ตอบ
Tiv


ชื่อเล่น: ติ้ว

เข้าร่วม: 13 มีนา 2011
ตอบ: 1380

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1520
ให้คำขอบคุณ: 455

ที่อยู่: ปราจีน-นครสวรรค์
ปี: 2004
สี: ดำ ไนท์ฮอว์ก (B-92P)
อังคาร, 19 พฤศจิกา 2013 09:50 - "แซงซ้าย" ผิดกฎหมายหรือไม่????
การแซงซ้ายถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ความเร็วสูงบนทางหลวง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังคงมีผู้ใช้รถอีกจำนวนหนึ่ง ที่มีพฤติกรรม 'แช่ขวา' คือการขับรถชิดขอบทางด้านขวา ด้วยความเร็วไม่มากนั่นเอง ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่ที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงกว่า ไม่มีพื้นที่ให้แซงขึ้นไป หากเจอพฤติกรรมเช่นนี้ จะปฎิบัติอย่างไรดี?




แซงซ้าย ผิดกฏหมาย!

พรบ.จราจรทางบก ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 ระบุไว้ชัดเจนว่า 'ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถแซงหน้ารถคันอื่นทางด้านซ้าย' ด้วยเหตุนี้แล้ว การแซงซ้ายนั้นถือว่าผิดกฏหมายเต็มๆ


อ้าว! แล้วพวก 'แช่ขวา' ล่ะ

อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มผู้ใช้รถบางคน ที่มีพฤติกรรมการขับขี่ด้วยความเร็วต่ำในช่องเดินรถขวาสุด โดยไม่สนใจว่ามีรถคันหลังที่ใช้ความเร็วสูงกว่า ซึ่งเหตุผลที่มักพบอยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น สภาพผิวถนนเลนซ้ายไม่ดี วิ่งเลนขวาสบายใจกว่า หรือ ผู้ขับขี่อาจคิดว่าตนใช้ความเร็วตามกฏหมายกำหนดแล้ว ไม่จำเป็นต้องชิดซ้าย

การขับช้าขวางเส้นทางนั้น ผิดพรบ.การจราจรทางบก มาตรา 35 ระบุว่า รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบเดินรถทางซ้ายเท่าที่จะกระทำได้ โดยมิได้กล่าวถึงอัตราความเร็ว หมายความว่า ถึงแม้จะใช้ความเร็วสูงสุดตามที่กฏหมายกำหนดแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องใช้เลนทางซ้ายมืออยู่ดี โดยให้รถที่เร็วกว่า สามารถแซงไปทางขวาได้




'แช่ขวา' ยังไงก็ไม่หลบ 'แซงซ้าย' ก็ผิดกฏหมาย แล้วจะให้ทำอย่างไร?

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัตินั้น ผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรม 'แช่ขวา' ยังคงมีให้เห็นในถนนบ้านเรา แม้จะให้สัญญาณไฟขอทาง หรือสัญญาณแตรแล้วก็ตาม กฎหมายจึงระบุข้อยกเว้นในมาตรา 45 (2) ว่าผู้ขับขี่สามารถแซงขึ้นไปทางซ้ายได้ เมื่อเห็นว่าปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้รถต่อแถวกันยาวเป็นหางว่าวเนื่องจากต้องต่อท้ายรถที่มีพฤติกรรมดังกล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาที่พบอยู่บ่อยๆ คือ เมื่อสามารถแซงขึ้นไปทางซ้ายได้แล้ว ผู้ขับขี่บางคนอาจมีความรู้สึกโกรธแค้นจนก่อให้เกิดการ 'เอาคืน' ด้วยการปาดหน้ากระชั้นชิด หรือแซงขึ้นหน้าแล้วเหยียบเบรคแรงๆ สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุยิ่งกว่า ให้ลองคิดว่าหากรถที่ขับช้านั้น เป็นญาติพี่น้องเราเอง เราคงไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้น

ทางที่ดีเมื่อแซงได้แล้ว ก็ขับต่อไปโดยไม่ต้องสนใจ ปล่อยให้กฎหมายเป็นผู้จัดการเขาเอง


พื้นผิวจราจรเลนซ้ายไม่ดี บางทีก็ต้องเห็นใจ!

พื้นผิวทางหลวงข้ามจังหวัดบางเส้นนั้น มีสภาพค่อนข้างแย่ การขับขี่บนถนนขรุขระเช่นนั้น อาจทำให้รถเกิดความเสียหายได้ด้วยเหมือนกัน ข้อแนะนำเล็กน้อยสำหรับผู้รักรถ คือ ผู้ขับอาจใช้เลนขวาที่สภาพถนนเรียบกว่าได้ แต่ต้องหมั่นมองกระจกหลังเป็นระยะ หากพบว่ามีรถวิ่งมาด้วยความเร็วสูง ให้เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย พร้อมหลบเข้าเลนทางซ้ายไปก่อน

แต่ต้องพึงระลึกไว้ว่า ช่องทางเดินรถขวาสุด มีไว้สำหรับรถที่วิ่งเร็วกว่า ทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้ตำรวจทางหลวงเรียกได้เสมอ ทางที่ดีปฏิบัติตามกฎจราจรได้จะดีที่สุด
ได้รับคำขอบคุณจาก: Cool_M  csirinant  phoochit-n  quickSilver 
prgs55


ชื่อเล่น: เล็ก

เข้าร่วม: 26 มิถุนา 2010
ตอบ: 861

Guru ES
Guru ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1794
ให้คำขอบคุณ: 1103

ที่อยู่: ย่านมีนบุรี
ปี: 2001
สี: ดำ ไนท์ฮอว์ก (B-92P)
อาทิตย์, 24 พฤศจิกา 2013 10:56 - "แซงซ้าย" ผิดกฎหมายหรือไม่????
แต่แซงไหล่ทางอันตรายโคตร อาจจะไปอยู่กับตูด 18 ล้อได้นะครับ
kirazaki


เข้าร่วม: 26 สิงหา 2013
ตอบ: 206

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 119
ให้คำขอบคุณ: 6

ปี: 2004
สี: ดำ ไนท์ฮอว์ก (B-92P)
อาทิตย์, 24 พฤศจิกา 2013 18:32 - "แซงซ้าย" ผิดกฎหมายหรือไม่????
ขอบคุณครับ
Orangbuket


ชื่อเล่น: อาร

เข้าร่วม: 22 พฤศจิกา 2012
ตอบ: 52

สมาชิกสับสน
สมาชิกสับสน

ได้รับคำขอบคุณ: 18
ให้คำขอบคุณ: 0

ที่อยู่: yala
ปี: 2001
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
จันทร์, 25 พฤศจิกา 2013 15:32 - "แซงซ้าย" ผิดกฎหมายหรือไม่????
[color=black]ไม่ผิดครับ แต่ถ้ารถคันหน้าให้สัญญานจะเสี้ยวขวา
aotatix21


ชื่อเล่น: เอก

เข้าร่วม: 26 ธันวา 2010
ตอบ: 212

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 214
ให้คำขอบคุณ: 209

ปี: 2002
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
จันทร์, 25 พฤศจิกา 2013 22:33 - "แซงซ้าย" ผิดกฎหมายหรือไม่????
สรุป แซงซ้ายได้ครับแต่มี 2 กรณี
1.รถคันหน้าให้สัญญาณเลี้ยวขวา
2.ถนนมีช่องทางเดินรถมากกว่า 1 ช่องทาง
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2025 Civic ES Group. All rights reserved.