biki พิมพ์ว่า: | ||
ทำไมชื่อมันยาวจังนิ ![]() |
DRINK พิมพ์ว่า: | ||||
หร่อยมั้ย!! |
DRINK พิมพ์ว่า: |
พึงระวัง สำหรับ ขับล้อหน้า
รถยนต์แต่ละคันกว่าจะได้มาแสนยากลำบาก การบำรุงรักษาตลอดการใช้งานอาจจะยากกว่าและในบทความที่จะกล่าวถึงนี้ จะอยู่ในส่วนของการขับเคลื่อนนั่นก็คือ "เพลาขับ" ชิ้นส่วนดังกล่าว จะถูกติดตั้งอยู่ระหว่างชุดเกียร์กับล้อ การหมุนของเพลาขับจะเท่ากับการหมุนของล้อ การทำงานถือว่าหนักมาก และสำคัญมาก ซึ่งสาระสำคัญไม่เกี่ยวกับการหมุนของล้อแต่อย่างใด แต่จะกล่าวถึงในส่วนที่พึง ระวัง คือ "การเลี้ยวในวงแคบ" ในการเลี้ยวหรือกลับรถในพื้นที่แคบ ผู้ขับขี่แต่ละท่านการขับขี่ไม่เหมือนกัน เช่น ช้าบ้าง-เร็วบ้าง หรือตีวงกว้าง-ตีวงแคบ แตกต่างกันไป แต่ในสภาพการจราจรที่แออัด จำเป็นที่จะต้องเร่งรีบ เลยทำให้ส่งผลถึงตัว "เพลาขับ" นั่นเอง เอ๊ะ ! แล้วเกี่ยวกับเพลาขับตรงไหน ? การที่เลี้ยว หรือ กลับรถในที่แคบแล้วไหนจะรีบอีก (คันหลังจะต่อว่าเอา) เลยทำให้รีบหักพวงมาลัย แล้วเร่งเครื่องอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลนี้ เพลาขับ (ด้านติดล้อ) จะถูกหักเลี้ยวตามการเลี้ยว ลูกปืนที่หัวเพลาจะเกิดการบิดตัวภาย ในอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรอสูง ถ้ากระทำเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้หลวมคลอนเร็วกว่าการใช้งานปกติ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีเท่าไรต่อท่านเจ้าของรถ การซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยน จะมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ในการเลี้ยวแต่ละครั้งให้คำนึงถึงจุดนี้ด้วย อีกจุดหนึ่งที่จะชำรุดก่อน ก็คือ "ยางกันฝุ่นเพลาขับ" ตัวที่ติดล้อนั่นแหล่ะ ยางกันฝุ่นเป็นยาง ย่อมมีอายุการใช้งานเหมือนยางทั่ว ๆ ไป แต่ถ้ามีการเลี้ยวเหมือนข้อความข้างต้น ก็จะทำให้ฉีกขาดเร็ว ในเมื่อฉีกขาดเร็วก็จะทำให้สารหล่อลื่น (จารบี) หลุดออกจากชุดลูกปืนหัวเพลา และเมื่อเป็นเช่นนี้ หัวเพลาจะได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อยางกันฝุ่นเพลาขับตัวใดตัวหนึ่งขาด ให้รีบซ่อมโดยด่วน มิฉะนั้น จะส่งผลให้เพลาหลวมคลอนได้ และเปลี่ยนในที่สุด จะรู้ได้อย่างไรว่า ยางกันฝุ่นเพลาขับชำรุด หรือ ฉีกขาด ? โดยทั่วไปแล้ว ยางกันฝุ่นเพลาขับตัวนอก (ด้านติดล้อ) จะขาดก่อน ให้สังเกตว่ามีคราบจารบี หรือ สิ่งสกปรกติดอยู่ทางด้านในของล้อนั้นๆ แสดงว่าขาดแน่นอน แต่จะให้ชัวร์เลย ก็ให้ก้มลงดูใต้ท้องรถก็จะทราบว่ามาจากจุดใด หรือ ให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจสอบก็จะดียิ่งขึ้น และมีวิธีใดที่ช่วยให้การใช้งานยาวนาน ? 1. เลี้ยวรถ หรือ กลับรถด้วยความเร็วต่ำ 2. ให้ตีวงเลี้ยวกว้าง (ถ้าเป็นไปได้) 3. หลีกเลี่ยงการหักพวงมาลัยสุด หรือ หักเลี้ยวสุดขณะรถเคลื่อนที่ 4. ตรวจสภาพยางกันฝุ่นเพลาขับสม่ำเสมอ (เริ่มชำรุดเปลี่ยนทันที) 5. ตรวจสอบสารหล่อลื่น (จารบี) ในเพลาขับ อันนี้ตรวจสอบเองลำบาก คงให้ช่างตรวจสอบ *** เพียงเท่านี้ เพลาขับของท่านก็จะอยู่ตราบนานเท่านาน ตลอดอายุการใช้งานครับ *** |
shi34127 พิมพ์ว่า: | ||
|
ไปที่: |