ตอบ
padonzzz


ชื่อเล่น: ต๊ะ

เข้าร่วม: 19 พฤศจิกา 2012
ตอบ: 904

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 2688
ให้คำขอบคุณ: 1767

ที่อยู่: อยุธยา - รังสิต - ปทุม
ปี: 2001
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
อังคาร, 21 พฤษภาคม 2013 09:07 - ข้อมูลจาก DATASHEET ของน้ำมันเครื่อง บอกอะไร? มาดูกัน
พอดีไปเจอมาจากเพจ กูขับฮอนด้าครับ ลองอ่านดูนะครับ


ข้อมูลจาก DATASHEET ของน้ำมันเครื่อง บอกอะไร? มาดูกัน



ข้อมูลจาก DATASHEET ของน้ำมันเครื่อง บอกอะไร? โดยหลักๆ จะดูอยู่ 2 ค่าครับ

- Vicosity Index (VI) ค่านี้ ยิ่งมาก แสดงว่า ฟิล์มน้ำมันมีความแข็งแรงทนทานเมื่อได้รับภาระมากๆ
- Viscosity @ 100 oC, cSt เป็นการวัดแรงต้านของน้ำมันเครื่องที่ 100c ซึ่ง


น้ำมันเครื่อง SAE 20 จะมีค่า 5.6 - 9.29
น้ำมันเครื่อง SAE 30 จะมีค่า 9.3 - 12.5
น้ำมันเครื่อง SAE 40 จะมีค่า 12.5 - 16.3
น้ำมันเครื่อง SAE 50 จะมีค่า 16.3 - 21.9

Viscosity @ 100 oC, cSt น้อย มีแรงต้านน้อย โดยทั่วๆไป จะเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องใส
Viscosity @ 100 oC, cSt มาก มีแรงต้านมาก โดยทั่วๆไป จะเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องหนืด

โดยทั่วไป การผลืตน้ำมันเครื่องที่มีแรงต้านต่ำ Viscosity @ 100 oC, cSt น้อยๆ
จะได้น้ำมันเครื่องที่ มี VI ไม่สูงมาก (เนื่องจากต้นทุนในการผลิต)

ในทางกลับกัน น้ำมันเครื่องที่มี VI มากๆ มักจะมีแรงต้าน น้ำมันเครื่องเพิ่มขึ้นมา ซึ่งก้อคือหนืดมากขึ้น
อย่างที่เราเข้าใจกันครับ


นอกจาก VI จะเป็นค่าเปรียบเทียบความทนทานของฟิล์มน้ำมันแลัว วัตถุดิบหรือ Base Oil ที่นำมาผลิต
ยังเป็นตัวบ่งบอกประสิทธิภาพที่ดีด้วย ซึ่ง Base Oil (ในที่นี่ว่ากันที่ Synthetic Oil Base) จากแต่ละแหล่ง
ก็ให้คุณภาพไม่เท่ากัน โดยแหล่งที่มีคุณภาพสูงในปัจจุบันจะผลิตจากอเมริกาและญี่ปุ่น
ในส่วนของ Additive Package ก็แตกต่างกันตามลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรการค้นขว้าและวิจัยของแต่ละยี่ห้อ
จะสังเกตได้ว่าจะมียี่ห้อน้ำมันเครื่องที่ต้องไปจ้างบริษัทผลิตน้ำมันเครื่องอีกทีเป็นผู้ผลิตเพื่อมาแปะยี่ห้อตัวเอง
และยี่ห้อน้ำมันเครื่องจากบริษัทที่มีโรงงานและเทคโนโลยีของตัวเอง


ILSAC ย่อมาจาก INTERNATIONAL LUBRICANT STANDARDIZATION
AND APPROVAL COMMITTEE

Jointly developed and approved by
Japan Automobile Manufacturers Association, DaimlerChrysler Corporation,
Ford Motor Company and General Motors Corporation.

กำหนดเงื่อนไขของน้ำมันเครื่องออกมา มีข้อทดสอบมากมาย สรุปสุดท้าย จะเน้นในเรื่องการประหยัดเชื่อเพลิง
โดยประกาศมาตรฐานออกมา ดูง่าย
GF-1,GF-2,GF-3, GF-4 และ GF-5 เป็นระดับสูงสุดในปัจจุบันครับ


นอกจากนี้เบสออย ที่นำมาเป็นวัตถุดิบหลักของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ยังแบ่งออกได้อีก 3 ประเภท

1. PAO = Polyalphaolefin เป็นเบสออยที่ได้จากอุตสาหกรรมแยกก๊าซ/พลาสติก
ไม่ได้เป็นผลผลิตจากการกลั่นน้ำมันดิบ เนื่องจากเป็นการสังเคราะห์ ลักษณะของโมเลกุลจจะมีขนาด
สม่ำเสมอ โดยจำลองโมเลกุลที่มีคุณสมบัติที่ดีที่พบในปิโตรเลียมเบสออยมาเป็นโมเลกุลต้นแบบ
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์เกือบทุกตัว มากกว่า 90% ใช้เบสออยตัวนี้ (Synthetic100% , Fully Synthetic)
ซึ่งก็มีเกรดคุณภาพตามแหล่งผลิตอีกด้วยครับ

2. Esterbase เป็นการนำ PAO มาทำการสังเคราะห์ซ้ำเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่สูงขึ้นไปอีก
ซึ่งโมเลกุลของ Esterbase จะเป็น Non-Polymer คุณสมบัติหลักที่ดีขึ้นจาก PAO (Polymer)
คือ ไม่เก็บความร้อน เมื่อนำมาผสมในน้ำมันเครื่องจะทำให้คุณสมบัติการคายความร้อนดีขึ้น
เมื่อน้ำมันเครื่องร้อนน้อยกว่า เป็นผลให้เกิดความเสถียรในประสิทธิภาพที่มากกว่า น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ปกติ แต่ต้นทุนการผลิตและราคาก็สูงขึ้น
น้ำมันเครื่องกลุ่มนี้จะมีแจ้งไว้ว่าเป็น Fully Synthetic (Esterbase Formulation) ,
Fully Synthetic Esterbase (ในกรณีใช้ Esterbase เป็นเบสออยเพียวๆ 100%)
ทำไมต้องมี esterbase มาเกี่ยวข้อง เพราะปัจจุบันเครื่องยนต์รุ่นใหม่ผลิตด้วยวัสดุและเทคโนโลยี
ที่ทำให้ค่า clearance ของชิ้นส่วน และการยืดหดตัวของโลหะลดลงไปมาก ทำให้ต้องการน้ำมันเครื่อง
ที่มีแรงต้านต่ำๆ ในหลายๆรุ่น คู่มือประจำรถแนะนำให้ใช้เบอร์ 5W-20 หรือ 0W-20
จากที่อธิบายมา พวกที่แรงต้านต่ำๆ ค่า VI ก็จะไม่มากโดยธรรมชาติ การใช้ esterbase มาผสมก็เป็นการเพิ่มคุณสมบัติ การหล่อลื่น การรักษาแรงดัน การระบายความร้อนที่ดีขึ้น น้ำมันเครื่องแรงต้าน(ความหนืด)ต่ำจึงยังสามารถรองรับสภาวะการใช้งานหนักได้โดยไม่เสียความต้องการที่แท้จริงของเครื่องยนต์

3.VHVI = Very High Viscosity Index ตัวนี้ยังไม่เห็นการนำมาใช้ในน้ำมันเครื่องที่เป็น Production ทั่วไป


W คืออะไร
น้ำมันเครื่องสมัยใหม่ที่เห็นกันเป็นส่วนใหญ่เป็น น้ำมันเครื่อง Multigrade
คือจะบอกคุณสมบัติ เมื่ออยู่ในสภาพ W คือ Winter ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติแรงต้าน(หนืด)ที่ -18 องศา C
ยิ่งตัวเลขต่ำ แสดงว่าจะมีความสามารถในการไหลเข้าสู่ระบบเครื่องยนต์ได้ดีกว่าที่ -18 องศา C
ในประเทศเขตร้อนไม่ได้ใช้คุณสมบัตินี้ซักเท่าไหร่ อย่างในประเทศไทยลงไปที่ 0 องศาแทบไม่เจอ
แต่ ตัวเลขหน้า W ที่ต่ำๆเช่น 5 หรือ 0 ก็บ่งบอกถึงราคาได้ เพราะ additive pacakge ที่ทำให้มี 0W
มักจะมีแนวโน้มที่แพงกว่า additive package ของ 5W


เพราะฉะนั้น การเลือกน้ำมันเครื่องที่มีแรงต้าน(หนืด) จึงดูค่าตัวหลังเพียงตัวเดียว ซึ่งเป็นแรงต้าน(หนืด)
เมื่อเครื่องยนต์อยู่ในอุณหภูมิทำงานครับ


สอบถามเพิ่มเติมได้ ต้น / 0817317329
ได้รับคำขอบคุณจาก: dantouch  Rachen  black_civic_es  chokpiti  boy_nsm  สมชาย  smokie 
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2025 Civic ES Group. All rights reserved.