ตอบ
horus


ชื่อเล่น: ต๋อย

เข้าร่วม: 18 เมษา 2013
ตอบ: 1272

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1777
ให้คำขอบคุณ: 1065

ที่อยู่: รามอินทรา / นนทบุรี / ES เมืองทอง
ปี: 2002
สี: ม่วง วินเทจพลัม (RP-32P)
จันทร์, 10 มิถุนา 2013 22:09 - ประกันภัย...ความลับที่ประกันภัยไม่ยอมบอกคุณ แต่..คุณต้องรู้..
พอดีเปิดไปเจอมาเลยเอาแชร์ให้ชาว ES ทราบกันซะหน่อย (ถ้าซ้ำก็ขออภัย) 

บ่อยครั้งที่ผู้เอาประกันซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วยความเชื่อและเครดิต มากกว่าที่จะตั้งใจอ่านสัญญาในกรมธรรม์ซึ่งเต็มไปด้วยภาษากฏหมายเข้าใจยาก  ด้วยเหตุนี้ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ที่หลายคนยังไม่ทราบจึงยังคง เป็นปริศนาต่อไป การเข้าใจกรมธรรม์แบบง่ายๆ จึงน่าจะสามารถช่วยให้คุณรักษาสิทธิประโยชน์ของคุณไว้ได้อย่างเต็มที่

10 เรื่อง "ต้อง" รู้เกี่ยวกับประกันภัย

          1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะมีผลทันทีที่ผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันภัยให้ กับบริษัท (รวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วย) ดังนั้นแม้การซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องก็จะปฏิเสธความ รับผิดชอบมิได้

          2. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถซ่อมกลับคืนได้ บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

          3. ค่าแอกเซ็ปต์ หรือค่าใช้จ่ายส่วนแรกนั้น ในกรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท

          4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินตามราคาประเมินเพื่อนำไปจัดหาเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

          5. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

          6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงเหรอ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

          7. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อม เสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อม

          8. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครม เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไป ทำการตกลง

          9. อย่าคิดหนีในกรณีที่ขับรถชนคน ให้ช่วยเหลือคนเจ็บให้เต็มที่ และถ่ายรูปหลักฐานที่เกิดเหตุไว้ต่อสู้คดี เพราะศาลจะพิจารณาจากความมีน้ำใจที่คุณช่วยเหลือผู้อื่น บางทีโทษทางอาญาอาจเหลือแค่การรอลงอาญา และตกลงค่าเสียหายกันตามสมควรแต่ถ้าคุณหนีจะติดคุกทันที

          10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150mg% หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่

http://www.clipmass.com/story/66803
ได้รับคำขอบคุณจาก: hikaru_kung  yorkydog  สมชาย  Jacky_ES04.5  Memory11  mayuct  Phetcharat  thammarong007  phichetza  pja  csirinant 
สมชาย


เข้าร่วม: 14 มกรา 2013
ตอบ: 5916

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 4245
ให้คำขอบคุณ: 7209

ที่อยู่: อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
ปี: 2001
สี: แดง รอยัล รูบี้ (มุก) (R-522P)
จันทร์, 10 มิถุนา 2013 22:33 - ประกันภัย...ความลับที่ประกันภัยไม่ยอมบอกคุณ แต่..คุณต้องรู้..
...
ได้รับคำขอบคุณจาก: horus 
time


ชื่อเล่น: เก่ง

เข้าร่วม: 22 ตุลา 2012
ตอบ: 226

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 149
ให้คำขอบคุณ: 141

ที่อยู่: 299 ม.7 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล
ปี: 2002
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
จันทร์, 10 มิถุนา 2013 22:41 - ประกันภัย...ความลับที่ประกันภัยไม่ยอมบอกคุณ แต่..คุณต้องรู้..
horus พิมพ์ว่า:
พอดีเปิดไปเจอมาเลยเอาแชร์ให้ชาว ES ทราบกันซะหน่อย (ถ้าซ้ำก็ขออภัย) 

บ่อยครั้งที่ผู้เอาประกันซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วยความเชื่อและเครดิต มากกว่าที่จะตั้งใจอ่านสัญญาในกรมธรรม์ซึ่งเต็มไปด้วยภาษากฏหมายเข้าใจยาก  ด้วยเหตุนี้ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ที่หลายคนยังไม่ทราบจึงยังคง เป็นปริศนาต่อไป การเข้าใจกรมธรรม์แบบง่ายๆ จึงน่าจะสามารถช่วยให้คุณรักษาสิทธิประโยชน์ของคุณไว้ได้อย่างเต็มที่

10 เรื่อง "ต้อง" รู้เกี่ยวกับประกันภัย

          1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะมีผลทันทีที่ผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันภัยให้ กับบริษัท (รวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วย) ดังนั้นแม้การซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องก็จะปฏิเสธความ รับผิดชอบมิได้

          2. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถซ่อมกลับคืนได้ บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

          3. ค่าแอกเซ็ปต์ หรือค่าใช้จ่ายส่วนแรกนั้น ในกรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท

          4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินตามราคาประเมินเพื่อนำไปจัดหาเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

          5. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

          6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงเหรอ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

          7. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อม เสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อม

          8. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครม เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไป ทำการตกลง

          9. อย่าคิดหนีในกรณีที่ขับรถชนคน ให้ช่วยเหลือคนเจ็บให้เต็มที่ และถ่ายรูปหลักฐานที่เกิดเหตุไว้ต่อสู้คดี เพราะศาลจะพิจารณาจากความมีน้ำใจที่คุณช่วยเหลือผู้อื่น บางทีโทษทางอาญาอาจเหลือแค่การรอลงอาญา และตกลงค่าเสียหายกันตามสมควรแต่ถ้าคุณหนีจะติดคุกทันที

          10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150mg% หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่

http://www.clipmass.com/story/66803




ขอบคุณมากครับ ท่าน
ได้รับคำขอบคุณจาก: horus 
fasang.Mr


ชื่อเล่น: บี

เข้าร่วม: 23 มีนา 2010
ตอบ: 2101

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1764
ให้คำขอบคุณ: 2323

ที่อยู่: นนทบุรี-ประจวบฯ-พะเยา
ปี: 2004
สี: ดำ ไนท์ฮอว์ก (B-92P)
จันทร์, 10 มิถุนา 2013 22:44 - ประกันภัย...ความลับที่ประกันภัยไม่ยอมบอกคุณ แต่..คุณต้องรู้..
Thank. Ja
ได้รับคำขอบคุณจาก: horus 
Aclub


ชื่อเล่น: เอ

เข้าร่วม: 28 มีนา 2013
ตอบ: 155

มือใหม่หัดขับ
มือใหม่หัดขับ

ได้รับคำขอบคุณ: 141
ให้คำขอบคุณ: 31

ที่อยู่: Bkk
ปี: 2002
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
อังคาร, 11 มิถุนา 2013 16:48 - ประกันภัย...ความลับที่ประกันภัยไม่ยอมบอกคุณ แต่..คุณต้องรู้..
บวกให้ครับ

อีกนิดหน่อยที่ เราๆผู้เอาประกันภัยไม่ค่อยจะสนใจ และไม่เรียกร้องสิทธิ์ จนเสียสิทธิ์

การถูกผู้อื่นเฉียวชน ชนิดผิวเผิน หากได้ใบเคลมมาแต่บริษัทประกันฯจ่ายไม่เต็ม อาจจะด้วยมีร่องรอยเดิมหรืออะไรก็แล้วแต่

เจ้าของรถมักจะไม่ได้นำรถเข้าซ่อมด้วยเหตุผล
1.ร่องรอยดังกล่าว ไม่ได้เพิ่มความเสียหายจน กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน
2.ต้องจ่ายเองอีกครุึ่งนึง
3.ไม่มีเวลา เนื่องจากต้องนำรถไปจอดเพื่อซ่อมแผลดังกล่าว

ต้องบอกว่าหากได้ใบเคลมมาแล้ว มีเหตุผลต่างๆดังที่ผมเขียนไว้ จนท่านยอมเสียสิทธิ์
มันสามารถแก้ไขได้ง่ายๆโดยการแจ้งเคลมค่าซ่อมเป็นเงินสดเข้าบัญชีเราไว้ก่อนได้เลยครับ
จะซ่อม หรือไม่ซ่อม หรือจะรอเวลาว่างค่อยไปทำ ก็ได้ครับ เพราะรถคันผิดเค้าก็เสียสิทธิ์ หรืออาจจะเสียค่าเอ็กเซฟให้บริษัทฯประกันของเขาไปแล้ว
บริษัทฯประกันเค้าจะไม่มาจี้ให้คุณไปแจ้งเคลมหรือเอารถเข้าซ่อมหรอกครับ เกินเวลา 1 ปี คุณก็เสียสิทธิ์ไปงั้นๆ

ขั้นตอนง่ายๆ ถ่ายรูปแผล/นำเอกสารยืนยันตัวตน,รถ/ใบเคลมที่เซอร์เวย์เค้าออกให้/หน้าบัญชีธนาคาร
ติดต่อที่สำนักงานประกันภัยบริษัทฯนั้นๆโดยจะประเมินค่าซ่อม และจ่ายเฉพาะส่วนที่เค้ารับผิดชอบมาตามจำนวน ทางบัญชีธนาคารของเราครับ ไม่ต้องนำรถยนต์ไปก็ได้ แต่หากมูลค่าสูงต้องนำไปตีราคาที่หน้างาน ซึ่งวิธีเคลมเป็นเงินนี้จะถูกกดราคาซ่อมหน่อย แต่ก็ดีกว่าเสียสิทธิ์ไปปล่าวๆ

อีกเรื่องคือ พวกประกันภัยชั้น1 ทั้งหลาย 
รถยนต์เบียดขอบฟุตบาท ก็เคลมได้นะจ๊ะ ยางรถยนต์จ่ายไม่เต็มอยู่แล้ว แต่ก็ดีกว่าเสียสิทธิ์ไป

2เรื่องนี้ ได้ยินมาบ่อยๆนะครับ 
ได้รับคำขอบคุณจาก: Oil_liO  pja  csirinant 
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2024 Civic ES Group. All rights reserved.