ตอบ
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 15:27 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
พบว่าบ่อยครั้งที่ช่างหลายๆแห่ง ไม่สามารถที่จะตรวจซ่อมวิเคราะห์ปัญหาเรื่องไฟจุดระเบิด ไม่มีจ่ายให้กับหัวเทียน ในระบบเครื่องยนต์ที่ควบคุม การทำงานเครื่องยนต์ด้วยระบบ ECU ในเครื่องยนต์ยุคปัจจุบันนี้ ทำให้การตรวจซ่อมวิเคราะห์หาจุดเสียของอุปกรณ์ในระบบวงจรจุดระเบิดไม่ตรงประเด็น เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนอะไหล่ไม่ตรงจุดเสีย ลองผิดลองถูกว่าอาการที่เสียนั้นมันเกิดที่ส่วนใด ช่างบางคนที่ไม่ทราบเรื่องการทำงานของวงจรจุดระเบิด ที่สร้างไฟโวลท์เต็จสูงให้กับหัวเทียน มันทำงานอย่างไร ก็จะใช้วิธีเดาว่ามันน่าจะเป็นที่ตัวนั้นตัวนี้ เปลี่ยนไปแล้วก็เหมือนเดิม แก้ไขไม่ได้ เปลี่ยนแล้วหากอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแล้วยังไม่สามารถแก้ไขได้ หากไม่คิดเงินกับเจ้าของรถก็ไม่วากัน แต่นี้มันกลับตรงกันข้าม ท่านเจ้าของรถต้องเสียเงินกับค่าอะไหล่ที่เปลี่ยนแล้วยังแก้ปัญหาเดิมไม่ได้ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับท่านเจ้าของรถ เพราะของเดิมมันไม่เสีย แต่ช่างใช้วิธีที่ คาดว่า คิดว่าและน่าจะเป็น ทำการแก้ไข ( ขออภัยช่างที่ทรงความรู้และมีประสบการณ์ ด้วยมิได้มีเจตนากล่าวถึงท่าน เพียงกล่าวถึงช่างบางคนที่เป็นแบบที่กล่าว)


นอกจากจะทำให้ท่านเจ้าของรถ เสียค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรจะเสียแล้ว ยังสร้าปัญหาอื่นๆตามมา เพราะบางครั้งช่างเหล่านั้น
เมื่อแก้ไขไม่ได้ ก็เล่นไปแปลงเข้ากับระบบที่ตัวเองเคยทำและซ่อมกับเครื่องยนต์แบบเก่าๆ ที่ไม่ได้ควบคุมการทำงานเครื่องยนต์ด้วยระบบอีเลคโทรนิคส์ ECU ทำให้ระบบเดิมที่เขาออกแบบไว้ ทำงานไม่ตรงกับระบบการควบคุมด้วยสมองกล ECU ทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังมากมาย ก็ขอกล่าวเป็นบทนำของเรื่องพอเป็นสังเขปก็แล้วกัน เดี๋ยวเนื้อหาจะยืดยาว จนเพื่อนๆสมาชิกขี้เกียจอ่าน ก็ขอเข้าประเด็นของเรื่องก็แล้วกัน


ก่อนอื่นต้องขอกล่าวถึงการทำงานของวงจรไฟจุดระเบิดในเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด ที่ควบคุมการทำงานด้วย สมองกล ECU ให้ทราบพอเคร่าๆดังนี้ ในการทำงานของวงจรจุดระเบิด จะเริ่มต้นเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท ให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน ซึ่งเมื่อเพลาข้อเหวี่ยงหมุน ก็จะทำให้ดันก้านสูบแต่ละสูบพาลูกสูบเคลื่อนที่ไปสู่จุดศูนย์ตายบน TDC แต่เนื่องด้วยการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง จะถูกกำหนดองศาการหมุนเอาไว้ว่า ที่หนึ่งรอบเพลาข้อเหวี่ยงจะมีค่าเท่ากับ 360 องศา
และหากเป็นเครื่องยนต์ที่มีสี่สูบ การทำงานของแต่ละสูบจะห่างกันเท่ากับ 90 องศา งั้นตั้งแต่สูบที่ 1-4 ก็จะเป็น 90
180 270 360 องศา แต่เครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อและบริษัท จะกำหนดการออกแบบของเพลาข้อเหวี่ยง ให้จัดลำดับการจุดระเบิด ที่ลูกสูบไหนก่อนหลัง เช่น 1 3 4 2 นั้นหมายความว่า ลูกสูบที่ 1 ทำงานที่ 90 ลูกสูบที่ 3 ทำงานที่ 180 ลูกสูบที่ 4 ทำงานที่ 270 และลูกสูบที่ 2 ทำงานที่ 360 องศา แต่ละสูบก่อนที่ลูกสูบมันจะเคลื่อนที่ไปถึงองศาตามที่กล่าว เขาจะกำหนดมุมองศาในการจุดระเบิดเอาไว้ เช่นลูกสูบที่ 1 ก่อนที่มันจะเคลื่อนที่ถึงจุด 90 องศา เขาจะกำหนดไว้ว่า เมื่อลูกสูบเคลื่อนไปถุงมุมองศา ที่ 80-85 จะกำหนดให้มีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน หากเคลื่อนไปถึงมุม 80 องศา มุมองศาการจุดระเบิดเท่ากับ 10 องศา และเมื่อเคลื่อนไปที่ 85 องศา มุมองศาจุดระเบิดก็จะตั้งไว้ที่ 5 องศา


แต่มุมองศาที่จุดระเบิดนี้ เขาจะเอาเรื่องปริมาตรกำลังอัดภายในกระบอกสูบเป็นตัวกำหนด เช่นเครื่องยนต์ที่มีกำลังอักในกระบอกสูบ เป็น 9/1 หรือ 10/1 หมายความว่าในกระบอกสูบนั้นเมื่อลูกสูบดูดเอาอากาศเข้าในกระบอกสูบจนเต็มได้เท่ากับ 10 ส่วน งั้นเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่อัดอากาศไปจนได้ 9 ส่วน ก็กำหนดมุมองศาการจุดระเบิดไว้ที่ตำแหน่งนี้ การที่ลูกสูบเคลื่อนที่ได้ 9 ส่วนนี้ เขาจะทราบว่ามันเป็นมุมองศาที่เท่าใด ก็โดยการเอาตัว sensor มาเป็นตัวทำหน้าตรวจจับการเคลื่อนที่ของลูกสูบหรือเพลาข้อเหวี่ยง


เครื่องยนต์บางแบบเช่น HONDA จะใช้จับมุมองศาการเคลื่อนที่ของลูกสูบ เรียก TDC sensor ในเครื่องยนต์บางแบบ
เช่น MAZDA จะใช้จับมุมการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยง เรียก crankshaft sensor
เมื่อทราบหลักการกำหนดมุมองศาการจุดระเบิดแล้ว ต่อไปก็จะกล่าวถึการทำงานของระบบวงจรจุดระเบิดกันว่ามันทำงานอย่างไร เมื่อเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ แล้วทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน เจ้าตัว TDC หรือ crankshaft sensor มันก็จะเริ่มจับมุมองศาการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยงหรือ ลูกสูบ แล้วสร้างสัญญาณพัลส์โวลเต็จไปให้ ECU หลังจากที่ ECU ได้รับสัญญาณนี้แล้วมันก็จะสร้างสัญญาณ IGT ซึ่งเป็นสัญาณการจุดระเบิด ส่งไปให้วงจรหรือโมดูดช่วยจุดระเบิดทำงานสร้างไฟโวลเต็จสูงให้กับหัวเทียน


ในวงจรช่วยจุระเบิดนี้จะประกอบไปด้วย switching power Transistor IC logic Ignition coil หากเครื่องยนต์ที่ยังใช้จานจ่าย ก็จะมี Transistor Ignition coil หากเป้นเครื่องยนต์ที่ใช้ direct ciol ทั้งสี่สูบก็จะมี IC Log มาทำหน้าที่จัดลำดับการจุดระเบิด แต่ละสูบ กับสร้างสัญญาณพัลส์สำหรับวัดรอบเครื่องยนต์ สำหรับโมดูลวงจรช่วยจุดระเบิดนี้ หลังจากที่มันได้รับสัญญาณ IGT จากกล่อง ECU แล้ว ที่ตัวทรานซิสเตอร์ก็จะทำหน้าที่เหมือนการทำงานของหน้าทองขาว ในจานจ่ายของเครื่องยนต์ในระบบคาร์บูเรเตอร์รุ่นเก่าๆ คือทำหน้าที่ตัดต่อกระแสไฟให้กับขดลวดไพรมารี่ของตัว Ignition coil ลงกราวด์ เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำของเส้นแรงแม่เหล็ก ไปตัดกับขวดลวด ทางด้าน secondaryของตัว Ignitio coil สร้างกระแสไฟโวลเต็จสูงให้กับหัวเทียน กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นการทำงานของวงจรไฟจุดระเบิดให้กับหัวเทียนของเครื่องยนต์


เมื่อเราทราบหลักการทำงานของมันแล้ว มันก็ง่ายกับการแก้ปัญหาในการหาจุดเสียที่เกิดขึ้นในวงจรไฟจุดระเบิด ไม่ว่าจะเป็นรถต่างค่ายต่างยี่ห้อก็มีหลักการเดียวกัน ดังจะยกตัวอย่างการตรวจซ้อมแก้ไขเรื่องวงจรไฟจุดระเบิด ให้กับท่านเจ้าของรถยนต์ MAZDALANTIS V6 ซึ่งมีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ เมื่อขับรถไปแล้ว เครื่องยนต์ดับ กลางอากาศ จะสตาร์ทอย่างไรก็ติด ท่านจ้าของรถบอกว่าหลังจากที่ไปตามช่างจากอู่กลับมา สตาร์ทเครื่องมันก็ติดปกติ แต่พอขับกลับมาได้ไม่ถึงชั่วโมง เครื่องยนต์ก็ดับอีกจึงนำรถไปให้ที่อู่ซ่อม ช่างลงความเห็นว่า จานจ่ายเสียไม่มีไฟสูงจ่ายให้กับหัวเทียน


หลังจากช่างได้เปลี่ยนจานจ่ายแล้ว ก็สตาร์ทติดได้เหมือนเดิม หลังจากที่ท่านเจ้าของรถขับรถออกจากอู่กลับบ้าน ยังไม่ถึงครี่งทางเครื่องยนต์ก็ดับกลางอากาศอีก ก็เรียกช่างอู่เดิมมาลากกลับไปแก้ไขต่อ ช่างเปลี่ยนสายหัวเทียน หัวเทียน สตาร์ทเครื่องยนต์ได้ปกติ ท่านเจ้าของรถก็ขับรถกลับถึงบ้าน พอรุ่งเช้าขับรถไปทำงานได้ครึ่งทางเครื่องยนต์ก็ดับเหมือนเดิม ท่านเจ้าของรถตัดสินใจไม่เข้าไปที่อู่เดิม หาอู่ที่ใหม่ หลังจากลากรถถึงอู่ ช่างก็มาตรวจเช็ค ลงความเห็นอีกว่า จานจ่ายเสียเหมือนคราวแรก ท่านเจ้าของรถก็บอกว่าเพิ่งเปลี่ยนมาเมื่อสองวันนีเอง ช่างบอกว่ามันชอร์ทอีก ตงลงท่านเจ้าของรถก็ไปซื้อจานจ่ายมาเปลี่ยนอีก หลังจากเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ก็สตาร์ทเครื่องยนต์ติด


ท่านเจ้าของรถก็ขับกลับบ้าน ออกจากอู่ขับไปซื้อของที่ห้างเซ้นทรัล ยังไม่ทันถึงห้างเครื่องยนต์ก็ดับอีก ท่านเจ้าของรถบอกว่า ไปสองอู่ก็จานจ่ายเสีย ผมหมดเงินค่าซื้อของซื้อจานจ่ายสองลูก รวมค่าซ่อมหมดไปหมื่นกว่าบาทแล้ว รถยังแก้ปัญหาไม่ได้ บังเอิญเขารู้จักเพื่อนที่อยู่แถวบ้านผม แนะนำให้ลากรถเอามาจอดให้ผมซ่อมที่บ้าน นี้เป็นเรื่องราวที่ผมได้มีโอกาสตรวจซ่อมแก้ไข โดยใช้เครื่องมือทางอีเลคโททรนิคส์เข้า Digital oscilloscope มาวิเคราะห์ในการแก้ไขตรวจซ่อม
หลังจากที่ผมได้รับทราบข้อมูลตามที่เล่าให้ฟัง ก็ลงมือทำการตรวจเช็คหาสาเหตุ ด้วย Digital oscilloscope ก็เรื่มต้นเช็คตรวจวัดสัญญาณ ของตัว crankshaft sensor ตรวจจับวัดสัญญาณพัลส์ได้ waveform ดังรูปต่อไปนี้
วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope


วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris  tatam001  vic 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 15:33 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
รูปต่อไปนี้เป็นสัญญาณพัลส์  ที่ ECU  สร้างสัญญาณพัลศ์  IGT  หลังจากที่มันได้รัสัญญาณ  จาก crankshaft  sensorและส่งสัญญาณนี้ไปให้วงจรช่วยจุดระเบิด

 วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope

วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 15:41 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
รูปในขณะทำการตรวจวัดสัญญาณพัลส์  IGT  จากกล่อง ECU  ที่คอนโซลรถ

 วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 15:48 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ภาพนี้เป็นการวัดระยะเวลาการส่งสัญญาณพัลส์จุดระเบิด ในช่วงที่จะเกิดสัญญาณชุดต่อไปว่ามันห่างกันกี่ ไมโครเซ็ค

 วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 15:56 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ในภาพข้างบนนั้น เป็นการวัดสํญญาณพัลส์ IGT ที่ความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์  จะวัดได้ 18.40 ms ของการเกิดสัญญาณ จากจุดเริ่มต้นการเกิดค่าเวลาที่เกิดประกายไฟที่หัวเทียน  และจุดสิ้นสุดของการเกิดประกายไฟ


และรูปข่างล่างนี้  เป็นสัญญาณพัลส์ของหัวฉีดน้ำมัน   ที่ ECU generate  ขี้นมา หลังจากที่มันได้รับสัญญาณ  จากแคร้งชาร์ปเซ็นเซอร์

 วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 16:03 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
รูปข้างบนนี้  ความจริงแล้วสัญญาณมันกลับเฟสกัน   หัวลงล่าง  ล่างอยู่บน    บังเอิญผมไม่ได้ขยายค่าเวลาใก้ใีค่ามากขึ้น  จะได้เห็นการเกิดระบะเวลาการยกของหัวฉีด  ว่ามันยกนานกี่มิลลิเซ็ค    และรูข้างล่างนี้ เป็นการวัดค่าสัญญาณพัลส์โวลเต็จของหัวฉีดน้ำมัน


วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 16:11 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ตามภาพช้างบนนั้นเป็นวลเต็จแบบ พีคทูพีค ของสัญญาณพัลส์หัวฉีด ว่ามันมีกี่โวล ตามภาพเราวัดได้ 48V เพราะวัดเอาช่วงที่เวลาหัวฉีดหยุดทำงานหรือสุญญาณ off ทำให้เกิด โอเวอร์ชูทโวลเต็จในขดลวดของหัวฉีด จึงทำให้มีโวลสูง

และภาพข้างล่างนี้เป็นการวัดระยะเวลาห่างการทำงานของหัวฉีด ในการฉีดครั้งต่อไป


วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 16:22 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ตามภาพข้างบนนี้   เป็นการวัดระยะเวลาที่หัวฉีดทำการฉีดแต่ละครั้ง ที่เห็นเป็นความเร็วของรอบเดินเบา  หากรอบอัตราเร่งค่าเวลาที่เกิดขึ้นนี้  จะน้อยลง นั้่นก็คือเร็วขึ้น   

สำหรับรูปข้างล่างนี้  เป็นการวัดสัญญาณของหัวฉีดที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์  ที่สองพันรอบต่อนาที


วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope
 
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 16:30 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ในการจับสัญญาณพัลส์ของหัวฉีดนี้ ทำให้มีประโยขชน์มาก ในการวิเคราะห์เรื่องรอบเดินเบา ที่กล่าวไว้ว่า หากเปิดแอร์แล้ว ECU สั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันเพิ่มขึ้นเพื่อให้รอบเดินเบาไม่ตก คือรกษารอบเดินเบาเมื่อมีโหลด เราจะอ่านค่าระยะเวลาในการยกของหัวฉีดได้ ว่าจริงหรือไม่ รวมทั้งสัญญาณพัลส์จากเซ็นเซอรต่างๆ ในการคอนโทรลรอบเดินเบา ว่ามันทำงานหรือไม่ทำงาน นี้เป็นข้อดีของเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณด้วย Digital   oscilloscope

ช่วงนี้ขอยุติไว้แค่นี้ก่อน กำลังจะออกไปวิ่งออกกำลังกาย เดี่๊ยวคืนนี้ว่างแล้วจะมาโพสต่อในภาคสองครับ.....srithanon
ได้รับคำขอบคุณจาก: boy_nsm  Juris 
boy_nsm


ชื่อเล่น: บอย

เข้าร่วม: 02 สิงหา 2009
ตอบ: 356

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 522
ให้คำขอบคุณ: 374

ที่อยู่: บ้านบึง - ชลบุรี
ปี: 2003
สี: เงิน ซาติน (เมทัลลิก) (NH-623M)
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 17:10 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดี 
a_bug


ชื่อเล่น: กอล์ฟ

เข้าร่วม: 31 มีนา 2012
ตอบ: 486

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 757
ให้คำขอบคุณ: 107

ที่อยู่: พระประแดง สมุทรปราการ
ปี: 2004
สี: ขาว ทาฟเฟต้า (NH-578)
ศุกร์, 7 มิถุนา 2013 17:16 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ราคาถูกลงบ้างยังครับ สโคปจีนยุคนี้
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
เสาร์, 8 มิถุนา 2013 12:30 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
Digital oscilloscope  ในภาพราคาไม่แพง สองหมื่นห้าขึ้นไปถึงห้าหกหมื่อน  ขึ้นอยู่กับสเป็คของเครื่อง เป็น Dual beam 2 หรือ 4 CH
และย่านความถี่ที่ใช้    100-500 Mhz ก็ราคาสูง  แต่อย่างไรก็ตามในการใช้งานตรวจวิเคราะห์  ในระบบอีเลคโทรนิคส์ยานยนต์  ใช้ของของจีนก็ราคาไม่แพง  ตกหล่น ถูลากถูกัง ไม่เป็นไร   แถมยังเรียนแบบของยี่ห้อ trextronix ได้เต็มรูปแบบ    เราจึงได้ความก้าวหน้าของ oscilloscope   ที่เป็นเทคโนโลยี่ชั้นสูง    สดวกกับการใช้งาน และมีหลายรูปแบบของฟังชั้นให้ใช้  แถมประยุคให้ใช้งานร่มกับอุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์อื่นๆได้

สโคปที่ผลิตใน จีน เกาหลี  ใต้หวัน มันมีเกรดของอุปกรณ์ที่ผลิต  จะเอาแบบเกรด A หรือเกรด B , C  หรือจะเอาแบบราคาถูก และ แพง
เขาก็ผลิตให้ตามต้องการ   แต่ที่มาขายในเมืองไทย จะเป็นแบบ B  และ C   สำหรับเกรด A โดยมาก เจ้าของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในเครื่องมือวัดทางอีเลคโทรนิคส์  เช่น ยี่ห้อ Textronix  จะให้จีนเป็นผูผลิตในรูปของแบรนด์  Textronix   เดี๋ยวนี้ก็มีมาขายในเมืองไทยแล้ว  ราคาถูกมาก  สูงกว่ายี่ห้อที่ผลิตในจีนและใต้หวัน แค่หมื่นสองหมื่นบาทเท่านั้น     

สำหรับชุดที่ผมใช้งานนั้นมีสองระดับ  แบบต้องกาคุณภาพใรเรื่องการวิเคราะห์ก็ใช้ตามรูปข้างล่าง  และหากใช้งานระดับธรรมดากับรถยนต์  ก็ใช้ของจีนมันถูกดี  และก็ใช้งานได้ไมhแพ้ยีห้อต้นแบบ Textronix ครับ

 วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope


แก้ไขล่าสุดโดย เมื่อ อังคาร, 11 มิถุนา 2013 19:48, ทั้งหมด 2 ครั้ง (ดูทั้งหมด)
tatam001


เข้าร่วม: 03 ตุลา 2011
ตอบ: 240

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 171
ให้คำขอบคุณ: 14
จันทร์, 10 มิถุนา 2013 22:17 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ทำไมผมไม่เห็นรูปเลยครับ     อ๋อ  รูปมันใหญ่โหลดนานครับ รอดูต่อนะครับ
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
อังคาร, 11 มิถุนา 2013 00:05 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
หากมีเพื่อนสมาชิกสนใจก็จะมาต่อภาคสองให้ครับ  ยังไม่ได้บอกถึงแก้ไขได้อย่างไร  มันเป้นเรื่องที่น่าสนใจครับ..........srithanon
Bird_phetch


เข้าร่วม: 23 เมษา 2013
ตอบ: 535

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 543
ให้คำขอบคุณ: 61

ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
อังคาร, 11 มิถุนา 2013 08:27 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ขอบคุณครับ ก็ดูๆ นั่งมองๆ แล้วก้ยังงงบ้างอะไรบ้างครับ 



พอจะมีข้อมูลความต่างค่าเวลาการฉีดของหัวฉีด ระหว่าง น้ำมัน E10  E20 E85 มั้ยครับ
 กำลังสงสัยว่า ES เนี่ยสามารถปรับเปลี่ยนค่าได้เยอะสุดๆ แค่ไหน 
 
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
อังคาร, 11 มิถุนา 2013 10:46 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
เท่าที่ทำการวิเคราะห์ระบบการทำงานของ ชุดคิท E85  สามารถจะแวรี่ได้ 30-40 %  ที่จะให้หัวฉีดยกให้น้ำมันผ่านเข้าห้องสูบ  ที่ทดลองตรวจวัดสัญญาณพัลส์ของหัวฉีด  สำหรับ E85  จะอยู่ที่ 3-4%  จากค่าเวลาการยกหัวฉีดเดิม  สำหรับ E20 และ E10  นั้น ผมยังไม่เคยตรวจสอบ   แต่คาดว่าน่าจะมีค่าเวลบายกหัวฉีดน้อยกว่า  E85   เพราะว่าในน้ำมัน E20 มีเอทานอลแอลกอออล 20% มีน้ำมันเบ็นซิล 80%   ค่าพลังงานความร้อนของ เอทานอลของส่วน 20%  มีคาบเวลาการยกหัวฉีดน้อย คาดว่าไม่ถึง 2%  และ E10 ก้ประมาณไม่ถึงหนึ่งเปอรืเซ็นต์

ปกติน้ำมัน E20 , E10  ก็สามารถใช้งานได้ทันที่  มีผลต่อกำลังเครื่องยนต์น้อยมาก   บางท่านเจ้าของรถที่ใช่  บอกว่าไม่ค่อยเห้นความต่างมากนัก  อืดบ้างเล็กน้อยตอนออกตัวของรถ( E20)   E10  ไม่ค่อยรู้สึกสักเท่าใดครับ

สำหรับภาคสองของเนื้อเรื่องที่ตั้งกระทู้  มีเวลาแล้วจะมาต่อให้ครับ............srithanon
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
อังคาร, 11 มิถุนา 2013 20:58 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ในภาคที่สอง

ในภาคแรกนั้น ได้กล่าวถึงรูปแบบการวัดสัญญาณพัลส์  ของตัว crankshaft sensor    สัญญาณพัลส์จุดระเบิด IGT ที่กล่อง ECU สร้างขึ้นมาให้วงจรช่วยจุดระเบิดทำงาน   และสัญญาณพัลส์ของหัวฉีดน้ำมัน    ทำให้เราได้เห็นหน้าตาของรูปสัญญาณพัลส์ที่เกิดขึ้นทั้งสามว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไร     

จะสรุปให้เห็นว่า ในการตรวจสอบการทำงานของวงจรจุดระเบิดรถยนต์  ที่เป็นจุดแรกเริ่มของการทำงานในวงจรจุดระเบิด   เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน  มันจะได้สัญญาณจากตัว crankshaft sensor  ออกมาให้เห็น    หากสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วไม่มีสัญญาณนี้ออกมา  ก็จะทำให้ทราบว่าวงจรจุดระเบิดไม่ทำงานสร้างไฟสูงออกมา  เพราะตัว crankshaft sensor มันเสีย จึงไม่มีสัญญาณนี้ออกมา  ทำให้ไม่มีไฟสูงออกที่หัวเทียน   

ซึ่งหลายครั้งที่ช่างซ่อมเครื่องยนต์  ไม่มีเครื่องมือ Oscilloscope  ตรวจจับสัญญาณนี้   ก็จะเหมาเอาว่าตัวจานจ่ายเสีย  หรือตัว Ignition
coil ไฟสูงเสีย   โดยคาดว่า  คิดว่า และน่าจะเป็น  ซึ่งเป็นการเดา   ดังนั้นเมื่อเวลาซื้อจานจ่ายมาเปลี่ยนมันจึงยังไม่มีไฟสูงออกให้หัวเทียน    ทั้งที่ตัวเก่าก็ไม่ได้เสียแต่ประการใด  นี้คือการซ่อมที่คาดเครื่องมือในการตรวจสอบ  หากเราสงสัยว่าที่ตัวจานจ่ายเสีย  เราก็มีวิธีการที่ตรวจสอบได้ง่ายๆ  ในการตรวจสอบเฉพาะตัวจานจ่าย  โดยยังไม่ต้องตรวจวัดสัญญาณพัลส์  ที่ตัว crankshaft sensor หรือ สัญญาณ จุดระเบิด ที่ ECU สร้างออกมา

การเช็คการทำงานของจานจ่าย หรือวงจรช่วยจุดระเบิดสร้างไฟสูง  เราสามารถจะตรวจสอบในเบื้องต้นทันทีที่เครื่องยนต์ดับ  หรือสตาร์ทไม่ติด  ถือว่าเป็นการตรวจสอบอันดับแรกในการแก้ปัญหา  ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือ Oscilloscope.ในการตรวจเช็ค   เพราะว่าหากเข้าใจในระบบการทำงานของวงจรช่วยจุดระเบิด  และทราบตำแหน่งของสายไฟที่เข้าตัวจานจ่าย  ว่าสายไฟเส้นไหนทำหน้าที่อะไร ต่อจากขาพินเสียบที่จุดไหน   (ต้องมีวงจรประกอบ  หากไม่เคยซ่อมมาก่อน)   

ที่สำคัญว่าสายไฟเส้นไหนเป้นสายไฟสัญญาณพัลส์การจุดระเบิด  ที่ ECU ผลิตออกมาป้อนเข้าวงจรช่วยจุดระเบิด  หากทราบก็จะเป็นการง่ายมากๆในการตรวจสอบการทำงานของชุดจานจ่ายสร้างไฟสูงให้กับหัวเทียน   สมมุติว่าทราบจากวงจร circuit diagram  ของตัวจานจ่าย    ก้ให้ตัสายไฟสัญญาณเส้นนั้นออก  ก่อนที่จะถึงหัวปลั๊กเสียบสักสองสามนิ้ว   แล้วให้ปอกสายไฟสัญญาณส่วนที่จะไปเข้าตัวจานจ่ายออกให้เห็นสายทองแดงภายในของสาย    จากนั้น  ให้หาสายไฟอีกเส้นที่เป็นสายทองแดง  เอาปลายด้านหนึ่งต่อเข้ากับจุดไฟสูงที่ออกจากตัวคอยไฟสูง  ไปวางใกล้ๆกับตัวถังรถ หรือตัวเครื่องยนต์ที่กราวด์ ให้ห่างสัก ประมาณหนึ่งเซ็นต์

จากนั้นให้บิดสวิชท์กุญแจไปที่ตำแหน่ง ON  แล้วให้เอาไฟสัญญาณที่ปอกเห็นสายทองแดงที่มีปลายด้านหนึ่งไปเข้าปลั๊กเสียบของจานจ่าย   ส่วนอีกปลายสายที่เหลือ  เอาไปเขี่ยกับขั่วไฟบวกของแบ็ตเตอรี่ให้เป็นจังหวะ   หากวงจรช่วยจุดระเบิดสร้างไฟสูงเป็นปกติไม่เสีย   เราจะเห็นประกายการอาร์คของไฟโวลเต็จสูงลงกราวด์   นี้เป็นการเทสแบบไม่ต้องใช้เครื่องมือ

แต่ถ้าหากใช้เครื่องมือเราจะตรวจสอบได้ง่ายยิ่งขึ้นมาก  เพราะเพียงแต่เราเอาสัญญาณสแควเว็ฟจาก Function generator ป้อนสัญญาณนี้เข้าไปที่  สายไฟสัญญาณ จุดระเบิด IGT  คือสายเไฟเส้นที่ถูกตัดครั้งแรก  ก็จะการเกิดการอาร์คของไฟสูงออกที่สายไฟเส้นที่วางใกล้ๆกับกราวด์ตัวถังรถหรือเครื่องยนต์  อย่างต่อเนื่อง   ไม่ต้องใช้สายไฟเขี่ยกับขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่

รูปข่างล่างนี้เป้นการเตรียมทดสอบการทำงานของตัวจานจ่าย

วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope ซีรีย์เกาหลี หนังเกาหลี

วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope ซีรีย์เกาหลี หนังเกาหลี
srithanon


เข้าร่วม: 13 สิงหา 2009
ตอบ: 380

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 1324
ให้คำขอบคุณ: 4
อังคาร, 11 มิถุนา 2013 21:06 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
เตรียมที่จะทดสอบ


 วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด  ด้วย Digital oscilloscope ซีรีย์เกาหลี หนังเกาหลี
จ่าทัน


เข้าร่วม: 26 พฤศจิกา 2012
ตอบ: 608

Guru ES
Guru ES

ได้รับคำขอบคุณ: 391
ให้คำขอบคุณ: 330

ที่อยู่: กำแพงเพชร กรุงเทพบ้าง
ปี: 2004
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 2 สิงหา 2013 20:19 - วิธีการตรวจซ่อมวงจรไฟจุดระบิดของเครื่องยนต์หัวฉีด ด้วย Digital oscilloscope
ติดตามผลงานครับ
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2024 Civic ES Group. All rights reserved.