ตอบ
clubcool


ชื่อเล่น: แจ๊ค

เข้าร่วม: 17 ตุลา 2008
ตอบ: 21

น้องใหม่
น้องใหม่

ได้รับคำขอบคุณ: 87
ให้คำขอบคุณ: 24

ที่อยู่: bkk
ปี: 2002
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
เสาร์, 8 พฤษภาคม 2010 13:48 - ตัวเลข ค่าต่างๆ บนขวดน้ำมันเครื่อง
มาทำความรู้จักตัวเลขบนขอดน้ำมันเครื่อง ก่อนจะเลิกใส่รถเรา
เรามาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของน้ำมันเครื่อง ชนิดต่างๆของน้ำมันเครื่อง หน้าที่ต่างๆ ต่อไปจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญคือการเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง
ให้เหมาะกับรถของเรา มาเรียนรู้ว่าของเล่นเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องนั้นมีอะไรกันบ้าง
การ เลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์ แต่ละประเภท แต่ละภูมิอากาศ และสภาพของเครื่องยนต์มีปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อดังนี้
1.ค่าความหนืด หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่อง
2.เกรดของน้ำมันเครื่อง
3.มาตรฐานของ น้ำมันเครื่อง

ค่าความหนืด Viscosity
การวัดความหนืดของน้ำมัน เครื่อง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล จึงมีหลายๆสถาบันวิจัย วัดค่าความหนืด
และทำออกมาเป็นมาตรฐานตามชื่อเรียกของสถาบันต่างๆ เช่น
API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
US MILITARY CLASSIFICATION - สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา
ASTM - AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS
CCMC - COMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION

เบอร์น้ำมันเครื่อง (เบอร์ 0 – 60)
การวัดค่าความ หนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า
เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (Number)เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด
ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก
ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ

ค่า W คืออะไร
น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข
โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส
โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

เกรดของน้ำมันเครื่อง Single Grad & Multi Grad
น้ำมัน เครื่องในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 เกรดด้วยกันคือ
1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว Single Grad หรือ Mono Grad คือ
น้ำมันเครื่องที่มีความค่าความหนืดเหมาะสมกับเฉพาะอุณหภูมิหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะอุณหภูมิสูง พออุณหภูมิเริ่มต่ำลง ความหนืดก็จะเพิ่มขึ้น
รับรองโดยสถาบันเดียวคือ SAE เช่นน้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 50 หรือ SAE 40 ปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีขายอยู่ แต่หาซื้อได้น้อยมาก
เหมาะกับเครื่องยนต์รอบต่ำ เครื่องยนต์รุ่นเก่าๆ และประเทศเขตร้อน
2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม Multi Grad น้ำมันเครื่องมัลติเกรด เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่นในอุณหภูมิสูง จะมีความใส
พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เรียกได้ว่ามีช่วงอุรหภุมิการใช้งานที่กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ทุกอุณหภูมิ ซึ่งจะระบุเป็น 2 ตัวเลข
มีอักษร W เป็นตัวคั่นกลางเช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ปัจจุบันน้ำมันเครื่องแบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้
และมีขายในท้องตลาดทั่วๆไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่ และประเทศในเขตหนาวเย็น และยังสามารถใช้งานได้ทุกสภาวะอากาศ


มาตรฐาน API
น้ำมัน เครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะมีอักษรนำหน้าว่า S (Service Stations Classifications)
เริ่มจาก SA เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องรุ่นเก่าๆสมัยแรกๆ
ต่อมาได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนมาตรฐานให้สูงมากขึ้นตามเทคโนโลยี่จนปัจจุบัน SM ถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุด


คำอธิบาย
SAE 10W-40 = มาตรฐานความข้นใสจากสถาบัน SAE เบอร์ 40 ค่าต้านทานความเป็นไขที่ 10W หรือ -20 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ารับรองมาตรฐานจากสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM และดีเซลในระดับ CF
PREMIUM GRADE SEMI – Synthetic = เป็นน้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ เกรดดีเยี่ยม
FOR NGV, LPG & GASOLINE = ใช้ได้กับเครื่องยนต์ แบบใช้แก๊ส NGV หรือ LPG และเครื่องยนต์เบนซิลทั่วไป

กำหนดการเปลี่ยนถ่ายของ น้ำมันเครื่องที่ปลอดภัย
น้ำมันเครื่องธรรมดา เกรด SA – SC / CA – CE
จะ มีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 3,000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 5,000 กิโลเมตร
น้ำมัน เครื่องกึ่งสังเคราะห์ เกรด SG – SM / CF4 – CG4
จะมีกำหนดการเปลี่ยน ถ่ายที่ 5,000 กิโลเมตร ถึง 1,0000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 15,000 กิโลเมตร
น้ำมัน เครื่องธรรมดา และกึ่งสังเคราะห์ + หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเกรดสูง
น้ำมัน เครื่องที่ผสมหัวเชื้อ อาจมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน อายุน้ำมันเครื่องจะเพิ่มจาก 5,000 กิโลเมตร ได้เป็นกว่า 10,000 กิโลเมตร
หรือถ้าเป็นกึ่งสังเคราะห์จะเพิ่มอายุการเปลี่ยนถ่าย ที่ 10,000 กิโลเมตร เป็นได้กว่า 20,000 กิโลเมตร
แต่ด้วยอายุของไส้กรอง จึงมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนถ่ายที่ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร
น้ำมัน เครื่องสังเคราะห์ เกรด SJ - SM / CH4 - CI4
จริงแล้วน้ำมันเครื่อง สังเคราะห์จะมีอายุการใช้งานยาวนานนับแสนกิโลเมตร
แต่อายุการใช้งานของไส้กรองน้ำมันเครื่องแบบมาตรฐานทั่วๆไป จะอยู่ได้ราว 15,000 กิโลเมตร ถึง 20,000 กิโลเมตร
จึงทำให้กำหนดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ควรอยู่ที่ 10,000 กิโลเมตร ถึง 20,000 กิโลเมตร


ขอขอบ คุณบทความจาก : webmaster@thaispeedcar.com
ได้รับคำขอบคุณจาก: ae  etabb  ton_dezember  kittidech  P.TER.357  toshihero  Keng01  PongpanG  xenshiro  Surayut  pairach_c  nato  Nung_Sodapop  kloster  artmomo  tonTON  joate39  Tingly_drums  yo555  kim_possible  EsNon  Armdevil  KinG_A 
supra200


ชื่อเล่น: บอย

เข้าร่วม: 04 สิงหา 2011
ตอบ: 238

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 509
ให้คำขอบคุณ: 70

ที่อยู่: เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 14 มิถุนา 2013 21:59 - ว่าด้วยเรื่อง "น้ำมันเครื่องครับ" เลขข้างกระป๋อง มันคือะไรหว่าาา มีคำตอบคับ
  เรื่องการดูเกรดน้ำมันเครื่อง
ค่า W คืออะไร 
W ย่อมาจาก Winter ซึ่งน้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาวจะมีการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส  เช่น
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
ซึ่งเราไม่ต้องดูก็ได้ครับ เพราะบ้านเรามันไม่ได้หนาวจนถึงอุณหภูมิติดลบขนาดนั้น

    ตัวเลขข้างหลังคือ เบอร์น้ำมันเครื่อง 0-60
การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ

     ผมเคยคุยกับช่างทำซุปเปอร์คาร์ ท่านหนึ่ง  แนะนำหลักง่ายๆไว้ว่า  ถ้ารถใหม่หรือเพิ่งออกใหม่ ให้ใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดเบอร์30 จะดีมากเพราะเครื่องยังฟิตอยู่หรือหากหาไม่ได้ก็ใช้เบอร์40 เพราะถ้าใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากๆ จะทำให้เครื่องตื้อ วิ่งไม่ค่อยดี   ..ในทางกลับกันถ้ารถมีอายุแล้ว ซัก5 ปีขึ้นไป ให้ใช้เบอร์40-50 เพราะพวกชุดลูกสูบอะไรต่างๆมันเริ่มจะหลวมแล้วต้องใช้น้ำมันที่มีค่าความหนืดมากเพื่อไปทดแทนช่องว่างนั้น  แต่เบอร์50ค่อนข้างจะหายาก ส่วนใหญ่จึงใช้เบอร์40

     น้ำมันเครื่องจะเปลี่ยนตอนไหนก็ได้ครับ  แล้วแต่คามต้องการของเรา  ไม่จำเป็นจะต้องรอให้ครบตามระยะตรวจเช็คหรอกครับ
ถ้ามีทรัพย์พอที่จะดูแลรถของเรา ผมสนับสนุนครับ  ใช้น้ำมันเครื่องดีๆไปเถอะ อาจจะราคาแพงกว่าน้ำมันทั่วๆไป แต่ผลระยะยาวที่ได้มามันคุ้มครับ
     บางท่านอาจจะเข้าใจว่า..ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกๆก็ได้ แต่เปลี่ยนบ่อยๆ  นั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดครับ  การที่จะรักษาเครื่องยนต์ให้ดีนั้นต้องทำตั้งแต่แรกเริ่มเพราะเครื่องยนต์เราต้องการ การปกป้องตั้งแต่แรกเริ่มทำงานครับ


cr.http://www.msxthai.com/board/index.php?topic=650.0
ได้รับคำขอบคุณจาก: Armdevil 
Armdevil


ชื่อเล่น: อาร์ม นคร

เข้าร่วม: 19 เมษา 2012
ตอบ: 950

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 643
ให้คำขอบคุณ: 567

ที่อยู่: นครศรีธรรมราช
ปี: 2001
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
ศุกร์, 14 มิถุนา 2013 22:44 - ตัวเลข ค่าต่างๆ บนขวดน้ำมันเครื่อง
..
civic_ubon


ชื่อเล่น: ที

เข้าร่วม: 11 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1147

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1341
ให้คำขอบคุณ: 1307

ที่อยู่: อุบลราชธานี
ปี: 2002
สี: เงิน ซาติน (เมทัลลิก) (NH-623M)
ศุกร์, 14 มิถุนา 2013 22:48 - ตัวเลข ค่าต่างๆ บนขวดน้ำมันเครื่อง
'''
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2024 Civic ES Group. All rights reserved.