พอดีกับการทำงานในการขยายสัญญาณเสียงได้กำลังเพาเวอร์สูงสุด เช่นสเป็คของเครื่องเพาเวอร๋แอมป์กำหนดไว้ว่า ให้กำลังขยายเสียงหรือเพาเวอร์สูงสุด ที่ 100 Watt ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohm การที่วงจรรีเลย์ในรูปภาพทำงาน จะได้ลำโพงขนานกันเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเฟสของสัญญาณเสียง
แต่ที่น่าแปลกใจ ก็เพราะในสภาวะนั้นจะมีเสียงหรือสัญญาณ Audio จากสายลำโลงที่มาจากแชลแนลซ้ายเท่านนั้น( L ) ส่วนแชลแนล R ( R+) ถูกปล่อยไว้ไม่ได้ต่อกับลำโพง ก็ไม่ทราบว่าผู้ใช้ออกแบบมาเพื่อประสงค์อะไร นอกจากจะใช้เพาเวอร์แอมป์ขยายเพียงแชลแนลเดียว(พวก single Amp) เพื่อใช้กับแอมป์ที่มีกำลังขยายเพาเวอร์สูงๆเท่านั้น และลำโพงที่ใช้จะมีค่า Impedance ต่ำ....srithanon |
dantouch พิมพ์ว่า: |
การต่อ Relay แบบนี้ เขาทำเพื่ออะไรครับ รบกวนกูรูหน่อยครับ แค่อยากรู้ |
athongchum พิมพ์ว่า: | ||
เป็นการวายริ่ง Subwoofer เพื่อเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับแนวเพลงที่เปิด การทำงานจะมี 2 แบบคือ 1.ขับแบบ Stereo ใช้แอมป์ 1ch ต่อ sub 1 ดอก ขับแยกสัญญาณเสียงซ้ายขวา การต่อแบบนี้เหมาะกับการฟังแนว SQ เน้นความไพเราะของตัวโน๊ต เสียงจะได้ความกระชับมีมิติ 2.ขับแบบ Bride Mono (ใช้+Lกับ-R) และขนาน Subwoofer เป็นการลด Z ของลำโพงด้วย เป็นการรวมสัญญาณซ้ายขวาขับออกไป ch เดียว หรือ Mono นั่นเอง การต่อแบบนี้เหมาะกับการฟังแนว SPL เน้นในด้านพละกำลัง ไม่เน้นความไพเราะ เสียงที่ได้จะไม่ดีเหมือนแบบแรก แต่จะได้ความดังและระยะไกลของเสียงเบส ในความเข้าใจของคนทั่วไปแบบคร่าวๆ (ไม่ได้เหมือนกันทุกแบรนด์ทุกยี่ห้อเป็นการอธิบายแบบคร่าวๆโดยประมาณ) สิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากแบบแรกคือ กำลังขับเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า (Bride Mono ได้กำลังขับเพิ่ม 2 เท่า และ ลดอิมพิแดนซ์ลงครึ่งนึงได้กำลังขับเพิ่มอีก 2 เท่า) แต่ Damping factor ก็จะลดลงประมาณ 4 เท่าเช่นกัน (ความไวในการเก็บตัวของกรวยลำโพง) เสียงก็จะออกยานๆเฉื่อยๆกว่าแบบแรกมากๆ |
srithanon พิมพ์ว่า: |
ตามที่คุณ athongchum ได้ให้ข้อมูลนั้น เป็นการกล่าวถึงในลักษณะการต่อภาคเพาเวอร์แอมป์ของเครื่องเสียงที่เป็นแบบสองแชลแนลให้เป็นแบบบริดจ์ ออกมาแชลแนลเดียว และได้กำลังของเพาเวอร์ออกมาสองเท่า ตามที่กล่าวมา ก็ถูกต้อง แต่วงจร Relay ที่ถามมา ไม่อยู่ในเงื่อนไขการต่อแบบบริดจ์ของตัวภาคเพาเวอร์แอมป์ มันเป็นการจัดรูปแบบในเรื่องของการแม็ทชิ่งค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพง ให้มีความพอดีกับสเป็คของตัวเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ ที่ทำหน้าที่ขยายกระแส ที่มีโหลดของตัวทรานซิสเตอร์นั้นๆกำหนดเอาไว้ ว่าจะทำการขยายสัญญาณเสียงในรูปของกระแสได้เพาเวอร์ที่ตกคร่มโหลดอิมพีแดนซ์นั้นมีค่าเพาเวอร์สูงสุดเท่าใด
ดังนั้นการใช้ลำโพงจึงจำเป็นที่จะต้องหาค่า Z impedance ของ speaker ให้ตรงกับเพาเวอร์แอมป์ ที่กำหนดค่า Load impedanc ในการใช้ ลำโพงต่อกับเครื่องขยายเสียง ในเครื่องเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ระบบทรานซิสเตอรเข้ามาทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง จะเป็นการทำงานของวงจรในแบบการขยายสัญญาณเสียงทางกระแสไฟ สำหรับเครื่องขยายเสียงที่ใช้แบบหลอด จะทำการขยายสัญญาณเสียงแบบโวลท์เต็จ ดังนั้นในภาพที่ถามมา จึงกล่าวถึงในเรื่องการทำค่า Z impedance ของลำโพง ที่มีใช้อยู่ อาจจะใช้ปกติกับเพาเวอร์แอมป์ ที่มีค่า Z ที่ 8 Ohm หรือ 4 Ohm ที่ใช้อยู้แล้ว แต่อาจจะมีตวามจำเป็นที่จะเปลี่ยนเพาเวอร์แอมป์ ที่มีกำลังขยายวัตต์สูงๆ ที่มีค่า impedance ต่ำ ที่ 2 หรือ 4 Ohm ก็จัดการต่อลำโพงทั้งสองตัวขนานกัน ก็จะได้ค่า Z impedace ตามสเป็คของเพเวอร์แอมป์ที่เปลี่ยนใหม่ ส่วนความทนทานในการรองรับสัญญาณเสียงที่มีกำลังขยายเพิ่มขึ้น ในตัวลำโพงที่นำมาต่อขนานกัน จะต้องมีกำลังทนกระแสที่ผ่าน Moving coil นั้นได้ด้วย เช่นเดิมมีค่า Z ที่ 4 Ohm 50 watt เมื่อนำมาต่อขนานกันสองตัว จะเหลือค่า Z = 2 Ohm แต่ถ้าหาก เครื่องขยายเสียงเพาเวอร์แอมป์ที่เปลี่ยนใหม่ เป็น 100 watt 2 Ohm แบบนี้ ลำโพงที่ทนได้ 50 watt ก็ขาดกระจุย หากเร่งกำลังขยายเกินกว่า 50 watt ไม่เกินไม่เป็นไร ต้องขออภัยด้วยที่เข้ามาต่อกระทู้ ซึ่งอาจจะมองไปในเรื่องมีข้อคิดเห็นต่างตามที่ท่านสมาชิกได้กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มไว้ ซึ่งก็เป็นไปตามที่กล่าวให้เพื่อนๆทราบ แต่เพียงมองจุดถามที่ต่างกันออกไปเท่านั้น.....srithanon |
dantouch พิมพ์ว่า: | ||||
ขอบคุณมากๆครับสุดยอด ความรู้อีกแล้ว เดี๋ยวผมจะลองดูนะครับ |
athongchum พิมพ์ว่า: | ||||||
ก่อนจะทำ ศึกษาสเป็คแอมป์กับลำโพงให้ดีก่อนนะครับว่า... แอมป์ รับโหลดได้กี่โอห์ม? ลำโพง ทนกำลังได้กี่วัตต์? ไม่งั้นเดี๋ยวแอมป์กับลำโพงจะโดนย่างสด ![]() ![]() |
srithanon พิมพ์ว่า: |
หากเป็นกรณีที่ Power amp ระบุตำแหน่งการต่อแบบบลริดจ์ ให้ใช้ R- กับ L+ ก็โอเคครับ ก็เป็นตามที่คุณกล่าว เพราะ Power amp บางยี่ห้อก็ให้ใช้ R+ กับ L- เป็น Output ไปต่อให้กับลำโพง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของ Power Amp นั้นๆ จบครับ ขอบคุณที่เข้ามาให้คอมเม้นท์.......srithanon |
ไปที่: |