ตอบ
Bird_phetch


เข้าร่วม: 23 เมษา 2013
ตอบ: 535

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 543
ให้คำขอบคุณ: 61

ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:44 - เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
ไปเจอบทความนี้มาจาก เว็บ คมชัดลึก เห็นว่ามีประโยชน์ดีครับ เลยเอามาแชร์เผื่อใครยังไม่เคยอ่าน 





เครื่องหลวม แรงตก1
เครื่องหลวม แรงตก1: คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์

เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก

                 เครื่องหลวมทำให้กำลังตก แต่กำลังนั้นตกไม่ได้เกิดจากเครื่องหลวมเสมอไป เครื่องหลวมทำให้กำลังอัดในห้องเผาไหม้หายไปตามสัดส่วนของการหลวมของเครื่อง เมื่ออัตราส่วนกำลังอัดที่ถูกสร้างให้คงที่สูญหายไปกับการสึกหรอของเครื่องประกอบกับอัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศที่คงที่

                เมื่อเครื่องหลวม (อากาศเข้าเท่าเดิมแต่อัดแล้วได้อัตราส่วนที่ต่ำกว่าเดิม) การฉีดจ่ายน้ำมันคงเดิมประกายไฟจุดระเบิด (ในเครื่องเบนซิน) คงเดิม การเผาไหม้ที่จะทำให้อากาศ (ที่ถูกอัด) ระเบิดเป็นกำลังงานก็น้อยลงไป เรี่ยวแรงที่จะไปขับเคลื่อนรถก็น้อยลงไป

                ต้องย้ำกันอีกครั้งว่า เครื่องแรงตก มีสาเหตุอื่นๆ อีกมากมายแม้เครื่องจะไม่หลวม สาเหตุของเครื่องหลวมก็เกิดจากการสึกหรอภายในเครื่องยนต์ การสึกหรอในตัวเครื่องยนต์ที่ทำให้แรงตกน่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง

                 อย่างแรก กำลังอัดรั่วขึ้นบน และอย่างที่สอง รั่วลงล่าง ก็จะว่ากันให้ละเอียดเท่าที่สติปัญญาและความทรงจำจะทำได้ กำลังอัดรั่วขึ้นบนก็หมายถึง อากาศ ที่ถูกอัดไว้รอการจุดระเบิดนั้นรั่วผ่านลิ้น (Valve) บ่าลิ้น (Valve seat) ปลอกวาล์ว (Valve guide) และหรือปะเก็นฝาสูบ (Cylinder head gasket) ช่างในยุคโบราณ(รุ่นผม) ที่ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือพิเศษ เมื่อเริ่มค้นหาสาเหตุว่า เครื่องแรงตกก็จะเริ่มกันที่วาล์ว หรือลิ้นทั้งไอดีไอเสีย เพราะรู้อยู่ว่า ถ้าวาล์วยัน (เครื่องเงียบแต่เดินเบาแล้วโยน) ก็ทำให้แรงตกได้

                กรรมวิธีก็เริ่มจากวัดหาความห่างระยะกดของตัวกดวาล์วกับตัวก้านวาล์ว เริ่มแรกต้องรู้ก่อนว่า สเปกของรถให้ระยะห่างลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียมีระยะห่างกันเท่าไร (ก็เป็นจุดทศนิยมของมิลลิเมตร) และก็ต้องรู้ว่า สเปกที่บอกนั้นวัดตอนเครื่องเย็น (ก่อนติดเครื่อง) หรือเครื่องร้อน ช่างรุ่นใหม่หรือกลางเก่ากลางใหม่มักจะตั้งวาล์วกันเมื่อวาล์วดัง (วาล์วห่าง) เพราะคิดว่าเมื่อเสียงเงียบ(โดยลืมพิจาณาการโยนหรือสั่นของเครื่อง)

                วาล์วไม่มีปัญหาและความคิด (ขี้เกียจ) นั้น ลามปามมาถึงเครื่องที่ใช้ไฮดรอลิกวาล์ว (Hydraulic valve lifter) ในปัจจุบัน

                อาการวาล์วยันเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ต้องไล่กันที่หน้าวาล์วและบ่าวาล์ว วาล์วกับบ่าวาล์วทำด้วยเหล็กล้วนๆ กระแทกกระทบกันตลอดเวลา (ห่างออกเมื่อวาล์วเปิด) กระแทก (เมื่อวาล์วปิด) การกระแทกจากแรงอัดของอากาศ ร้อน เร็วและรุนแรง ชั่วนาตาปี ทั้งวาล์วและบ่าวาล์วก็จะสึกหรอ

                การสึกหรือที่เกิดขึ้นทำให้ตัววาล์วทั้งตัวโผล่ยาวขึ้นไป (ตามการสึกหรอ) ไปยันกับตัวกดวาล์วเอาไว้ทำให้เมื่อวาล์วต้องการปิดให้สนิทก็ทำไม่ได้ วาล์วนั้นจึงปล่อยให้อากาศ (ไอดีผสมเชื้อเพลิง) เล็ดลอดออกไปจากห้องเผาไหม้ก่อนการระเบิด ที่ว่ามาเป็นเรื่องของวาล์วแบบกลไกที่ต้องมีการปรับตั้ง ถ้าเอาเฉพาะเรื่องวาล์วยันอย่างเดียวให้ช่างปัจจุบันแก้ไขให้หายขาดคงจะหาช่างทำยายากเพราะต้องเปิดฝาสูบ ปาดหน้าวาล์ว เจียรบ่าวาล์ว ลบตีนวาล์วออกให้เท่ากับระยะบ่าวาล์วที่เจียรออก (ต้องไม่ลืมว่าเพียงแค่จุดทศนิยมของมิลลิเมตร)

                ช่างทั่วไปทำแค่นี้ก็คงจะพอแล้วแต่ถ้าเป็น มืออาชีพ ต้องมากกว่านี้ ต้องเอา ตัวกดวาล์ว (กระเดื่องวาล์ว - Rocker arm) ไปปาดให้เรียบรวมทั้งปาด (ขัดถู) ลูกเบี้ยวส่วนที่ทำหน้าที่กดวาล์วหรือกดกระเดื่องวาล์ว แต่เมื่อใดที่หน้าลิ้นและบ่าลิ้นสึกมาก (เหลืออยู่บางหรือสึกไม่เท่ากัน) เกินกว่าที่จะเจียรหรือปาดได้ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งบ่าวาล์วและบ่าวาล์ว

                ในเรื่องของวาล์วที่เป็นระบบไฮดรอลิกถ้าเจาะจงมาที่วาล์วและบ่าวาล์วก็ต้องทำเช่นกัน แต่ในวาล์วไฮดรอลิกนี้ เมื่อวาล์วยันต้องดูที่ตัวไฮดรอลิกวาล์วด้วยว่าตัวไฮดรอลิกนั้นค้างหรือไม่ ถ้าค้างบางรุ่นบางยี่ถอดล้างและมีชุดซ่อมเปลี่ยนให้ แต่อีกหลายๆ รุ่น ต้องเปลี่ยนกันอย่างเดียว (สี่สูบสิบหกวาล์วไฮดรอลิกวาล์วก็มีสิบตัวตีซะว่าตัวละพันบาทปาไปเท่าไรแล้ว) นี่ว่ากันอย่างเดียวนะครับแค่วาล์วยันที่ทำให้เป็นสาเหตุของแรงตกจากกำลังอัดรั่ว โควตาหมดสัปดาห์หน้าว่ากันเรื่องวาล์วห่างหรือวาล์วดัง

 

..........................................

(เครื่องหลวม แรงตก1: คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์)

อ้างอิงที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20130623/161653/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%811.html#.UhcSFdIiF7s


แก้ไขล่าสุดโดย เมื่อ ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:47, ทั้งหมด 1 ครั้ง (ดูทั้งหมด)
ได้รับคำขอบคุณจาก: wittayab 
Bird_phetch


เข้าร่วม: 23 เมษา 2013
ตอบ: 535

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 543
ให้คำขอบคุณ: 61

ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:44 - เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
เครื่องหลวมแรงตก(2)
เครื่องหลวมแรงตก(2) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์ : โดย...นายประโยชน์
เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
               ทบทวนกันนิดหนึ่งว่า วาล์วยัน คืออาการที่วาล์วต้องการปิดให้สนิทแต่ไม่สนิท ทำให้กำลังอัดรั่ว (ลิ้นไอดี ไอเสียจะปิดสนิทเมื่อลิ้นเริ่มจังหวะอัดและในจังหวะระเบิด) อัตราส่วนกำลังอัดน้อยลง อัตราส่วนการเผาไหม้ก็เปลี่ยนไป แรงจึงตก

               อาการที่บ่งบอกคือ เครื่องติดยากทั้งเย็นและร้อน  ถ้าเป็นมากเรียกว่าสตาร์ทกันจนน้ำมันท่วม (ในเรื่องยุคเก่ายุคคาร์บูฯ) ถ้าเป็นเครื่องดีเซล (รุ่นเก่าก็ต้องเผาหัวกันจนเผาหัวขาดหรือล่อด้วยเบนซิน เมื่อเครื่องติดแล้วจะเบายาก เดินเบาไม่เรียบ (เครื่องโยน สั่น) ถอนคันเร่งแล้วเรื่องดับ เมื่อติดได้แล้วจะเหม็นกลิ่นน้ำมันที่ปลายไอเสีย ในเครื่องดีเซลติดแล้วควันดำเหมือนควันปล่องโรงงานเหม็นกลิ่นน้ำมันดีเซล

               ถ้ารถเก่าใครมีอาการอย่างนี้ลอง ปรับตั้ง วาล์วทั้งไอดีไอเสีย (รุ่นที่เป็นแบบกลไก) ส่วนรุ่นที่เป็นวาล์วไฮโดรลิก ก็ถอดออกล้างหรือเปลี่ยนชุดซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่) สำหรับในรุ่นวาล์วไฮดรอลิก ตอนผมไม่มีกะตังค์ ผมจะถอดออกมาแช่น้ำมันเบ็นซินไว้สักสามสี่ชั่วโมง (เรียกว่าล้างดิบ) เสร็จแล้วใช้ลมแรงเป่าทำความสะอาด เพื่อไล่คราบน้ำมันหล่อลื่นภายในออกแล้วแช่น้ำมันเครื่อง(เกรดเดียวกับน้ำมันเครื่องที่ใช้) ทิ้งไว้สักหนึ่งคืน แล้วจึงประกอบคืนเข้าระบบ ถ้าใครใช้วิธีนี้ต้องอดทนรอกับเสียงเครื่อง (วาล์ว) ดังวินาศสันตะโรเมื่อเครื่องติดใหม่ๆ เพราะน้ำมันเครื่องในระบบกว่าจะเข้าไปในตัววาล์วไฮดรอลิกนั้นต้องใช้เวลา (แม้แต่กับไฮดรอลิกตัวใหม่ก่อนใส่ก็ควรจะแช่น้ำมันเครื่องทิ้งไว้สักคืน เพราะไม่งั้นวาล์วจะดังเมื่อติดเครื่องครั้งแรกๆ อาการอย่างนี้ ช่างมือใหม่ ตกม้าตายกันมาเยอะแล้ว (เออ บ้านเราไม่ค่อยมีคนขี่ม้าสักเท่าไร ทำไมถึงไม่เรียกว่าตกวัวตกควายตายกันมั่งไม่รู้)

                ช่างก็จะรื้อเข้ารื้อออกสุดท้ายก็ไปโทษว่าของที่ซื้อมาไม่ดีเป็นของเก๊ของเทียมมั่งล่ะ (เฮ่อ) ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วหลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า วาล์วไฮดรอลิก ทำงานด้วยแรงดันน้ำมันเครื่องไงถึงเกิดอาการวาล์วยันได้ เรื่องนี้ตอบได้ไม่ยาก ภายในวาล์วไฮดอลิก (ตัวขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย) มีส่วนประกอบเป็นกลไกที่สำคัญคือ สปริง (ตัวเล็กๆ) และวาล์ว (ตัวกระจิดริด) เมื่อวาล์วต้องการเปิด (วาล์วเลื่อนลงล่าง) ไฮดรอลิกที่มีแรงดันน้ำมันเครื่องอยู่ในนั้นและลิ้นน้ำมัน (อันกระจิดริด) จะปิดกักน้ำมันเอาไว้เพื่อให้กระเดื่องวาล์วมีแรงกดไปถึงก้านวาล์ว วาล์วหรือลิ้นจึงเปิดได้กว้างที่สุดตามที่ถูกออกแบบไว้ เมื่อวาล์วต้องการปิด (ในจังหวะดูดหรือคลายไอเสีย) กระเดื่องวาล์ว (โดยการวบคุมของเพลาราวลิ้น) จะบังคับให้คลายตัวจากการกดไฮดรอลิกวาล์ว เมื่อไม่มีแรงกดจากภายนอก สปริง (ตัวน้อยๆ) ก็จะทำหน้าที่เปิดวาล์ว (อันกระจิดริด) ให้น้ำมันที่อยู่ในวาล์วไฮดรอลิกไหลออก ระยะห่างจากก้านวาล์วกับตัวกดวาล์วก็จะมีระยะห่างตามกำหนด (ประมาณว่า 0.025มิลลิเมตร) วาล์ว ก็จะไม่ยัน เมื่อได้ที่กระเดื่องกดว่า ยกแล้วแต่น้ำมันในไฮดอลิกวาล์วไม่ไหลออก วาล์วไฮดรอลิกตัวนั้นก็จะไปยันอยู่กับกระเดื่องกดวาล์วระยะห่าง (ประมาณ 0.025 มิลลิเมตร) ระหว่างก้านวาล์วกับกระเดื่องกดก็จะไม่มี ลิ้นไม่ว่าจะเป็นลิ้นไอดีหรือไอเสียก็จะปิดไม่สนิท อาการเช่นนี้แหละที่เรียกกันว่าวาล์วยัน

               ก็คงจะงุนงงสับสนกันสักหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เพราะมีทั้งวาล์วใหญ่ (ลิ้น) กับวาล์วกระจิดริด (ลิ้นกันน้ำมันในไฮดรอลิกวาล์ว) เดี๋ยวเปิดเดี๋ยวปิด อ่านแล้วไม่งงก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านภาษาไทยได้แตกฉาน โธ่นับประสาอะไร ผมเขียน (พิมพ์) อยู่กับนิ้วตัวเองยังเป็นงงเลยครับท่านพี่น้อง สัปดาห์หน้าว่ากันถึงเครื่องหลวมแรงตกตอนวาล์วห่าง หรือวาล์วดัง ก็ทำให้แรงตกได้

อ้างอิงที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20130707/162759/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%81(2).html#.UhcS4dIiF7s


แก้ไขล่าสุดโดย เมื่อ ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:47, ทั้งหมด 1 ครั้ง (ดูทั้งหมด)
ได้รับคำขอบคุณจาก: wittayab 
Bird_phetch


เข้าร่วม: 23 เมษา 2013
ตอบ: 535

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 543
ให้คำขอบคุณ: 61

ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:45 - เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
เครื่องหลวมแรงตก (3)
เครื่องหลวมแรงตก (3) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์
เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
                ผมเขียนถึงแรง (กำลัง) เครื่องยนต์ตกที่ยังไม่เกี่ยวข้องกับ เครื่องหลวม ไปสองตอนแล้วที่พูดถึงแค่ เรื่องวาล์วยัน ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของกำลังอัดรั่ว (ขึ้นบน) เรื่องของวาล์วที่ทำให้แรงตกก็มีอยู่อีกเรื่อง คือ วาล์วห่าง (วาล์วดัง) ช่างยุคใหม่กับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ มักจะงงงวยกับอาการวาล์วดังโดยเฉพาะกับรถที่ใช้ ไฮดรอลิกวาล์ว ไม่รู้จะหาทางแก้ไขอย่างไร เพราะเสียงวาล์วดังไม่ได้ดังทุกตัว (ไฮดรอลิกวาล์วไม่ได้เสียพร้อมกันทั้ง 16 ตัว) ส่วนจะค้นหาว่าตัวไหนดังก็ไม่มีประสบการณ์ ก็จะว่าให้ฟังว่าช่างรุ่นเก่าๆ เขาทำกันอย่างไร

               ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจกันก่อนว่าวาล์วดังนั้นเกิดจากอะไร กำปั้นทุบดินตอบเปรี้ยงไปได้เลยว่าเพราะ วาล์วห่าง ถ้าถามต่อว่าตรงไหนของวาล์วบ้างล่ะที่ห่างและทำไมถึงห่างก็ตอบได้ไม่ยากว่า (ในรุ่นที่ใช้กลไกปรับตั้ง) เพราะก้านวาล์วสึกกระเดื่องวาล์วสึก คงไม่ถามต่อนะว่าทำไมถึงสึกแต่ก็จะบอกให้ได้ว่าเพราะก้านวาล์วและกระเดื่องกดวาล์วเป็นเหล็กแท้ๆ กระแทกกระทั้นกันตลอดเวลาเหล็กก็ต้องสึก อาจจะสึกที่ก้านวาล์วก่อน หรือพร้อมๆ กับตัวกระเดื่องกดวาล์ว เมื่อเหล็กสึกช่องห่างระหว่างก้านวาล์วกับตัวกดวาล์วที่เว้นระยะเอาไว้จำนวนหนึ่ง เช่น 0.025มิลลิเมตร ก็ถ่างกว้างเป็น 0.35 มม. หรือมากกว่า

               ช่องห่างที่กำหนดไว้ที่ 0.25 มม. เป็นช่องห่างที่ก้านวาล์วกับตัวกดวาล์วจะไม่กระทบกันเมื่อวาล์ว (หรือลิ้นไอดีไอเสียปิดสนิท) แต่เมื่อช่องห่างของวาล์วมีมากเพราะการสึกหรอหรือปรับตั้งผิดพลาด ตัวกดวาล์วแทนที่จะกดแนบสนิทกับก้านวาล์วเมื่อต้องการให้วาล์วเปิดไม่ว่าในจังหวะดูด หรือจังหวะคลายตัวกดวาล์วทำได้เพียงสัมผัสเบาๆ (เหมือนเอาเหล็กเคาะเหล็ก)กับก้านวาล์วจึงเกิดเสียงดัง (เหล็กเคาะเหล็ก)

                ผลที่เกิดจากการสัมผัสแผ่วๆ นี้ทำให้ระยะเปิดวาล์วที่ควรเปิดจนสุดก็เปิดได้ไม่สุด จึงเหลือ ช่องห่าง ระหว่างหน้าวาล์วกับบ่าวาล์ว เมื่อสเปกต้องการให้วาล์วเปิดสุดเพื่อให้ลูกสูบ ดูดอากาศ เข้าห้องเผาไหม้ผ่านวาล์วติ๊ต่างว่า 1,000 ซีซี แต่เมื่อวาล์วเปิดไม่สุด (กว้างไม่พออากาศจะเข้าเพียง 800 ซีซี (เป็นตัวเลขติ๊ต่างที่ทำให้เห็นภาพ) เมื่ออากาศเข้าน้อยก็ถูกอัดได้น้อย (สมมุติว่าจาก 10:1) ก็จะเหลือเพียง 8:1 อัตราส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศจาก 14:1 ก็จะเหลือเพียง 12:1 เมื่ออัตราส่วนกำลังอัดและอัตราส่วนผสม (น้ำมันกับอากาศ) เพี้ยนไป การเผาไหม้ก็ไม่สมบูรณ์ (อากาศน้อยน้ำมันมาก) กำลังงานที่ได้ก็น้อยลงไป น้ำมันเชื้อเพลิงก็ใช้มากขึ้น นั่นจึงเรียกว่าแรงตกเพราะ วาล์วห่าง

               นี่พูดกันเรื่องของระบบกลไก ตานี้มาพูดถึงเรื่อง ระบบไฮดรอลิก หรือวาล์วไฮดรอลิก ที่ใช้แรงดันน้ำมันเป็นตัวกำหนดความห่างของก้านวาล์วกับตัวกดวาล์ว ชิ้นส่วนภายในไม่กล่าวซ้ำละ ย้อนกลับไปอ่านสัปดาห์ที่แล้วได้ครับ

                ในชุดวาล์วไฮดรอลิกมี วาล์วตัวกระจิดริด อยู่หนึ่งตัวมีหน้าที่กักน้ำมันให้เต็มไว้ในตัวไฮดรอลิกวาล์วอยู่ตลอดเวลารอบการทำงาน    ไฮดรอลิกวาล์วตัวนี้ (หรือชุดนี้) จะครอบอยู่ที่ก้านวาล์วจะเรียกว่าเป็นกันชนระหว่างตัวก้านวาล์วกับตัวกดวาล์วก็ไม่น่าจะผิด ตัวกดวาล์วกับกันชนที่ (ภายนอก) เป็นเหล็กล้วนๆ กระทบกันตลอดเวลาแต่ไม่มีเสียงดังเพราะได้แรงดันน้ำมันเครื่องคอยดันไฮดรอลิกวาล์วเอาไว้ บางรุ่นหรือหลายๆ รุ่น หลายๆ ยี่ห้อระหว่างชุดไฮดรอลิกวาล์วกับตัวกดวาล์วจะมีแผ่นชิม (เหล็ก) บางๆ ซ้อนไว้อีกครั้งป้องกันไฮดรอลิกวาล์วสึกหรอ

               เมื่อก้านวาล์วสึกหรอหรือแผ่นชิมสึกหรอแทนตัวกดวาล์วระยะห่างมากขึ้นเสียงก็จะดังเหล็กเคาะเหล็ก (ย้อนกลับอ่านข้างบนเรื่องวาล์วกลไก) เมื่อวาล์ว (แม้จะเป็นไฮดรอลิกส่งเสียงดัง) ก็จะเปลี่ยนแผ่นชิมนั้นให้หนาขึ้นหรือบางลง (ส่วนมากจะเริ่มมีค่าความหนาบางที่ 0.005มิลลิเมตร) การเปลี่ยนชิมวาล์วต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและแม่นยำพอสมควร เครื่องมือที่ใช้ต้องใช้ไมโครมิเตอร์ที่มีความละเอียดสูง หน้ากระดาษหมดอีกแล้วเพราะเปลี่ยนชิมก็แล้ววาล์วยังดังอยู่หรือเครื่องยังเดินสั่นอยู่อีกจะทำไงดี ก็ต้องอดทนรอกันอีกเจ็ดวันละครับ

.........................................

(เครื่องหลวมแรงตก (3) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์)


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20130728/164419/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%81(3).html#.UhcS_dIiF7s


แก้ไขล่าสุดโดย เมื่อ ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:47, ทั้งหมด 1 ครั้ง (ดูทั้งหมด)
ได้รับคำขอบคุณจาก: wittayab 
Bird_phetch


เข้าร่วม: 23 เมษา 2013
ตอบ: 535

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 543
ให้คำขอบคุณ: 61

ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:45 - เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
เครื่องหลวมแรงตก 4
เครื่องหลวมแรงตก 4 : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์
เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
                 ก็ต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่ตามอ่านซีรีส์เรื่องเครื่องหลวมแรงตกที่ผลุบบ้างโผล่บ้างก็เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและพื้นที่บนหนังสือพิมพ์ ก็บอกได้ว่าคงต้องตามกันหลายตอนเลยลjะและไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ก็จะเอามาบอกกันให้หมดไส้หมดพุงเลยว่า ที่ว่า ต้องเปิดฝาสูบ นั้นเกิดจากอะไร?แล้วต้องทำอะไรกันบ้างทำกันอย่างมืออาชีพ รวมทั้งลามปามไปจนถึง ยกเครื่องหรือโฮเวอร์ฮอลเครื่อง นั้นทำไมต้องทำและทำกันอย่างไร

                แต่วันนี้ก็ขอต่อกันเรื่องของวาล์วนิดหน่อยเป็นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับไฮดรอลิกวาล์ว หรือบางคนเรียกว่า วาล์วอัตโนมัติ วาล์วไฮดรอลิกก็มีทั้งห่างได้ (เสียงดัง) และก็ยันได้ (เครื่องเดินไม่เรียบ วาล์วไฮดรอลิกในยุคแรกๆ นั้นสามารถถอดล้างได้ เปลี่ยนชุดซ่อมได้ (สปริงและวาล์วกันน้ำมันอันกระจิริด) ตัววาล์วก็มีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยไม่สามารถที่จะปรับตั้งได้

                ส่วนวาล์วรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจะบรรจุเป็นชุดอยู่ในเสื้อ ทำเป็นฝาครอบป้องกันเสียง ส่วนมากแล้วจะซ่อมไม่ได้เปลี่ยนชุดซ่อมไม่ได้ ยกเว้นก็แต่ในบางรุ่นบางยี่ห้อใช้การเปลี่ยนชิมปัญหาของวาล์วไฮดรอลิกที่ทำให้เกิด เสียงดัง (วาล์วห่าง) ก็เกิดจากการเสื่อมสภาพในตัวของมันเองที่วาล์วกระจิริดหมดสภาพที่จะกักแรงดันเอาไว้ต้านกับแรงกดของตัวกดวาล์ว (กระเดื่องวาล์ว) และหรือใช้น้ำมันเครื่องแบบว่าไม่เคยเปลี่ยนกันนานนมคราบน้ำมันเครื่องก็จะไปอุดรู ทำให้น้ำมันให้เข้าไปเลี้ยงวาล์วไม่ได้ ก็คงต้องถอดออกมาทำความสะอาดหรือเปลี่ยนถ้าไม่ได้ผล

                ปัญหาอยู่ที่ว่ารถปัจจุบันวาล์วเยอะ (16 วาล์ว) ตัวไหนล่ะคือตัวที่เสียคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเสียทั้ง 16 ตัว หรือเปลี่ยนทั้งหมด (หลายตังค์) ช่างรุ่นผมก็หากินกันแบบประหยัดทดลองกันเองตามประสบการณ์ เริ่มด้วย เปิดฝาครอบวาล์ว แล้วติดเครื่อง (อีตรงนี้ที่สำคัญเพราะเมื่อเปิดฝาครอบวาล์วแล้วเครื่องทำงาน น้ำมันเครื่องจะกระเซ็นสาดไปทั่วก็ต้องหาวิธีป้องกันเอา ป้องกันน้ำมันเครื่องแล้วต้องมีเครื่องมือวัดที่เรียกกัน ฟิลเลอร์เกจ เลือกเอาความหนาตามประสบการณ์หรือความชำนาญ สอดเข้าไประหว่างตัวกดวาล์วและตัวไฮดรอลิกวาล์ว ความหนาของ ฟิลเลอร์เกจ ที่สอดเข้าไป (ตามการคาคคะเนด้วยประสบการณ์) ทำให้วาล์วเงียบไปหนึ่งจุด ก็บอกได้ว่าวาล์วตัวนั้น (ไฮดรอลิก) มีปัญหาต้องถอดออกมาดูแล้วแก้ไข ก็ต้องดำกันอย่างนี้ทั้ง16 ตัว อาจจะเสียเวลาเปรอะเปื้อนน้ำมันบ้างแต่ก็ถือว่าคุ้ม แต่คราใดที่สอด ฟิลเลอร์เกจ ด้วยแผ่นที่มีความหนามากกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็นแล้ววาล์วยังไม่หายดังแม้ว่า (เครื่องจะสั่นแล้ว) ก็เชื่อขนมกินได้ว่าไฮดรอลิกวาล์วตัวนั้นเสื่อมจนเกินกว่าจะเยียวยาแล้ว ช่างรุ่นผมเรียกวิธีนี้ว่า เช็กวาล์ว แบบดิบๆ หรือ เช็กดิบ

                ในส่วนของวาล์วยันก็เช่นกันเช็กดิบแบบเดียวกันสังเกตดูว่าสอด ฟิลเลอร์เกจ เข้าไปแล้วเครื่องยัง สั่นเท่าเดิม ก็ตัวนั้นแหละที่ยัน ก็เช็กทุกตัวเจอตัวไหนดับเครื่องแล้วก็ต้องถอดออกมา จะต้มยำทำแกงก็แล้วแต่โยมละ แต่ถ้าสอด ฟิลเลอร์ ไปแล้วเครื่องสั่นมากกว่าเดิมก็บอกได้ว่าวาล์วตัวนั้นไม่มีปัญหาเรื่องวาล์วยัน ครับวาล์วห่างวาล์วยันเป็นเรื่องที่ทำให้เครื่องแรงตกเดินไม่เรียบแม้จะไม่ถึงขั้นเครื่องหลวมแต่ก็ส่งผลถึงสมรรถนะและอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน ที่ว่ามาทั้งหมดไม่เว้นแม้แต่เครื่องดีเซลที่ปัจจุบันก็ไม่ต่างจากเครื่องเบนซินนัก สุดท้ายก็อยากจะบอกว่าการที่จะทำให้วาล์วไฮดรอลิกมีอายุยืนยาวก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ดูแลบำรุงรักษาเครื่องยนต์กันอย่างไรโดยเฉพาะ น้ำมันเครื่อง ต้องใช้ตามเกรดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ และเลิกใส่หรือเติมสารอะไรก็ตามที่อวดวิเศษลงไปในน้ำมันเครื่องเพราะสารเหล่านั้นไม่มีใครจะประกันได้ว่า ไปอุดรูน้ำมันของวาล์วกระจิริด หรือไปทำลายซีลกันน้ำมันตัวเล็กๆ นั้นหรือไม่ ครับฝากไว้ สัปดาห์หน้าว่ากันเรื่องฝาสูบรั่ว

 

...................................................

(เครื่องหลวมแรงตก 4 : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์)

 ที่มา 
http://www.komchadluek.net/detail/20130804/164952/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%814.html#.UhcTFtIiF7s


แก้ไขล่าสุดโดย เมื่อ ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:48, ทั้งหมด 1 ครั้ง (ดูทั้งหมด)
ได้รับคำขอบคุณจาก: wittayab 
Bird_phetch


เข้าร่วม: 23 เมษา 2013
ตอบ: 535

แซงซ้าย ปาดขวา
แซงซ้าย ปาดขวา

ได้รับคำขอบคุณ: 543
ให้คำขอบคุณ: 61

ปี: 2003
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
ศุกร์, 23 สิงหา 2013 14:46 - เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
เครื่องหลวมแรงตก(5)
เครื่องหลวมแรงตก(5) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์
เรื่อง เครื่องหลวมแรงตก
              ก็มาถึงเรื่องกำลังอัดรั่วขึ้นบนฝาสูบซะที เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ช่างรุ่นใหม่ๆ ในศูนย์บริการ ขาดการสนใจกันมานานเต็มที ผลสุดท้ายกรรมก็ตกอยู่กับคนใช้รถที่ต้องควักเงินจ่ายค่าเปิดฝาสูบ  เรื่องของเรื่องก็คือรถและคน(ช่าง)วันนี้ไม่มีการกวดขันน็อตฝาสูบกันจนเมื่อมีเหตุต้องให้เปิดฝาสูบจึงได้ขันน็อตกันที ก็อย่างที่เรียนไว้ตอนแรกๆ แล้วว่าเครื่องยนต์ใช้กำลังอัดสูงๆ (ตั้งแต่ 8:1 จนถึง 14:1 ในปัจจุบัน) แรงระเบิดในห้องเผาไหม้จึงรุนแรง แรงดันหรือแรงอัดกระจายไปทั่วห้องเผาไหม้ตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน ตัวเครื่องยนต์มีเสื้อสูบ มีฝาสูบที่คั่นกลางไว้ด้วยปะเก็น (Gasket, Cylinder head gasket) โลหะแผ่นบางๆ เพื่อป้องกันกำลังอัดรั่วไหลระหว่างรอยต่อของเหล็ก(หรืออัลลอย)

               โดยมีน็อตจำนวนหนึ่งขันร้อยจาก ฝาสูบไปยังเสื้อสูบ เดิมทีนั้นเครื่องยนต์หรือเสื้อเครื่องและฝาสูบเป็นเหล็กหล่อ มีเพลาราวลิ้นตัวเดียวมีสองวาล์วต่อสูบ การวางตำแหน่งของน็อตฝาสูบให้ตรึงแน่นกับเสื้อสูบมีเนื้อที่มากพอ แม้กระนั้นวิศวกรหรือผู้ผลิตยังต้องกำหนดวันเวลาให้มีการกวดขันน็อตฝาสูบเป็นระยะๆ แต่วันนี้ทั้งเสื้อสูบและฝาสูบเป็นโลหะผสม(มีบ้างที่เสื้อสูบยังเป็นเหล็กหล่อฝาสูบเป็นอัลลอย) และที่สำคัญมีสองแคม(แม้บางรุ่นจะเป็นแคมเดี่ยว)และมีวาล์วเยอะ(สี่วาล์วต่อสูบ)

               เนื้อที่ที่จะเจาะรูบนฝาสูบเพื่อร้อยน็อตไปยึดกับเสื้อสูบก็มีน้อยลงไป แต่ทั้งช่างและผู้ผลิตรวมทั้งผู้ขายไม่มีการกำหนดเอาไว้เลยว่าเมื่อไรจะต้องมีการขันน็อตฝาสูบ

               การระเบิดอันรุนแรงที่เปรียบเหมือนมีน้ำหนักเป็นตันเคาะไปที่ฝาสูบตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือน็อต(ฝาสูบ) ยืด คลาย(ถอน)เกลียว เมื่อใช้งานได้ระยะหนึ่ง ทำให้ฝาสูบและเสื้อสูบที่แน่นสนิทด้วยแรงขันน็อตเมื่อแรกเริ่มนั้น คลายตัว กำลังอัดจึงเล็ดลอดออกไปทางช่องวาง(ปะเก็นฝาสูบ)ทีละเล็กละน้อย นานปีเข้าช่องว่างขยายตัวมากเข้ากำลังอัดออกได้มากขึ้นรถก็ แรงตก

               สังเกตดูเถอะว่าเครื่องยนต์ปัจจุบันเมื่อเปิดฝาสูบ(ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด) มักจะพบว่า ปะเก็นฝาสูบ ฝาสูบ เสื้อสูบ ผุกร่อน แล้วก็ลงความเห็นกันว่า วัสดุไม่ดี ใช้น้ำยารักษาหม้อน้ำที่ไม่ได้คุณภาพ แต่แท้จริงแล้วสาเหตุทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะ เครื่องยนต์ ตัวนั้นไม่เคยกวดขันน็อตฝาสูบ ตามที่ควรจะทำเป็นระยะๆ มาก่อนเลย

                กำลังอัดที่แลบออกทางฝาสูบหรือปะเก็นฝาสูบนั้น ก็รู้อยู่ว่าเป็น ไอเสีย เป็นก๊าซที่มีพิษ ก๊าซพิษซึมอยู่ระหว่างรอยต่อของปะเก็นนานเข้าก็กัดกร่อนทั้งปะเก็นทั้งฝาสูบทั้งเสื้อสูบ ถ้าต้องเปิดฝาสูบในกรณีนี้(น้ำหายโดยไม่พบร่องรอย เครื่องร้อนง่าย แรงน้อย ควันเยอะ แรงตก) สิ่งที่ควรจะทำก็คือ การเปิดฝาสูบเปลี่ยนปะเก็น ซ่อมส่วนที่ผุกร่อน และพร้อมทั้งตรวจดู วาล์วปลอกวาล์วเปลี่ยนซีลตีนวาล์ว บดวาล์วเจียรหรือ เปลี่ยนบ่าวาล์วใหม่ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาล์วที่กล่าวไปแล้วหลายตอน และงานแบบนี้ ช่างรุ่นผมจะเรียกกันว่า Top Overhauls ถ้าทำได้สมบูรณ์ขีดสุดอย่างมืออาชีพแล้วก็เท่ากับได้เครื่องบนใหม่หมด เหมือนเครื่องป้ายแดง บางคนอาจจะแย้งว่า ทำมาถึงขั้นนี้แล้วทำไม่ไม่เปลี่ยน แหวนไปด้วยเลย ก็อยากจะบอกว่างานเปลี่ยนแหวน บดวาล์ว นั้นช่างรุ่นผมเขาทำกันเพื่อฟันนิ่มๆ (จากเจ้าของรถ) ส่วนได้ผลเป็นเนื้อเป็นหนังไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย เอาแค่ Top Overhauls ให้เต็มที่ ก็พอเหลือรับประทานแล้ว

                 เอากันง่ายๆ กะวานแค่เปลี่ยนปลอกวาล์ว(Valve guide) ก็ทำกันแบบช่างหลังเขา เคาะอันเก่าออก ตอกอันใหม่ใส่ ก็ปรบมือให้ตัวเองแล้วว่าเจ๋ง ช่างรุ่นผมขืนทำแค่นั้นลูกพี่เบิ๊ดกะโหลกแตก เคาะอันเก่าออกน่ะใช่แต่ก่อนที่จะเอาอันใหม่ใส่ต้องใส่ ห้องฟรีซหรือแช่น้ำแข็งไว้ก่อนครึ่งวันค่อนวัน แล้วค่อยกดเข้าที่ด้วยหัวแม่โป้งมือที่ถนัดโดย ห้ามใช้ค้อน เด็ดขาด และก็นานหลาย(สิบ)ปีแล้วที่ไม่เคยเห็นช่างแช่แข็ง ปลอกวาล์ว นอกจากค้อนเคาะกันโป๊กๆ

               เรื่องวาล์วเรื่องฝาสูบเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้มีหน้าที่ให้บริการ เพราะอายุเครื่อง(กำลัง)จะเรี่ยวแรงแข็งขันมากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่วาล์วกับฝาสูบ เครื่องยนต์ที่เขาใช้กันเป็นล้านกิโล ไม่ต้องยกเครื่องกันก่อน ก็อยู่ที่ตรวจเช็กวาล์วและขันน็อตฝาสูบเป็นประจำ เรื่องอื่นก็จิ๊บๆ ตอนหน้าถึงซะทีเครื่องหลวมทำให้แรงตก


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20130818/166022/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%81(5).html#.UhcQ79IiF7s
ได้รับคำขอบคุณจาก: wittayab 
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2024 Civic ES Group. All rights reserved.