กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ ไฟซีนอน
----------------------------
กฎกระทรวง เรื่อง อุปกรณ์สำหรับรถยนต์
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒
...
อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๒ รถยนตร์ต้องมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ ดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟดังต่อไปนี้ ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวน ๒ ดวง ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้านหน้า รถข้างซ้ายและข้างขวาแห่งละ ๑ ดวง โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกันสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๓๕ เมตร
ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อให้ใช้โคมไฟสว่าง ไกลเพียงดวงเดียวติดไว้ตรงกลางหน้ารถ โคมไฟ แสงพุ่งไกลจะให้แสงสว่างได้เฉพาะ ในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น เว้นแต่เป็นการให้แสดงสัญญาณชั่วขณะ
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่ให้แสงเดียวกับโคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวน ๒ ดวง ติดอยู่ในระดับเดียวกัน ที่ด้านหน้ารถด้านซ้ายและข้างขวาแห่งละ ๑ ดวง สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๓๕ ห่างจากด้านล่างริมสุดของหน้ารถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร
ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามข้อให้ใช้โคมไฟพุ่งต่ำเพียงดวงเดียว ติดไว้ตรงกลางหน้ารถโคมไฟแสงพุ่งต่ำจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้าย ให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น
(ค) โคมไฟแสดงความกว้างของรถ แสงขาวหรือเหลืองจำนวน ๒ ดวง แสดงแสงเดียวกันที่ด้านหน้า ข้างซ้ายและข้างขวา แห่งละ ๑ ดวง
โคม ไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกันสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร ห่างจากด้านข้างริมทางสุดของหน้ารถ โคมไฟแสดงความกว้างของรถจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อ โคมไฟแสดงความกว้างของรถต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมแสงพุ่งไกลและโคมไฟพุ่ง ต่ำด้วย
(ง) โคมไฟเลี้ยว ชนิดใช้ไฟกระพริบ แสงเหลือง ติดที่ด้านหน้าจำนวน ๒ ดวงและแสงเหลืองหรือแดง ติดที่ด้านท้ายจำนวน ๒ ดวง หรือ ๔ ดวง ในกรณีที่รถมีความกว้างเกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวด้านท้าย จะมีจำนวน ๖ ดวงก็ได้โดยให้ติดไว้ที่ข้างซ้ายและข้างขวา มีจำนวนเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟทุกดวงที่ติดที่ด้านท้ายต้องให้แสงสีเดียวกัน ดวงริมสุดอยู่ห่างจากด้านข้างริมสุดของหน้ารถ หรือท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร และดวงล่างสุดอยู่สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวทุกดวงที่อยู่ข้างเดียวกันต้องกระพริบพร้อมกันในขณะที่รถให้ สัญญาณเลี้ยว
(จ) โคมไฟท้าย แสงแดง จำนวน ๒ ดวง หรือ ๔ ดวง ในกรณีที่รถมีความกว้างเกิน ๒.๑๐ เมตร จะมีจำนวน ๖ ดวงก็ได้ ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้านท้ายรถข้างซ้ายและข้างขวา มีจำนวนเท่ากันทั้งสองข้าง สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟดวงริมสุดห่างจากด้านข้าง ริมสุดของท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร
(ฉ) โคมไฟหยุด แสงแดง จำนวน ๒ ดวง หรือ ๔ ดวง ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้านท้ายรถข้างซ้ายและข้างขวา มีจำนวนเท่ากับทั้งสองข้าง สูงจากผิวทางไม้น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟดวงริมสุดห่างจากด้านข้ามริมสุดของท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร โคมไฟหยุดจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท้าเท่านั้นและแสงต้อง สม่ำเสมอคงที่ไม่กระพริบ โคมไฟหยุดถ้ารวมอยู่ในโคมไฟท้ายจะต้องมีความสว่างมากกว่าความสว่างของโคมไฟ ท้ายนั้น
(ช) โคมไฟถอยหลัง แสงขาว จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวกึ่งกลางท้ายรถเท่ากัน ทั้งสองข้างโคมไฟถอยหลังจะให้แสงสว่างได้ เฉพาะในขณะที่เข้าเกียร์ถอยหลังเท่านั้น
(ซ) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนแสงขาว อย่างน้อย ๑ ดวง แต่ไม่เกิน ๒ ดวงติดอยู่ด้านบน ด้านล่างหรือด้านข้างของแผ่นป้ายทะเบียนท้ายรถ มีความสว่างสามารถอ่านป้ายทะเบียนรถได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร จากท้ายรถและต้องมีที่บังมิให้แสงพุ่งออกไปทางท้ายรถ โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย
(ฌ) โคมไฟภายในรถ แสงขาว ติดไว้ภายในห้องผู้ขับรถและห้องโดยสารให้แสงสว่างพอสมควร
(๒) แผ่นสะท้อนแสงสีแดง จำนวน ๒ แผ่น หรือ ๔ แผ่น มีลักษณะเป็นวงกลม สามเหลี่ยมด้านเท่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีที่รถที่มีความกว้างเกิน ๒.๑๐ เมตร แผ่นสะท้อนแสงที่มีลักษณะเป็นวงกลมต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร หรือหากมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องมีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร แล้วแต่กรณี ติดที่ด้านท้ายรถข้างซ้ายและข้างขวามีจำนวนเท่ากันทั้งสองข้าง สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๔๐ เมตร แผ่นริมสุดห่างจากด้านข้างริมสุดของท้ายรถ ไม่เกิน 40 เซนติเมตร สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร
(๓) เครื่องปัดน้ำฝน มีใบปัดน้ำฝนที่กระจกหน้ารถอย่างน้อย ๑ ใบ ที่ใช้การได้ดี และมีขนาดที่สามารถปัดน้ำฝนได้เนื้อที่กว้างพอที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพ การจราจรด้านหน้ารถได้อย่างชัดเจน
(๔) เครื่องมองหลัง ซึ่งเป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
(๕) ที่บังแดดสำหรับผู้ขับรถ
(๖) ห้ามล้อมือและห้ามล้อเท้า ที่ใช้การได้ดี
(๗) แตร ชนิดเสียงเดียว ที่ดังพอสมควร
(๘) ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง เฉพาะรถยนตร์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน
(๙) กันชน ทั้งกันชนหน้าและกันชนท้าย ที่มีสภาพมั่งคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้ ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อ จะมีเฉพาะกันชนท้ายเพียงอย่างเดียวก็ได้ และในกรณีที่เป็นรถยนตร์บรรทุกส่วนบุคคลหรือรถยนตร์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน จะมีเฉพาะกันชนหน้าแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้
(๑๐) เครื่องวัดความเร็ว ที่ใช้การได้ดี และต้องมีแสงสว่างทำให้สามารถอ่านความเร็วของรถในเวลากลางคืนได้
(๑๑) แผ่นบังโคลน เฉพาะรถยนตร์นั่งหรือรถยนตร์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน ๑,๖๐๐ กิโลกรัม
(๑๒) เข็มขัดนิรภัย ตามประเภทของรถยนตร์และตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ข้อ ๓ รถยนตร์อาจมีเครื่องอุปกรณ์อื่นสำหรับรถได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟดังต่อไปนี้ ถ้าจะนำมาใช้ต้องมีกำลังไฟและความส่องสว่าง ตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวน ๒ ดวง มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ (๑)(ก)
(ข) โคมไฟข้างรถ แสงเหลือง แต่ถ้าแสงสว่างส่องออกไปทางท้ายรถหรือเป็นโคมไฟดวงท้ายจะให้แสงแดงก็ได้ ติดอยู่สูงจากผิวทาง ไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร ที่ข้างซ้ายและข้างขวารถตอนหน้าแห่งละ ๑ ดวง หรือตอนท้ายแห่งละ ๑ ดวง
ในกรณีที่รถมีความยาวเกิน ๗.๕๐ เมตร จะมีโคมไฟข้างรถที่กึ่งกลางระหว่างโคมไฟข้างรถดวงหน้าและดวงท้ายอีกแห่งละ ๑ ดวง ก็ได้
โคม ไฟข้างซ้ายและข้างขวาต้องอยู่ในระดับและตำแหน่งเดียวกันและให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟข้างรถจะให้แสงสว่างได้ เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น
(ค) โคมไฟเลี้ยวข้างรถ ชนิดใช้ไฟกระพริบ แสงเหลือง ติดอยู่สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร
ที่ข้างซ้ายและข้างขวารถ ตอนหน้าแห่งละ ๑ ดวง หรือตอนท้ายแห่งละ ๑ ดวง ในกรณีที่รถมีความยาวเกิน ๗.๕๐ เมตร จะมีโคมไฟเลี้ยว
ข้างรถที่กึ่งกลางระหว่างโคมไฟเลี้ยวข้างรถดวงหน้าและดวงท้ายอีกแห่งละ ๑ ดวง ก็ได้ โคมไฟข้างซ้ายและข้างขวาต้องอยู่ในระดับ
และตำแหน่งเดียวกัน โคมไฟเลี้ยวข้างรถทุกดวงต้องกระพริบพร้อมกับโคมไฟเลี้ยวที่ด้านหน้าและด้านท้ายที่อยู่ข้างเดียวกัน
(ง) โคมไฟตัดหมอก แสงขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวน ไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่หน้ารถสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่อยู่สูงไม่เกินโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ถ้ามี ๑ ดวง ให้ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ แต่ถ้ามี ๒ ดวง ให้ติดในระดับเดียวกัน และห่างจากแนวกึ่งกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟทุกดวงจะต้องให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟตัดหมอกจะให้แสงสว่างได้ เฉพาะในขณะที่โคมไฟแสดงความกว้างของรถและโคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น ศูนย์รวมแสงตั้งอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า ๒ องศา หรือ ๐.๒๐ เมตร ในระยะ ๗.๕๐ เมตร และไม่เฉไปทางขวา
(จ) โคมไฟหยุด แสงแดง จำนวน ๑ ดวง ติดอยู่ในแนวกึ่งกลางท้ายรถ และในตำแหน่งที่ให้แสงสว่างออกไปทางท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร โคมไฟหยุดจะให้แสงสว่างเฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท้าเท่านั้น และแสงต้องสม่ำเสมอคงที่ไม่กระพริบ
(๒) โคมไฟอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อนี้และข้อ ๒ (๑) ถ้าจะนำมาใช้ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗
จรัส พั้วช่วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
...
หมาย เหต ุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีและวิศวกรรมยานยนตร์ได้มีวิวัฒนาการและความเจริญ ก้าวหน้าเป็นอันมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมวิวัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าดังกล่าว และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดอันตรายแก่ผู้ใช้รถ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ก็เลยมาถามเพื่อนๆพี่ๆน้องๆว่าติดยี่ห้อไหนแล้วมันจะไม่ผิดบ้างครับ

(ไม่รู้จริงๆ)ครับ