ตอบ
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:30 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
วันนี้ผมขอเสนอ บทสรุป >>> 5w30 vs 0w-40 อะไร ยังไง ????

ก่อนอื่นเลย ต้องทำความเข้าใจ ตรงนี้ก่อนว่า ตัวหน้าหลัง หมายถึงอะไร

ความหมายของเกรดน้ำมันเครื่องที่อยู่ข้างกระป๋องนั้นมีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้สองประเภทด้วยกันดังนี้
- แบ่งตามความหนืด
- แบ่งตามสภาพการใช้งาน
การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย
พูดถึงมาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่อง แบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น
น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม (Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภท ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยกน้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบ็นซินได้เทียบเท่าเกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50

ทีนี้ พอจะเข้าใจบ้างแล้ว ว่า ประเทศไทยเรา ส่วนใหญ่ใช้ น้ำมันแบบ รวมเกรด คือ ได้ ทั้งร้อนและเย็น

ผมจะสรุปให้ นะครับ คือ

1 0W-40 เนี่ย ใช้ได้ใน อากาศที่หนาว ถึง ติดลบ 30 องศา แต่ไทยคงไม่มีแน่ๆ และร้อน ความหนืดมาก ก็ใช้ได้ ถึง 50 องศา +

2 5W-30 เนี่ย ใช้ได้ใน อากาศที่หนาว ถึง ติดลบ 25 องศา ในไทยไม่มีอีกเช่นกัน และร้อน ความหนืดน้อยกว่า ก็ใช้ได้ถึง 50 องศา + เช่นเดียวกาน

จะเห้นว่า ตัวหน้า เป็น winter เขตหนาว เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้ จะ 5 หรือ 0 ก็ แล้วแต่ ทีนี้ มาดูกันที่ค่าความหนืดเป้นหลัก ว่าคุณต้องการ ลื่น เหมือนกึ่งสังเคราห์ ที่ Honda ใช้เติม เกรด 5w-30 หรือ จะเอาแบบ สังเคราห์แท้ 0w-40 ที่ เค้านิยม เพราะ คุณสมบัติ น้ำมันสังเคราห์แท้ จริงๆ หลักๆๆ คือการปกป้องเครื่องยนต์ ของคุณ ดังนั้น ความเข้มข้นมาก การจับตัวที่กระบอกสูบก็จะมากกว่า เกรด 30 อยู่แล้ว ก็ปกป้องได้มากกว่า แต่ถ้าชอบลื่นๆ ก็ 30

เพราะ Honda สนับสนุน ทั้ง 30 และ 40
แต่ถ้ากึ่ง ส่วนใหย่ จะ 5w-30 ส่วน สังเคราห์แท้ 0w-40

จบของไทยไปแล้ว มาดู สากล บ้าง

2 ตัวนี้ ถ้า วิ่งในเขตหนาว ตัว 0w จะลื่นกว่า ตัว 5w เพราะความเข็มข้นน่้อยกว่า แต่ถ้าวิ่งในเขตร้อน ตัว 30 จะลื่นกว่าตัว 40

ทีนี้คงหมดคำถามกับคำว่า ตัวไหนดีกว่ากัน เพราะ มันใช้ ในสภาพที่แตกต่างครับ ^^
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  Sweetheart  Nine_Eleven  yorkydog  freedombee  alpha08  Phetcharat  Favonius  kim_possible  Upper  cisco  domziia  offerza  Vee  CROW  qq  Rachen  mayuct  vat  petershine 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:31 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ตามที่บอกว่าถ้าพิจารณาที่อุณหภูมิตอนเช้าที่เมืองไทย (20-25C) เลขตัวหน้าก็ไม่จำเป็นต้องเป็น W =winter ก็ได้เพราะเบอร์ 40 หรือ 50 ก็ใช้ได้ เราไม่จำเป็นต้องใช้ multi-grade 0w-40 หรือ 5w-40 หรือ 10w-40 นี่ครับ

คำตอบอยู่ตรงนี้ครับ ในเมื่อเราจำเป็นต้องใช้ multi-grade เลขตัวหน้าจะสะท้อนคุณภาพของ base oil ที่ใช้ผลิต
มีผลกับคุณสมบัติโดยรวมของน้ำมันตัวนี้ ซึ่งรวมถึงคุณสมบัติที่อุณหภูมิทำงาน และอุณหภูมิสูงด้วย คุณภาพของน้ำมันเครื่องมีผลมากที่จุดที่มันทำงาน @ Operating Temperature ตามปกติคือ 100 C คุณสมบัติน้ำมันเครื่องที่ @ 100C เป็นผลมาจาก base oil ที่เลือกใช้ ถ้าเลขตัวหน้ายิ่งต่ำ base oil ที่ใช้จำเป็นต้องมี VI ในตัวเองดียิ่งขึ้น base oil ที่มี VI สูง เป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง
พูดง่ายๆถ้าดูที่อุณหภูมิตอนเช้าเมืองไทย เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ multi-grade ใช้น้ำมันเกรดเดียว เบอร์ 40 ก็ได้ แต่ในเมื่อเราจำเป็นต้องใช้ multi-grade เราก็มีทางเลือกที่จะเลือกใช้multi-grade ตัวไหนที่ดีกว่า multi-grade ที่มี *ช่วงกว้าง* คือ เลขตัวหน้าต่ำๆ จำเป็นต้องใช้ base oil ที่มีคุณภาพสูงขึ้นคือ เลขตัวหน้ายิ่งต่ำ คุณภาพของน้ำมันยิ่งดีขึ้นเพราะจำเป็นต้องมี VI ในเนื้อน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ และน้ำมันที่มี VI สูงที่สุดคือ synthetic
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  Phetcharat  kim_possible  WarHighways  Upper  domziia  offerza  CROW 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:31 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ทีนี้เราลองมาดูกันว่าน้ำมันเครื่องนั้นมีกี่ประเภทกันนะครับ
ประเภทน้ำมันเครื่อง โดยแยกย่อยออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน
Group 1 - 3 เป็นน้ำมันเครื่องที่ทำมาจาก น้ำมันดิบ หรือ น้ำมันตามธรรมชาติ
Group 1 - น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดา (Base Oil)
- เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไป อายุการใช้งานประมาณ 5,000 กม.
Group 2 - น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ( Semi Synthetic)
- เป็นการนำน้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic) มาผสมกับ Base Oil โดยมีส่วนผสมของสารสังเคราะห์โดยเฉลี่ยไม่เกิน 10 - 15 %
Group 3 - น้ำมันเครื่องสังเคราะห์(เทียม) (Synthetic)
- น้ำมันสังเคราะห์เทียม หรือ ที่แป๊ะที่กระป๋องว่า (Synthetic) เพราะยังมีส่วนผสมของ Base Oil อยู่
* เนื่องจากตัวทำละลายสารเพิ่มคุณภาพมีราคาแพง จึงเอาน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้เป็นตัวทำละลาย อาจจะมีส่วนผสมของ Base Oil อยู่ 10 – 15 % ในแต่ละยี่ห้อก็มีการผสมแตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ราคาไม่สูงมากนัก แล้วอ้างว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ น้ำมันเครื่อง Synthetic และบางทีก็หาทางออกโดยใช้คำว่า Synthetic Technology หรือใช้คำ Synthetic ร่วมกับคำอื่นๆ เป็นน้ำมันสังเคราะห์ส่วนใหญ่ที่วางขายในบ้านเรา

ตั้งแต่ Group 4 - Group 5 เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์
เป็นพวก PAO หรือ Polyalphaolefin คือผลิตขึ้นมาจาก สารสังเคราะห์แท้ๆ 100 %
Group 4 - น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Full Synthetic) PAO 100 %
- ผลิตมาจากสารสังเคราะห์ล้วนๆ โดยไม่มี Base Oil เจือปน แม้แต่น้ำมันพื้นฐานก็ยังเป็นเกรด Synthetic Base Oil ส่วนใหญ่จะเป็นพวก PAO หรือ Polyalphaolefin คือผลิตขึ้นมาจากสารสังเคราะห์แท้ๆ 100 % ให้การหล่อลื่นและปกป้องได้ดียิ่งกว่า เหนือกว่าน้ำมันเครื่องทุกยี่ห้อ ที่มีขายในขณะนี้
Gruop 5 – จะเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ที่มีความคล้ายคลึงกับ Group 4 มีความหล่อลื่นมากและอายุการใช้งานสูงเหมาะสำหรับพวกเครื่องจักร
ดังนั้น น้ำมันเครื่องGroup 4 จึงเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ซึ่งเหมาะสมสำหรับยานยนต์ ให้การปกป้องมีความลื่นและอายุการใช้งานสูง

ในการผลิตน้ำมันเครื่องเค้าก็ใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐานจาก 1 ใน 5 นี่แหละครับ แล้วนำเอาพวกสารเพิ่มประสิทธิภาพผสมลงไป โรงงานที่ผสมหรือผลิตน้ำมันเครื่องในบ้านเรามีอยู่ไม่กี่แห่ง พวกบริษัทน้ำมันเครื่องก็จ้างโรงงานเหล่านี้ผลิตให้ ดังนั้นน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อก็ออกมาจากโรงงานเดียวกัน ด้วยเหตุนี้คุณภาพของน้ำมันเครื่องจึงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐานกับพวกสารเพิ่มคุณภาพที่เติมผสมลงไปครับ

เริ่มยาวแล้วใช่ไหมครับ หวังว่าคงจะไม่ขี้เกียจอ่านกันนะครับ
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  kim_possible  domziia  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:31 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
เรามาดูคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องกันต่อกันเลยละกันนะครับ
ถ้าท่านไหนเคนเห็นผมตอบเรื่องน้ำมันเครื่องก็จะเห็นผมนำเอาตัวเลขแบบนี้มาแสดงด้วยเสมอๆ
น้ำมันเครื่องยี่ห้อ ………………0W-50 , API SM
Viscosity
@40C cSt 104
@100C cSt 18.0
@120C cSt 12.1 (ASTM D341)
Viscosity Index 192

เพราะอะไรผมถึงนำมาแสดงก็เพราะผมจะบอกว่า ผมไม่ได้มั่วข้อมูลนะฮัฟฟฟ ^^ แป่ว… จริงๆแล้วเลขเหล่านี้คือตัวเลขที่ผู้ผลิตเค้าบอกสเป็คของเค้ามาว่ามีคุณสมบัติอย่างไรนั่นเองครับมามะมาดูกันต่อเลยฮ๊าฟฟฟ

Viscosity Index เป็นดัชนี บ่งชี้การเปลี่ยนแปลงความข้นใส เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นน้ำมันที่มีค่า VI สูง ก็ทนความร้อนได้ดีกว่า ค่าความข้นใสเปลี่ยนแปลง=น้อย เมื่ออยากให้มี VI สูง ก็ต้องใส่ additive VII = VI-Improver ซึ่งงมัน multi-grade มี VII viscosity index improver ค่าความข้นใสจึงเปลี่ยนแปลง=น้อย

เมื่อร้อนขึ้น @อุณหภูมิทำงาน 100 C "ความข้นใส"ยังพยายามจะคงที่ (เท่าเดิม) ไม่ใช่ หนืดขึ้น ประกอบกับเหตุผลทางเทคนิคอีกอย่าง คือ น้ำมันเครื่อง multi-grade จะต้องเติมสารโพลีมเมอร์ VII viscosity index improver เพื่อเสริมความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมัน
โดยเจ้า VII มันจะเข้าไปทำการฟอร์มตัวร่วมกับ open-chain ของกลุ่ม CH ทำให้เกิดเป็น"เส้นยาวๆ" ทำหน้าที่เสริม"ความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมัน" ลักษณะการทำงาน เหมือน"เหล็กเส้น" ในคอนกรีตเสริมเหล็ก
ในทางปฏิบัติ เมื่อใช้งานหนัก ที่อุณหภูมิสูงติดต่อกันนานๆ VII ซึ่งเป็น polymer จะเกิด polymer-grade สูงขึ้น ==> คือแข็งตัว มันก็เปราะ และจะ"ขาด" ทำให้ความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมันลดลง

ต่อมา การพัฒนาคุณภาพน้ำมันเครื่องไม่ได้หยุดนิ่ง จึงมี API ตัวใหม่ออกมาเรื่อยๆ จาก API SJ กลายเป็น SG SH ... SL SM มีช่วงหนึ่ง ที่ต้องพัฒนาเร็วมาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องจำกัดการใช้ additive ก็เลยมีผลให้ API รุ่นใหม่ๆ แย่งกันออกสู่ตลาด ทุกบริษัทแข่งกับทำน้ำมัน multi-grade ออกมา ทำให้เราหาน้ำมันเกรดเดียว ที่ได้ API รุ่นใหม่ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ

เนื่องจากบริษัทน้ำมันต่างๆ เขาแข่งกันทำ Multi-grade ออกมา การพัฒนาด้าน VII ก็ต้องดีขึ้น เป็นผลมาจาก base oil ที่ใช้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ มี VI ดีในตัว base oil เอง เท่ากับได้แก้ปัญหา VII ไปด้วย
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  kim_possible  domziia  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:31 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
น้ำมันเครื่อง multi-grade ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวเช่น 0W-50
เลขตัวหน้าที่ลงท้ายด้วย W (Max. low-temperature cranking and pumping viscosity correspoinding to the W-grade)
เป็นเรื่องของคุณสมบัติน้ำมันที่ Low-temperature ทดสอบหาว่า อุณหภูมิต่ำที่สุดเท่าไรที่น้ำมันเครื่องยังมีความข้นใสพอที่จะไหลไปเลี้ยงเครื่องยนต์โดย pump ให้ไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ได้ เรียกว่า *Low-temperature cranking and pumping viscosity* -Low-Temperature-Test Method ตาม ASTM D 5293 วัดออกมามีหน่วยเป็น centipoise = cP เช่น 0w มี low temp cranking viscosity ที่ -30C ซึ่งคงมีไม่กี่ประเทศที่เย็นจัดขนาดนี้ และจำนวนรถยนต์ที่ใช้ที่นั่นเมื่อเทียบแล้วก็มีจำนวน ไม่กี่คันเลย เทียบกับรถทั่วโลกถ้าพิจารณาอย่างนี้ น้ำมันเครื่อง 0w ก็คงจะไม่ผลิตออกมาเพราะทำแล้ว ขายได้น้อย ชิมิ ชิมิ
เลขตัวหลัง ที่ไม่มี W (Max. and Min. kinematic viscosities at 100C and Min. High-Shear viscosity at 150 C corresponding to the non-W grade) จุดประสงค์หลักที่ เกี่ยวข้องกับเลขตัวหน้าที่ลงท้ายด้วย W ต้องการจะสื่อ คือ
the intent of the kinematic viscosity limits for each W grade is to ensure that the viscosity of this oil is high enough at engine operating temperature to provide adequate protection. ข้อนี้เป็นการทดสอบ High Temperature ทดสอบค่า kinematic viscosity ของน้ำมันที่อุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ @ 100C
- High Temp-Test has been * traditionally used* as a guide in selecting oil viscosity for use under normal engine operating temperature อุณหภูมิ 100C เป็น operating temp คืออุณหภูมิทำงานเครื่องยนต์
- ค่า HS = high shear ทดสอบการทำงานที่อุณหภูมิสูง 150C เป็นลักษณะการใช้งาน หนักหรือเบา light or heavy duty
ซึ่งมีผลกับการสึกหรอของ bearing , ring and liner, เป็นการทดสอบคุณสมบัติน้ำมันเมื่อเครื่องยนต์ทำงานหนัก เช่น
HS min = 2.9 cP ใช้กับ light duty
HS min = 3.7 cP ใช้กับ heavy duty
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  kim_possible  Upper  domziia  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:31 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
จากข้อมูลนี้ พอจะสรุปได้ว่า
-เลขตัวหน้า เขาตั้งใจบอก Cold Cranking Temperature ว่าทำได้ต่ำสุดเท่าไร (ไม่ใช่จะบอกค่า ความหนืด ครับ )
-เลขตัวหลัง บอกลักษณะการใช้งานว่า หนัก เบา ได้แค่ไหน
โดย "เลขตัวหน้า" แสดงคุณสมบัติน้ำมัน อย่างนี้ครับ
Low-temp cranking / Low-temp pumping / min Kinematic Viscosity @100C
0w -30C / -40C / 3.8 cSt
5w -25C / -35C / 3.8 cSt
10w -20C / -30C / 4.1 cSt
15w -15C / -25C / 5.6 cSt
20w -10C / -20C / 5.6 cSt
25w -5C / -15C / 9.3 cSt

เมื่อเห็นอย่างนี้จะมีหลายท่านรีบสรุปว่าเลขตัวหน้า* ไม่มีความจำเป็นสำหรับใช้ @ อุณหภูมิเมืองไทย พูดอย่างนี้ ก็ไม่ถูก โดยบางคนไปดูที่ viscosity @ 30C แล้วบอกว่า 0W หรือ 10W หรือ 20W มันมีความใส"เท่ากัน" หรือ พอๆกันที่ อุณหภูมิ 30C พูดอย่างนี้ก็ไม่ถูก !! เพราะ 30 องศา มันเป็น ambient Temp เมืองไทยก็จริงอยู่ แต่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานที่อุณหภูมินี้นี่ครับ อุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์เขาตั้ง Themostat ไว้ที่ 80-90C อุณหภูมิน้ำมันเครื่องก็จะอยู่ที่ใกล้ๆ 100C ดังนั้น ถ้าดูที่อุณหภูมิทำงาน 100C Viscosity จะต่างกัน น้ำมันที่เลขตัวหน้าต่ำ จะมีความใสมากกว่า
คราวนี้ถามว่า น้ำมันเครื่องใสๆ มันจะทนคนขับต*นโหด ได้ดีแค่ไหน ? ก็ต้องดูเลขตัวหลัง ที่เขาทดสอบ HT/ HS ทดสอบที่ 150C
ตัวอย่าง HT/HS หน่วย cP
เลขตัวหลัง ..... HS
20 2.6
30 2.9
40 2.9 (ขึ้นอยู่กับเลขตัวหน้า เช่น 0w-40, 5w-40, 10w-40 )
40 3.7 (ขึ้นกับเลขตัวหน้า เช่น 15w40 ฯลฯ)
50 3.7 หรือมากกว่านี้ เช่น Mobil1 5W-50 HTHS cSt @ 150°C, ASTM D 4683 === 4.3
60 3.7 หรือมากกว่านี้
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:32 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ตัวเลขตัวหน้า มีความสัมพันธ์กับเลขตัวหลัง
นอกจากจะบ่งค่า HS ที่แตกต่างกันแล้ว มันยังบ่งคุณสมบัติของ bas-oil ที่เอามาทำน้ำมันชนิดนั้น ครับ !!!!!
ค่า HT / HS high temp / high shear บอกการใช้งานว่าเป็น
-light duty
-heavy duty

เช่น
HS min = 2.9 cP ใช้กับ light duty
HS min = 3.7 cP ใช้กับ heavy duty

คุณสมบัติของเลขตัวหน้า และ ตัวหลัง ทั้งสองตัวทำงานร่วมกัน และมีความสำคัญต่อคุณภาพโดยรวมของน้ำมันตัวนั้น
จึงไม่ควรเน้นความสำคัญเพียง เลขตัวหน้า หรือ ตัวหลัง เพียงตัวเดียวเหมือนที่เราได้ยินคนพูดบ่อยๆว่า "เมืองไทยอากาศไม่หนาวขนาดนั้น ให้ดูเพียงเลขตัวหลังก็พอ" ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด
และสำหรับคำถามที่ว่าถ้าเครื่องยนต์ออกแบบมาสำหรับน้ำมันเครื่องเบอร์40 ถ้าไปใช้เบอร์ 30 มีผลอย่างไร และถ้าไปใช้เบอร์50มีผลอย่างไร

ตามโจทย์ รง.แนะนำให้ใช้เบอร์ SAE 40
ถ้าเราใช้ SAE 30 การปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์อาจจะไม่เพียงพอ ทั้ง operating and hi-temperature
--ที่อุณหภูมิทำงาน น้ำมันเครื่องในช่วงที่รถวิ่งมาได้สักพักนึงแล้ว อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 100 C ความแตกต่างระหว่างเบอร์ 40 กับ 30 มีผลไม่มากนัก ผลการปกป้องเครื่องยนต์"อาจจะ"ไม่แตกต่างกันชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่า Vi, HTHS และเกรดของน้ำมันเครื่องว่าเป็น ชนิด สังเคราะห์แท้, กึ่งสังเคราะห์ เป็นต้น
--ที่อุณหภูมิสูง จะมีผลกระทบมากกว่า อธิบายได้ว่ามีการขับแช่ที่ความเร็วสูง (รอบเครื่องสูง) เป็นเวลานานๆ ซึ่ง ค่า Vi, HTHS และเกรดของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้, กึ่งสังเคราะห์ จะมีส่วนช่วยปกป้องเครื่องยนต์ดังนี้ ค่า Viscosity index สูง ช่วยทำให้น้ำมันเครื่องมีความหนืดคงตัวได้ดีไม่ใสขึ้นมากนัก หรือหนืดน้อยลงทำให้ที่อุณหภูมิสูงความหนาของฟิลม์น้ำมันไม่บางเกินไปซึ่งจะทำให้ส่วนของโลหะภายในเครื่องยนต์เสียดสีกันได้ครับ ชิ้นส่วนสำคัญที่มีผลกระทบมาก คือ journal bearing และ between rings and cylinder walls ที่จุดนี้เป็นผลจากลักษณะการใช้งานของเราว่าเป็น light- or heavy- duty
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:32 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
สรุป..
-ถ้าใช้เบอร์ 30 จะมีผลกับลักษณะการใช้งานว่า "หนักหรือเบา" การใช้งานตามปกติไม่ค่อยมีผล คือ ใช้ได้
-ถ้าใช้เบอร์ 50 หนืดกว่าที่กำหนด มีทั้งผลดี และผลเสีย
ผลเสีย: internal friction ในเนื้อน้ำมันสูงกว่าปกติทำให้กินน้ำมันมากขึ้น
ผลดี: ถ้าเป็นรถเก่า เครื่องหลวม น้ำมันหนืดช่วย seal ชิ้นส่วนที่หลวม ทำให้รู้สึกว่าเครื่องยนต์มีแรงอัดดีขึ้น
ค่า HTHS สำหรับน้ำมันเครื่อง SAE 30 จะมีค่าประมาณ 2.9 cP ซึ่งเป็น Ligh duty ทนแรงเฉือนหนักๆ นานๆไม่ได้ ดังนั้นถ้าเป็น Ligh duty แล้วไปไปลากรอบสูงๆ นานๆจะทำให้น้ำมันเครื่องลดประสิทธิภาพลงไปก่อนเวลาอันควร เกรดของน้ำมันเครื่อง ให้ดูว่าเป็นสังเคราะห์แท้ (PAO) จะอยู่ใน group lV หรือกึ่งสังเคราะห์ จะอยู่ใน group lll โดยคุณสมบัติของสังเคราะห์แท้ (PAO) จะมีค่า Vi สูงในเนื้อน้ำมันมาก ซึ่งต่างจากกึ่งสังเคราะห์ ที่แม้ว่าจะมีค่า Vi สูง (บางยีห้อ) แต่ก้อเป็นการเติมสาร Vii ลงไปมาก ซึ่งที่อุณหภูมิสูงนานๆ สาร Vii จะเกิดปฏิกิริยา Oxidation ทำให้เสื่อมสภาพ การคงตัวของความหนืดของน้ำมันเครื่องลดลงจึงเป็นที่มาว่าทำไมน้ำมันเครื่องบางยี่ห้องสเป็คเทพมากแต่ใช้งานแล้วไม่เทพเหมือนที่โฆษณานั่นเองครับ

ที่พูดถึงคุณสมบัติหลักคือ เนื้อน้ำมัน หรือ base-oil คุณสมบัติน้ำมันทั้งหมด เกิดจากการ base-oil และ additive package ที่ใช้ผสมเข้าไปเสริมคุณสมบัติสำคัญอื่นๆของน้ำมัน เจ้า Additive package นี้คือตัวที่จะทำให้น้ำมันตัวนั้น ตัวนี้ ได้มาตรฐาน API SJ SH ....หรือ SM พูดง่ายๆ ถ้าเราซื้อ base stock และ additive package มา ก็จัดการ mix เข้าไป ก็จะได้น้ำมันออกมาแล้วนั่นเองครับ
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  davidian  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:32 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
จากที่ผมเขียนๆ(จริงๆแล้วพิมพ์) มาจะเห็นได้ว่าน้ำมันสังเคราะห์นี่มันเทพจริงๆ แต่ทุกอย่างก็ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆครับ เพราะราคามันก็จะแพงตามไปด้วยนั่นเอง ยังงัยก็เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเองละกันนะครับ ผมได้สอนวิธีการดูสเป็คคร่าวๆกันไปแล้ว


แต่ก็ยังมีเรื่องวุ่นๆของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์มาเล่าสู่กันฟังอีกครับ
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แท้ /เทียม
น้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ระบุว่าเป็นชนิดสังเคราะห์ 100% ใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ “โพลีแอลฟาโอลีฟิน (POLYALPHAOLEFIN-PAO) “ ซึ่งไม่สามารถละลายสารเพิ่มคุณภาพบางตัวหรือละลายได้ไม่ดี จึงอาจมีการละลายสารเพิ่มคุณภาพด้วยน้ำมันหรือสารอื่นก่อนผู้ผลิตบางรายเน้นความประหยัด โดยนำสารเพิ่มคุณภาพไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาก่อน เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานจึงเกิดข้อกังขาว่า จะเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ได้อย่างไร ในเมื่อมีน้ำมันชนิดธรรมดาผสมอยู่ด้วยจากการช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ

มีผู้ผลิตไม่มากนักที่ยอมลงทุนนำสารเพิ่มคุณภาพไปละลายกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดสังเคราะห์อื่นที่มีราคาแพง ไม่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์รถยนต์ แต่ทำละลายได้ดี เช่น น้ำมันหล่อลื่นเครื่องบินเจ็ต (DIBASICESTER) เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ ก็จะกลายเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ทุกหยดจริงๆ ต่างจากกรณีแรกที่มีน้ำมันชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วย
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:32 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
Hydro crack คือการเอาน้ำมันเครื่องพื้นฐานจากแร่หรือปิโตเลียม(Mineral Base oil) ไปจัดเรียงโมเลกุลขึ้นมาใหม่(คล้ายกับทำ GMO's ในพืช) แล้วใส่สารผสมเพิ่มคุณภาพเข้าไป(Aditive)

สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา คือบริษัทที่ทำน้ำมันเครื่องจาก Group 4 อันเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ขนานแท้ เห็นว่ามันไม่ถูกต้องที่นำเอาน้ำมันเครื่อง Group 3 อันเป็นน้ำมันธรรมชาติมาทำเป็นน้ำมันเครื่อง แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

ทำให้มีการฟ้องร้องกันระหว่าง ผู้ผลิตน้ำมัน Group 4 กับผู้ผลิตน้ำมัน Group 3 ก็เพราะว่าในสหรัฐอเมริกา มีบริษัทน้ำมันเครื่องแห่งหนึ่งใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐาน Group 3 เอามาผสมสารเพิ่มคุณภาพเข้าไป แล้วประกาศว่าเป็น น้ำมันเครื่องสังเคราะห์หรือน้ำมันเครื่อง Synthetic และบางทีก็หาทางออกโดยใช้คำว่า Synthetic Technology หรือใช้คำ Synthetic ร่วมกับคำอื่นๆ ขายราคาที่ถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ยี่ห้ออื่นๆ

ทำให้คุณสมบัติของ Group 3 ซึ่งยังมี Base Oil ที่เป็น ปิโตรเลียมผสม ไปใกล้เคียงกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ Group 4 ที่เป็น PAO 100% หรือ Polyalphaolefin เข้า

ศาลตัดสินให้ ผู้ผลิตน้ำมัน Group 3 สามารถใช้คำว่า Synthetic ถึงแม้จะไม่เป็น Synthetic 100% แต่เนื่องจากส่วนผสมของน้ำมันก็ยังมีสาร Synthetic เป็นตัวหลัก (* เป็นส่วนผสมมากที่สุดในอัตราส่วนต่อ 1 หน่วย) แม้จะมี Base Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียม ผสมอยู่ด้วยในอัตรา 10 – 15 % ก็ตาม
ถึงแม้คุณภาพของน้ำมันเครื่อง Group 3 จะใกล้เคียงกับน้ำมันเครื่อง Group 4

แต่ก็เพียงแค่ใกล้เท่านั้น แต่ความเป็นจริงยังไม่สามารถทัดเทียมได้
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  davidian  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:32 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
การใช้คำว่าสังเคราะห์ หรือ SYNTHETIC กับน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องประกอบด้วยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามชนิดของน้ำมันพื้นฐานที่นำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่อง ดังนี้
ประเภทที่ 1 เป็นน้ำมันเครื่องทั่วไปที่ผลิตจากน้ำมันแร่ซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง
ประเภทที่ 2 เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Synthetic) ที่ผลิตจากน้ำมันซึ่งสังเคราะห์ขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น เป็นต้น
ส่วนประเภทที่ 3 เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ในช่วงที่ผ่านมาน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในการผลิตน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ได้แก่ โพลีอัลฟาโอเลฟิน ซึ่งผู้บริโภคจะสังเกตได้ว่าผู้ผลิตจะแสดงคำว่า PAO ในฉลากของน้ำมันเครื่องเพื่อเป็นจุดขายมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่ากระแสเริ่มลดลง
เนื่องจากได้มีการนำน้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่ ที่เรียกว่า Unconventional Base Oil (UCBO) ซึ่งได้จากการนำน้ำมันแร่ทั่วไปมาผ่านขบวนการสังเคราะห์พิเศษ ทำให้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ PAO มาใช้แทน โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ PAO ในด้านความทนต่อการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนสูง ความสิ้นเปลืองหล่อลื่นน้อยเนื่องจากอัตราการระเหยต่ำ การเกิดคราบสกปรก เขม่า และโคลนตมในเครื่องยนต์ต่ำ และแม้ว่า PAO จะมีความบริสุทธิ์กว่า แต่ถ้าเปรียบเทียบในด้านการใช้งานแล้ว ก็สามารถยอมรับกันกันโดยทั่วไปทั้งในด้านวิชาการ และการตลาดว่า น้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่นี้สามารถใช้ในการผลิตน้ำมันเครื่องได้เทียบเท่ากับ PAO เช่นกันและผู้ผลิตสามารถที่จะแสดงฉลากเป็นน้ำมันสังเคราะห์ได้ และสำหรับน้ำมันกึ่งสังเคราะห์ในปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่นี้แทน PAO โดยผสมใน***ส่วนที่เท่ากันคือ 10-30 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการพัฒนาสูตรการผลิตของแต่ละบริษัทด้วย
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  davidian  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:32 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
แต่ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ประเภทใด ผู้บริโภคก็จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์ในการใช้งานด้วย โดยทั่วไปการใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ก็เนื่องจากมีระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายที่นานกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป แต่ก็ควรจะพิจารณาว่าคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายแพงขึ้นหรือไม่ สำหรับการใช้งานจริงในท้องถนนซึ่งรอบและสภาวะการใช้งานเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ก็มีส่วนช่วยได้บ้างเนื่องจากมีความคงตัวสูงกว่า แต่สำหรับการใช้งานในสภาวะปกติและระยะทางไม่มากนัก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์

อนึ่งการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผู้บริโภคต้องระมัดระวังและสังเกตให้ดี เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้คำภาษาอังกฤษ Synthetic บนฉลากน้ำมันเครื่องอย่างแพร่หลาย เช่น Synthetic Technology , Synthetic Performance , Plus Syn , Synthetic Guard , Syntec และ Synthetic Based เป็นต้น ซึ่งข้อความเหล่านี้ไม่ได้สื่อชัดเจนว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % หรือกึ่งสังเคราะห์ ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากหรือข้อความภาษาไทยประกอบด้วย เพราะบางชนิดก็เป็นน้ำมันเครื่องธรรมดาเท่านั้น แต่ผู้ผลิตต้องการใช้คำว่า Synhtetic เพื่อสื่อถึงองค์ประกอบอื่นในน้ำมันเครื่องที่ไม่ใช่ Base Oil

ในปัจจุบันผู้ผลิตน้ำมันเครื่องมีการแข่งขันสูง มีการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เข้ามาช่วยในการจำหน่ายสินค้าและชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความพึงพอใจในสินค้าของตน นอกเหนือไปจากการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในเชิงวิชาการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลดแลกแจกแถม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การโฆษณาในสื่อต่างๆ ซึ่งก็เป็นการดีที่ผู้บริโภคจะมีสินค้าให้เลือกมากมายหลายชนิดขึ้น แต่ก็ยิ่งต้องใคร่ครวญในการตัดสินใจซื้ออย่างถ้วนถี่และรอบคอบมากขึ้นเช่นกัน
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  yorkydog  freedombee  davidian  kim_possible  offerza 
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พุธ, 16 มกรา 2013 16:33 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ขอบคุณ ความรู้ดีๆ จาก http://www.civicfdthailand.com/ipb_forum/index.php?showtopic=123954
ได้รับคำขอบคุณจาก: ballanupong  mr.smith  yorkydog  freedombee  davidian  kim_possible  offerza  Suyodjg  qq 
Nine_Eleven


ชื่อเล่น: นิ

เข้าร่วม: 28 ตุลา 2008
ตอบ: 1121

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 635
ให้คำขอบคุณ: 1154

ที่อยู่: หนามแดง
ปี: 2004
สี: ขาว ทาฟเฟต้า (NH-578)
พุธ, 16 มกรา 2013 20:00 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลความรู้ครับ
Beenongear53


ชื่อเล่น: บี

เข้าร่วม: 01 กันยา 2012
ตอบ: 379

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 636
ให้คำขอบคุณ: 790

ที่อยู่: สะพานใหม่
ปี: 2004
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
พฤหัส, 17 มกรา 2013 01:06 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ข้อมูลแน่นดเอี๊ยด 
SforZando


ชื่อเล่น: แอ๊ด

เข้าร่วม: 11 ธันวา 2012
ตอบ: 284

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 61
ให้คำขอบคุณ: 125

ที่อยู่: พุทธบูชา
ปี: 2001
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
พฤหัส, 17 มกรา 2013 08:09 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
...ขอบคุณครับ ได้ข้อมูลดี ๆ มากมาย เลย
davidian


ชื่อเล่น: เอ็ม

เข้าร่วม: 02 พฤศจิกา 2012
ตอบ: 1424

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 2420
ให้คำขอบคุณ: 4730

ที่อยู่: บางสิบหมื่น ชลบุรี -แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา-บางนา สมุทรปราการ
ปี: 2005
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
พฤหัส, 17 มกรา 2013 08:13 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ความรู้ทั้งนั้น เก็บๆๆๆๆๆๆๆ
kim_possible


ชื่อเล่น: หนู

เข้าร่วม: 10 ตุลา 2008
ตอบ: 2677

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 2006
ให้คำขอบคุณ: 6407

ที่อยู่: Kanchanaburi
ปี: 2002
สี: เงิน ซาติน (เมทัลลิก) (NH-623M)
พฤหัส, 17 มกรา 2013 10:27 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
สรุปรถรุ่นเราควรใช้เกรดอะไร ประเภทไหน ยี่ห้ออะไรดีครับ เพราะของ Honda ไม่มี 30 แล้ว
anglo


ชื่อเล่น: นัท

เข้าร่วม: 10 พฤษภาคม 2012
ตอบ: 1475

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1496
ให้คำขอบคุณ: 621

ที่อยู่: 19/313 หมู่บ้านณัฐกมล รัษฎา2 ซ.3 ถ.รัษฎานุสรณ์ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
ปี: 2001
สี: ทอง ไทเทเนียม (เมทัลลิก) (YR-525M)
พฤหัส, 17 มกรา 2013 13:43 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ถังล่าสุดที่เติมคือ Mobil 0w-40 ครับ สังเคราะห์ 100% 

หาข้อมูลจากในเว็บเรานี่แหละ

วิ่งดีมากครับ ติดใจเลย

แต่ด้วยราคาปัจจุบัน 2,000 up

คงต้องลอง Semi บ้าง ราคาราวๆ 840-890 (ต่างกันเยอะมากกกกก)

(สอบถามร้านค้า บอกว่าถ้าสังเคราะห์ 100% จะเปลี่ยนทุก 15,000 km. ส่วน กึ่งสังเคราะห์ 10,000 km. จริงเท็จอย่างไร กูรูชี้แจงต่อหน่อยครับ)
ได้รับคำขอบคุณจาก: kim_possible  CALM 
akkarin_c


ชื่อเล่น: ตู่

เข้าร่วม: 01 สิงหา 2012
ตอบ: 1225

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1081
ให้คำขอบคุณ: 441

ที่อยู่: เตาปูน ปิ่นเกล้า อัมพวา
ปี: 2005
สี: ทอง แซทเทิลไลท์ (NH-663M)
พฤหัส, 17 มกรา 2013 20:04 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
anglo พิมพ์ว่า:
ถังล่าสุดที่เติมคือ Mobil 0w-40 ครับ สังเคราะห์ 100%

หาข้อมูลจากในเว็บเรานี่แหละ

วิ่งดีมากครับ ติดใจเลย

แต่ด้วยราคาปัจจุบัน 2,000 up

คงต้องลอง Semi บ้าง ราคาราวๆ 840-890 (ต่างกันเยอะมากกกกก)

(สอบถามร้านค้า บอกว่าถ้าสังเคราะห์ 100% จะเปลี่ยนทุก 15,000 km. ส่วน กึ่งสังเคราะห์ 10,000 km. จริงเท็จอย่างไร กูรูชี้แจงต่อหน่อยครับ)

Mobil หาซื้้อตามเนทไม่ถึง 2 พันนะครับ ร้าน R laid ก็มี ประมาณ 1800
CALM


เข้าร่วม: 19 สิงหา 2012
ตอบ: 318

มีใบอนุญาตขับขี่
มีใบอนุญาตขับขี่

ได้รับคำขอบคุณ: 286
ให้คำขอบคุณ: 568

ที่อยู่: บ้านบิดาครับ
ปี: 2004
สี: เงิน ซาติน (เมทัลลิก) (NH-623M)
ศุกร์, 11 ตุลา 2013 22:49 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
สุดยอด เลยยยยย แล้วถ้า ESใช้ 10W - 40 ได้ไหมมีผลอย่างไรหรือเปล่ามากน้อยเพียงไดขอบคุณมากครับ ความรู้ล้วน ๆ แน่นปึก
jojowaiwai


ชื่อเล่น: โจ้

เข้าร่วม: 08 กันยา 2013
ตอบ: 162

มือใหม่หัดขับ
มือใหม่หัดขับ

ได้รับคำขอบคุณ: 91
ให้คำขอบคุณ: 680

ที่อยู่: สามพราน นครปฐม ลพบุรี
ปี: 2003
สี: เทา ซิลเวอร์สโตน (NH-630M)
เสาร์, 12 ตุลา 2013 07:25 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ...จะได้เลือกใช้ให้ถูก
Vee


ชื่อเล่น: วีครับ

เข้าร่วม: 18 กันยา 2013
ตอบ: 2999

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1210
ให้คำขอบคุณ: 2387

ที่อยู่: นครปฐม@นวมินทร์
ปี: 2003
สี: ฟ้า ไอซ์บูล (เมทัลลิก) (B-506M)
เสาร์, 12 ตุลา 2013 11:45 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
...
porche35


ชื่อเล่น: บอย

เข้าร่วม: 22 สิงหา 2013
ตอบ: 1098

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 797
ให้คำขอบคุณ: 329

ที่อยู่: ES SAMUTPRAKAN
ปี: 2005
สี: น้ำเงิน อิเทอนอล (B-96P)
เสาร์, 12 ตุลา 2013 14:09 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
..
 
kobkobok


ชื่อเล่น: กบ

เข้าร่วม: 09 กุมภา 2010
ตอบ: 3919

ครอบครัว ES
ครอบครัว ES

ได้รับคำขอบคุณ: 1738
ให้คำขอบคุณ: 290

ที่อยู่: สระบุรี
ปี: 2001
สี: เทา ซิกเน็ต (เมทัลลิก) (RP-31M)
อาทิตย์, 13 ตุลา 2013 12:53 - เปิดสมองเพิ่มความรู้ ::: ตอน เกรดน้ำมันเครื่อง 0W-40 VS 5W-30
ความรู้ครับ
ตอบ
หน้า 1 จาก 1
ไปที่: 
ติดต่อโฆษณา admin@civicesgroup.com
Copyright © 2008-2024 Civic ES Group. All rights reserved.