
พฤหัส, 29 ตุลา 2009 20:19 - ระวังถูกไฟแนนซ์ โกงนะจ๊ะ ( เรื่องน่ารุ้สำหรับคนกำลังซื้อรถยนต์ )
ประชาชนทั่วไปกำลังมองหาสินค้าผ่อนส่งอะไร อยู่ก็ตาม ต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวเลขค่างวดเงินผ่อนที่บริษัทลีสซิ่งหรือบริษัทไฟแนนซ์จะแจ้งให้คุณทราบว่าเป็นจำนวนเท่าใด เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคต้องรู้ ต้องเข้าใจวิธีการคิดตัวเลข จึงจะป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกโกงโดยไม่รู้ตัว และเชื่อได้ว่ามีประชาชนจำนวนมาก ๆ ที่ถูกโกงมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งพวกที่ผ่อนหมดไปแล้วหรือพวกที่กำลังผ่อนชำระกันอยู่
โดยปกติสินค้าที่เกี่ยวกับเงินผ่อนไม่ว่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างมีวิธีการคิดค่างวดเงินผ่อนที่เหมือนกัน จะต่างกันก็ตรงดอกเบี้ยที่คิดเท่านั้น เพียงแต่ผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจกับ 3 องค์ประกอบต่อไปนี้เป็นพื้นฐานก่อน คือ
1. สินค้าที่จะซื้อเงินผ่อน เป็นสินค้าใหม่หรือสินค้าใช้แล้ว
2. ผู้ขายสินค้าอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เป็น บุคคล หรือ นิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่มในขณะนั้นมีอัตราเท่าใด
ในกรณีสินค้าใหม่นั้น ราคาที่ผู้ขายบอกขายจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วทั้งสิ้น เช่น รถยนต์ใหม่ราคา 2,500,000 บาท รถจักรยานยนต์ใหม่ราคา 60,000 บาท เครื่องรับโทรทัศน์ใหม่ราคา 12,000 บาท เป็นต้น ส่วนสินค้าใช้แล้วนั้น จะขึ้นอยู่กับผู้ขายด้วย กล่าวคือ ถ้าผู้ขายเป็นนิติบุคคลที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาของสินค้าใช้แล้วย่อมรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเช่นกัน แต่ถ้าผู้ขายไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาขายของสินค้าใช้แล้วนั้นไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น รถมือสองที่ขายโดยเต๊นท์รถต่าง ๆ ส่วนมากจะไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเต๊นท์ที่ขายไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น ผู้บริโภคต้องถามให้ชัดเจนว่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือยังไม่รวม ก่อนตัดสินใจซื้อแบบเงินผ่อน
สำหรับการคิดค่างวดนั้น จะแสดงวิธีคิดที่ถูกต้องที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่า เพิ่มของสินค้าที่มีราคาขายเท่ากันที่ 1,600,000 บาท (ถอด VAT 7% = 1,495,327.10) ดังนี้:
.............................................สินค้าที่ถอดมูลค่าเพิ่มออก...............สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม
รถยนต์ใหม่/รถมือสอง.........................1,495,327.10.........................1,600,000
หักเงินดาวน์..........................................373,831.77...........................400,000 (จ่ายให้เต๊นท์รถ)
เงินกู้เช่าซื้อ.......................................1,121,495.33.........................1,200,000
คิดดอกเบี้ย 5% Flat 2 ปี.........................112,149.53...........................120,000
รวมยอดผ่อนชำระ...............................1,233,644.86.........................1,320,000
ค่างวดต่อเดือน (หาร 24)...........................51,401.87............................ 55,000
บวก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%..............................3,598.13...............................3,850
ค่างวดต่อเดือนที่ต้องผ่อน....................... 55,000 x 24..................... 58,850 x 24
จะเห็นได้ว่า ซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วต้องการผ่อน จำนวนเงินที่ผ่อนจะสูงกว่าเพราะบริษัทลีสซิ่งจะต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้า ไปด้วยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ประเด็นนี้ยังพอทำใจได้ ที่จะกล่าวถึงตามหัวเรื่องที่เขียนจะเกิดกับสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มมา แต่แรกแล้ว ซึ่งจะเป็นสินค้าใหม่ จากที่เคยเห็นและรับปรึกษาให้แก่ผู้บริโภคที่เดือดร้อน เมื่อนำสัญญาเช่าซื้อที่ทำกับบริษัทลีสซิ่งและบริษัทไฟแนนซ์ทั้งใหญ่และกลาง บางแห่งมาดูพบว่ามีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำเข้าไปอีกครั้ง ถือว่าเป็นการโกงผู้บริโภคโดยแท้จริง โดยการแสดงวิธีคิดที่สับสนเล็กน้อย ดังนี้ :
รถยนต์ใหม่ ........................................1,600,000.00 (ตัวเลขรวม VAT)
หัก เงินดาวน์ 400,000.-............................373,831.77 (ตัวเลขถอด VAT)
เหลือเงินกู้...........................................1,226,168.23
คิดดอกเบี้ย 5% Flat 2 ปี...........................122,616.82
รวมยอดผ่อนชำระ.................................1,348,785.05
ค่างวดต่อเดือน (หาร 24).............................56,199.38
บวก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%............................... 3,933.96
ค่างวดต่อเดือนที่ต้องผ่อน.................... 60,133.33 x 24
วิธีคิดข้างต้นใช้แบบผสมที่ไม่ถูกต้อง แต่ผู้บริโภคที่ไม่ได้ศึกษาจะไม่ทราบ และยอมผ่อนตามที่แสดงไว้ เหตุการณ์เช่นนี้มักจะเกิดกับข้อเสนอจากบริษัทลีสซิ่งและบริษัทไฟแนนซ์ที่ คิดดอกเบี้ยเช่าซื้อถูกเป็นพิเศษ และใช้วิธีโกงข้างต้นตลบหลังบวกเพิ่มโดยผู้เช่าซื้อไม่รู้ตัว แล้วคุณล่ะ! วันนี้ได้ตรวจดูสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้หรือยัง คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่โดนแล้วก็ได้?จะบอกให้
ที่มาจาก http://usedcar.exteen.com/20090630/entry-2
แก้ไขล่าสุดโดย เมื่อ พฤหัส, 29 ตุลา 2009 23:12, ทั้งหมด 2 ครั้ง
(ดูทั้งหมด)